กระยาสารท

กระยาสารท ตำนานขนมไทยโบราณ พร้อมสูตรและวิธีทำ – A Cuisine

กระยาสารท

กระยาสารท เป็นขนมหวาน ของไทย มีหลักฐานว่าเป็นอาหารสมัยพุทธกาล แปลว่า “อาหารที่ทําให้ฤดูสารท” ซึ่งทำจากถั่วลิสง งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล เป็นอาหารตามประเพณีโบราณ มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทย คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เพื่อทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ปู่ย่าตายายและญาติมิตรทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง…แต่ยังขนมโบราณชนิดนี้ยังมีประวัติที่น่าสนใจอีกมาก ตามแอดมาเลยค่ะ…

 

ประวัติการทำกระยาสารท

อดีตเมื่อถึง เทศกาลสารทไทย จะมีการกวนกระยาสารทแข่งกันเป็นที่สนุกสนาน และตามธรรมเนียมแล้ว คนรุ่นเก่าจะนิยมนำกระยาสารท ซึ่งถือเป็นขนมชั้นดีไปมอบให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ หรือแลกกันกินเป็นการประชันฝีมือกันอีกด้วย และถ้าจะกินกระยาสารทให้ครบเครื่องจริงๆ จะต้องมีมะพร้าวขูดโรยบนกระยาสารทแล้วกินคู่กับกล้วยไข่

การทำบุญในเทศกาลสารทนี้ ทั่วทุกภูมิภาคของไทยจะทำบุญวันสารทไทยเหมือนกัน แต่เรียกชื่อต่างกันไป ในภาคใต้เรียก “ประเพณีชิงเปรต” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก “ทำบุญข้าวสาก” ภาคเหนือเรียก “ตานก๋วยสลาก”

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเรียกชื่อแตกต่างกันอย่างไร คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาก็เป็นไปในทางเดียวกัน คือ ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ปู่ย่าตายายและญาติมิตรทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง

พระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต วัดราชบุรณราชวรวิหาร และผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ฝ่ายกิจการต่างประเทศ บอกว่า ในทานพระพุทธศาสนาได้บันทึกไว้ในอรรถกถาเมตตาภาวสูตรบทที่ว่า สรทสมเย ได้แก่ ในสารทกาล (ฤดูใบไม้ร่วง) เดือนอัสสยุชะ (เดือน ๑๑) และเดือนกัตติกะ (เดือน ๑๒) ท่านเรียกฤดูสารทในโลก (พระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่ม ๑ ภาค ๔)

จึงเป็นอันสรุปได้ว่า “สารทเป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารช่วงปลายฤดูฝนเริ่มเข้าต้นฤดูหนาว โดยเหตุที่ความเชื่อของชาวอินเดียผูกพันอยู่กับเทพเจ้าในธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อได้ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวคราวแรก จึงนำไปบวงสรวงบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน ซึ่งความเชื่อเช่นนี้ คงมีอยู่ทั่วไปในสังคมบรรพกาลทั่วโลก”

สารท (สาด) นี้ เป็นคำที่เรายืมอินเดียมาใช้ทั้งคำ แต่อินเดียจะออกเสียงว่า สา-ระ-ทะ และไม่ได้ใช้เรียกเฉพาะวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เท่านั้น แต่ยังเป็นชื่อของฤดูกาลในประเทศอินเดียอีกด้วย ซึ่งจะตกอยู่ในช่วงเดือน ๑๐-๑๒ ตามปฏิทินจันทรคติของที่ทําในเทศกาลสารทถวายพระสงฆ์นี้ เรียกว่า “กระยาสารท” แปลว่า “อาหารที่ทําให้ฤดูสารท” กระยาสารทนี้คงจะเนื่องมาจากข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นอาหารของชาวอินเดีย ใช้ข้าว น้ำตาล น้ำนม ผสมกัน และไม่กําหนดว่าทําเฉพาะฤดูสารทบางทีเขาทํากินกันเอง เช่น ที่นางสุชาดาหุงถวายพระพุทธเจ้าก็เป็นเวลาเดือนหก

เฉพาะในประเทศไทย ที่ได้รับอิทธิพลความเชื่อจากอินเดียผ่านอารยธรรมยุคต่างๆ ในภูมิภาคแถบอุษาคเนย์นี้ ก็คงเลือกรับปรับประยุกต์เข้ามาเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตบ้างไม่มากก็น้อย กระทั่งเมื่อประชาชนได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนามากขึ้นการเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้าด้วยผลผลิตจากการเพาะปลูกจึงเคลื่อนตัวมาเป็นการทำบุญถวายทาน ตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา แต่ถึงกระนั้นก็มิได้หมายความว่า ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในธรรมชาติจะหมดไปเสียทีเดียว ดังจะพบได้จากพิธีกรรมเกี่ยวกับแม่โพสพ เช่น การทำพิธีรับขวัญข้าว เป็นต้น

“ผู้ที่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์แล้วกลับมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงคราวที่เคยทําบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ก็จัดทําถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทําแก่พราหมณ์ ถือกันว่า ารทําบุญด้วยของแรกได้เป็นผลานิสงส์อย่างยิ่ง และเมื่อทําบุญแล้ว มักจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทําพิธีอุทิศให้แก่ผู้ตายของชาวฮินดูเรียกว่า ศราทธ์เสียงเหมือนกับคําว่า สารท ในภาษาไทยซึ่งเป็นชื่อฤดู” พระมหาสุเทพกล่าว

สูตรและวิธีทำ กระยาสารท คลิก!

Summary
recipe image
Recipe Name
กระยาสารท
Author Name
Published On
Preparation Time
Cook Time
Total Time
Average Rating
2.51star1star1stargraygray Based on 14 Review(s)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.