ทับทิมกรอบ

ทับทิมกรอบ ขนมหวานวิถีชาวบ้าน…สู่สำรับชาววัง ประวัติขนมไทย – A Cuisine

ประวัติความเป็นมาของขนมไทย

ขนมไทยในสมัยโบราณ นิยมทำขนมไทย เฉพาะวาระที่สำคัญเท่านั้น เช่นงานประเพณีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การทำบุญ งานแต่งงาน เทศกาลสำคัญ เนื่องจากขนมหวานไทยเป็นขนมที่ใช้เวลาทำนาน เนื่องจากต้องใช้ความพิถีพิถัน มาก ความสวยงามเป็นจุดเด่นของขนมหวานไทย

ขนมไทยแบบดั้งเดิม จะมีส่วนผสมของ แป้งจากข้าวจ้าว หรือ ข้าวเหนียว น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ต่อมาการถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านอาหารจากประเทศต่างๆเข้ามาในประเทศไทย ขนมก็มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน ก็เป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส  ในสมัยรัชกาลที่ 1 พบหลักฐานว่ามีการทำตำราอาหาร และตำราขนมหวานไทยครั้งแรก ซึ่งตำราอาหารไทยเล่มแรกคือ แม่ครัวหัวป่าก์

วัตถุดิบในการทำขนมไทย

ขนมหวานไทย มีเอกลักษณ์เด่นที่ความหลากหลายของรสชาติ สีสัน และความหลากหลายของวัตถุดิบในการทำขนม ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สามารถหาได้จากธรรมชาติ และอยู่คู่กับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ข้าวและแป้ง ข้าวก็คือแป้งชนิดหนึ่ง ข้าวที่นำมาทำขนมจะเป็นข้าวใหม่ นำไปทำเป็นแป้ง สามารถใช้ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว นอกจากแป้งที่ได้จากข้าวเจ้าและเหนียว ยังมีแป้งจากมันสำปะหลัง และแป้งจากข้าวสาลี ซึ่งแป้งสาลีจะเป็นขนมที่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ
  • มะพร้าว มะพร้าวสามารถนำมาทำขนมได้ทั้ง เนื้อมะพร้าวและน้ำกะทิ ที่ได้จากการคั้นนำขากเนื้อมะพร้าว น้ำจากลูกมะพร้าวก็มีความหวาน นำมาทำขนมอร่อย เนื้อมะพร้าวอ่อน เอามาทำขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน เนื้อมะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดเอาเนื้อมากิน ทำขนม ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู  มะพร้าวแก่ จะนำเนื้อมะพร้าวมาคั้นเอากะทิ นำไปทำขนมได้หลากหลาย เช่น กล้วยบวชชี สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น
  • น้ำตาล เป็นสารให้ความหวาน ซึ่งน้ำตาลได้จากการสกัดจาก จาวมะพร้าว จาวตาล อ้อย เป็นต้น น้ำตาลเป็นส่วนประกอบของขนมหวานทุกชนิด
  • ไข่ การนำไข่มาทำขนม เป็นการได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ นิยมนำไข่มาผสมกับแป้ง น้ำตาล ทำขนมด้หลากหลาย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น
  • ถั่วและงา ถั่วและงามีรสชาติอร่อย ให้ความหอมและเพิ่มความกรอบของเนื้อขนม ข้าวต้มมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ ต่างก็มีส่วนผสมของถั่ว
  • กล้วย กล้วยเป็นผลไม้ที่อยู่คู่สังคมไทย รสหวาน ทานสดก็อร่อย การนำมาทำขนมจึงถูกนำมาประยุกต์ทำมากมาย เช่น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า เป็นต้น
  • สี การให้สีในขนมไทย สามารถทำได้ง่ายโดยใช้สีจากธรรมชาติ เช่น สีเขียว ได้จากใบเตย สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน สีเหลืองจากขมิ้น สีแดงจากครั่ง สีดำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ
  • กลิ่นหอม กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของขนมหวานไทย การให้ความหอมของขนมไทย เช่น ใช้ดอกมะลิ ดอกกระดังงา กลิ่นเทียนอบ กลิ่นใบเตย เป็นต้น

ขนมไทยในแต่ละภาค 

ประเทศไทยมี 4 ภูมิภาคใหญ่ๆ คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคอีสาน ขนมของแต่ละภาดก็จะมีความแตกต่างกันตามวัตถุดิบที่าได้มากในแต่ละภูมิภาด และประเพณีที่นิยมในท้องถิ่นนั้นๆ ขนมของภาคต่างๆในประเทศไทยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ขนมหวานภาคเหนือ
    ขนมหวานของชาวภาคเหนือ จะผูกพันกันพิธีกรรม และมักทำจากข้าวเหนียว ใช้วิธีการต้มเป็นหลัก เช่น ขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก ขนมใส่ไส้ ขนมปาด ข้าวเหนียวแดง ข้าวแตน ข้าวแต๋น ขนมเกลือ เป็นต้น
  • ขนมหวานภาคกลาง
    ขนมหวานชาวภาคกลางจะทำจากข้าวเจ้าเป็นส่วยมาก เช่น ข้าวตัง นางเล็ด ข้าวเหนียวมูน ขนมกลีบลำดวน ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
  • ขนมหวานภาคอีสาน
    ขนมหวานชาวอีสานจะเป็นขนมที่ทำกันง่ายๆ ไม่พิถีพิถันมากนั้ก ทำจากแป้งและข้าวเหนียวเป็นหลัก เช่น ข้าวจี่ ข้าวโป่งข้าวต้มมัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู เป็นต้น
  • ขนมหวานภาคใต้
    ขนมหวานของชาวใต้ นิยมทำขนม เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำ ขนมเจาะหู ขนมไข่ปลา ขนมแดง ใช้ในงานประเพณีสารท เดือนสิบ ตัวอย่างขนมของชาวใต้ เช่น ขนมหน้าไข่ ขนมฆีมันไม้ ขนมจู้จุน ขนมคอเป็ด ขนมคนที ขนมกอแหละ ขนมก้านบัว ข้าวเหนียวเชงา ข้าวเหนียวเสือเกลือก ขี้หมาพองเช ขนมดาดา ขนมกรุบ ขนมก้องถึ่ง

ของหวานไทย มีส่วนร่วมในวิถีชีวิตไทยในทุกเทศกาลและโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันและเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ขนมที่ใช้ในงานเทศกาลและพิธีกรรมต่างๆของไทยตลอดทั้งปีสรุปได้ดังนี้

ขนมไทยที่ใช้ในงานเทศกาล

ในเทศกาลต่างๆของไทย การทำขนมเป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับประเพณีไทย ไม่ว่าจะเป็น สงกรานต์ สารทเดือนสิบ ออกพรรษา โดยรายละเอียด เช่น งานสงกรานต์พระประแดง จะนิยมทำกะละแมในงาน งานสารท เดือน 10 ทำขนม ข้าวยาคู ข้าวมธุปายาส ข้าวทิพย์ กระยาสารท กะละแม ขนมกง ขนมไข่ปลา เป็นต้น เทศกาลออกพรรษา นิยมทำข้าวต้มมัด ทำข้าวต้มลูกโยนใส่บาตร ช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม นิยมรับประทานขนมอาเก๊าะ

ขนมไทยกับความเชื่อและพิธีกรรม

ของหวานไทยจะมีเชื่อเรียกที่เป็นมงคลต่างๆ เนื่องจากรสชาติหวาน ทำให้รู้สึกถึงความเป็นสิริมงคลต่อคนรับประทาน ขนมไทยจึงถูกนำมาใช้ในงานประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานขีึ้นบ้านใหม่ งานศพ การสะเดาะห์เคราะห์ เป็นต้น โดยรายละเอียดดังนี้

  • การสะเดาะเคราะห์หรือการแก้บน ของชาวไทยมุสลิมจะใช้ข้าวเหนียวสามสี ข้าวพอง ข้าวตอก และขนมเจาะหู มาใช้ นอกจากนี้ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน ก็ยังถูกนำมาใช้
  • งานแต่งงานตามประเพณีไทย จะใช้ขนมมงคล เช่น ทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก กะละแม ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ขนมชั้น ขนมเปี๊ยะ ข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวตอกนำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ เป็นต้น
  • พิธีแต่งงาน ตามประเพณีชาวมุสลิม จะต้องมีการป้อนข้าวและขนมให้บ่าวสาว ในพิธี ขนมไทยที่ใช้ คือ กะละแม ขนมดอดอย ขนมก้อ ขนมลาและข้าวพอง เป็นต้น
  • พิธีกรรมต่างๆเช่น การยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิ นิยมใช้ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ข้าวตอก งาคั่ว ถั่วทอง ฟักทองแกงบวด
  • การไหว้ครูมวยไทย นิยมใช้ กล้วยบวดชี เผือกต้ม มันต้ม ขนมต้มแดงต้มขาว ขนมชั้น ถ้วยฟู ฝอยทอง เม็ดขนุน  ทับทิมกรอบ เป็นต้น

ขนมไทย มีความหลากหลายในวัตถุดิบ แต่จะนิยมใช้ผลไม้ น้ำตาลปี๊บและกะทิ จากมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลักในการทำ และภายหลัง ขนมหวาน ได้รับวัฒนธรรมขนมหวานจากต่างประเทศจึงเริ่มนำไข่ไก่และแป้งเข้ามาเป็นวัตถุดิบ จึงทำให้ ขนมหวานไทย มีคามหลากหลายมากยิ่งขึ้น

วิธีทําของหวานรวมมิตร เมนูขนมไทย ขนมหวานไทยมีอะไรบ้าง ขนมโบราณ สมัยใหม่ สูตรของหวาน ประวัติความเป็นมาขนมไทย ชนิดของขนมหวาน การทำขนมหวานไทย ขนมหวาน ของหวาน อาหารว่าง ทำอย่างไร ข้าวเหนียวมูน รวบรวม สูตรขนมหวานไทย มาเสนอต่อท่านให้มาลองทำกินกัน

การทำขนมหวาน จะมีความซับซ้อนสักหน่อย เคล็ดลับความอร่อยของ ขนมไทย ของหวาน เมนูของหวาน ของว่างไทยโบราณ อาหารหวาน เป็นสูตรอาหารไทย สูตรทําเบเกอรี่ สาคูไส้หมู ทับทิมกรอบ บัวลอยไข่หวาน ขนมหวาน ความหลากหลายในวัตถุดิบ ใช้ผลไม้ น้ำตาลปี๊บ กะทิ ทำอาหารหวาน

Summary
recipe image
Recipe Name
ทับทิมกรอบ
Author Name
Published On
Preparation Time
Cook Time
Total Time
Average Rating
11stargraygraygraygray Based on 1 Review(s)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.