ขจัดยางเหนียวของเผือก.1

ขจัดยางเหนียวของเผือก ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เคล็ดลับน่ารู้ – A Cuisine

ขจัดยางเหนียวของเผือก เคล็ดลับที่คุณควรรู้!

เผือก (Taro) เป็นพืชล้มลุกที่นิยมนำมาทำอาหารคาวและหวาน เนื่องจากสามารถนำมาทำได้หลากหลายรูปแบบ ที่สำคัญ ขนมที่ทำจากเผือกนั้นมีรสชาติที่ดี ซึ่งส่วนที่ใช้ในการการรับประทานคือส่วนหัวของเผือกที่อยู่ใต้ดิน ในประเทศไทยเผือกที่นิยมนำมาทำขนมและอาหารนั้น คือ เผือกหอม โดยมีลักษณะเป็นเผือกชนิดหัวใหญ่ แต่ละหัวมีน้ำหนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม นำมาใช้ต้มรับประทาน มีกลิ่นหอม กาบใบใหญ่มีสีเขียว ซึ่งนอกจากเผือกหอมจะมีรสชาติที่อร่อยถูกปากแล้วนั้น เผือกยังมีข้อควรระวังที่มากับ ยาง ของมันหากโดนแล้วจะเกิดอาการละคายเคืองได้ จะมีวิธี ขจัดยางเหนียวของเผือก อย่างไร? มาดูกันเลยค่ะ!

ขจัดยางเหนียวของเผือก ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด!

ความจริง “เผือก” กับ “บอน” นั้นเป็นพืชตระกูลเดียวกัน กล่าวคือ ถ้ากินก้าน กินไหล เราจะเรียก ”บอน” แต่ถ้ากินหัว เราจะเรียก “เผือก” ส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่ในอาหารทั้งคาวและหวาน โดยเฉพาะอาหารจีนจะค่อนข้างนิยมมาก ตามธรรมชาติที่เปลือกของเผือกจะมียางซึ่งทำให้คันเมื่อสัมผัส และถ้าปอกไม่เป็น เวลานำมาปรุงอาหารรับประทานจะเกิดอาการคันได้ มีเคล็ดวิธีดังนี้…

  • ล้างเผือกทั้งหัวให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
  • ปอกเปลือกให้หนา แล้วปล่อยให้ยางเหนียวไหลซึมออกจากเนื้อ
  • ใส่น้ำในชาม แล้วผสมน้ำปูนใสหรือน้ำส้มสายชูลงไปแช่เผือก ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือจนกว่ายางเหนียวจะตกตะกอน
  • ล้างเผือกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนนำไปประกอบอาหาร

 

ประโยชน์และสรรพคุณของ เผือก

พืชที่เราคุ้นเคยกันดี นั้นก็คือ “เผือก” เผือกเป็นพืชที่รับประทานหัวเราสามารถพบเห็นเผือกได้ทุกที่ แม้ปลูกเองก็ปลูกแสนง่าย ที่สำคัญความอร่อยของเผือกนั้นทำให้หลายคนเลือกเป็นพืชที่โปรดปราน สรรคุณของเผือกมีดังต่อไปนี้

  • เผือกมีสารอาหารประกอบด้วย โปรตีน เบตาแคโรทีน วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ และซาโปนิน
  • ผู้ที่สมควรรับประทานเผือกคือ ทุกคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ส่วนคนที่ต้องหลีกเลี่ยงการทานเผือกคือ คนที่มีอาการแพ้ เสมหะมา กระเพาะและลำไส้ทำงานไม่ปกติ
  • เผือกมีเกลือแร่หลากหลายชนิด มีฟลูออไรด์ที่ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ป้องกันฟังผุ
  • ในเผือกมีโปรตีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของอิมมูโนโกลบูลิน ร่างกายจึงมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจากสารดังกล่าว
  • เผือกช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังการผ่าตัด และช่วงพักฟื้น ทำให้ร่างกายกลับมามีความแข็งแรงเร็วขึ้น
  • เผือกช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยย่อย มีฤทธิ์เป็นด่าง จึงช่วยปรับลดกรดในร่างกายให้เข้าสู่สมดุล ทำให้ผิวพรรณดีและผมดกดำ
  • การรับประทานเผือกร่วมกับพุทธาจีนช่วยบำรุงเลือด
  • การประทานเผือกพร้อมกับข้าว เป็นการบำรุงลำไส้ บำรุงม้าม บำรุงไต ขับปราณลงล่าง สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

ข้อควรระวัง เผือกมียางทำให้ผิวหนังระคายเคือง เวลาปอกเปลือกหรือล้างเผือกจึงควรสวมถุงมือ ถ้ามีอาหารแพ้ยางเผือก ให้ถูด้วยขิงสดอาการดังกล่าวจะหายไป

แจกสูตร ปลาแซลมอนต้มเผือก คลิก

Summary
ขจัดยางเหนียวของเผือก
Article Name
ขจัดยางเหนียวของเผือก
Description
ขจัดยางเหนียวของเผือก ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด! ความจริง “เผือก” กับ “บอน” นั้นเป็นพืชตระกูลเดียวกัน กล่าวคือ ถ้ากินก้าน กินไหล เราจะเรียก ”บอน” แต่ถ้ากินหัว เราจะเรียก “เผือก” ส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่ในอาหารทั้งคาวและหวาน โดยเฉพาะอาหารจีนจะค่อนข้างนิยมมาก ตามธรรมชาติที่เปลือกของเผือกจะมียางซึ่งทำให้คันเมื่อสัมผัส และถ้าปอกไม่เป็น เวลานำมาปรุงอาหารรับประทานจะเกิดอาการคันได้ มีเคล็ดวิธีดังนี้... ล้างเผือกทั้งหัวให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ปอกเปลือกให้หนา แล้วปล่อยให้ยางเหนียวไหลซึมออกจากเนื้อ ใส่น้ำในชาม แล้วผสมน้ำปูนใสหรือน้ำส้มสายชูลงไปแช่เผือก ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือจนกว่ายางเหนียวจะตกตะกอน ล้างเผือกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งก่อนนำไปประกอบอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณของ เผือก พืชที่เราคุ้นเคยกันดี นั้นก็คือ “เผือก” เผือกเป็นพืชที่รับประทานหัวเราสามารถพบเห็นเผือกได้ทุกที่ แม้ปลูกเองก็ปลูกแสนง่าย ที่สำคัญความอร่อยของเผือกนั้นทำให้หลายคนเลือกเป็นพืชที่โปรดปราน สรรคุณของเผือกมีดังต่อไปนี้ เผือกมีสารอาหารประกอบด้วย โปรตีน เบตาแคโรทีน วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม โซเดียม ฟลูออไรด์ และซาโปนิน ผู้ที่สมควรรับประทานเผือกคือ ทุกคนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ส่วนคนที่ต้องหลีกเลี่ยงการทานเผือกคือ คนที่มีอาการแพ้ เสมหะมา กระเพาะและลำไส้ทำงานไม่ปกติ เผือกมีเกลือแร่หลากหลายชนิด มีฟลูออไรด์ที่ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ป้องกันฟังผุ ในเผือกมีโปรตีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของอิมมูโนโกลบูลิน ร่างกายจึงมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจากสารดังกล่าว เผือกช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังการผ่าตัด และช่วงพักฟื้น ทำให้ร่างกายกลับมามีความแข็งแรงเร็วขึ้น เผือกช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยย่อย มีฤทธิ์เป็นด่าง จึงช่วยปรับลดกรดในร่างกายให้เข้าสู่สมดุล ทำให้ผิวพรรณดีและผมดกดำ การรับประทานเผือกร่วมกับพุทธาจีนช่วยบำรุงเลือด การประทานเผือกพร้อมกับข้าว เป็นการบำรุงลำไส้ บำรุงม้าม บำรุงไต ขับปราณลงล่าง สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ข้อควรระวัง เผือกมียางทำให้ผิวหนังระคายเคือง เวลาปอกเปลือกหรือล้างเผือกจึงควรสวมถุงมือ ถ้ามีอาหารแพ้ยางเผือก ให้ถูด้วยขิงสดอาการดังกล่าวจะหายไป

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.