ผักหวาน ผักหวานป่า

ผักหวาน สุดยอดผักพื้นบ้านไทย ช้างเผือกจากพงไพร ที่ถูกใช้มาแต่โบราณ

วันนี้แอดขอนำสาระน่ารู้ของ ผักหวาน ผักพื้นบ้านไทยที่หลายๆคนรู้จัก หรือบางคนอาจไม่ค่อยคุ้นเคยนัก แต่…รู้หรือไม่ ผักชนิดนี้ได้รับขนานนามว่าเป็น “ช้างเผือกจากพงไพร” เปี่ยมไปด้วยประโยชน์และสรรพคุณมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วตามแอดมาเลยจ้า ^^

ผักหวาน ในบ้านเรานั้นมีอยู่ 2 ชนิด นั่นคือ ผักหวานป่าและผักหวานบ้าน มีความแตกต่างที่แยกกันได้อย่างชัดเจนมีดังนี้…

ผักหวานป่า” จะเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเป็นรูปไข่หรือรูปรี สีของใบเขียวเข้ม ผลกลมรี

ผักหวานบ้าน” เป็นพุ่มไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีใบเรียวแหลม ด้านบนของใบจะเป็นสีเขียวส่วนด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อน และผลของผักหวานบ้านจะกลมกว่า

ฤดูเก็บเกี่ยว “ผักหวาน”

ผักหวานทั้ง 2 ชนิดมีช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน โดยผักหวานบ้านจะก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ไม่เหมือนกับผักหวานป่าที่เก็บได้แค่ช่วยปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูฝนเท่านั้น ทั้งนี้ ผักหวานป่ายังเป็นผักที่มีราคาแพงและหาทานได้ยากกว่า

สรรพคุณทางยาโบราณ

ผักหวานป่าถูกนำมาใช้เป็นยาแพทย์แผนไทยกันมาช้านาน เรามาดูกันดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้าง…

  • คนโบราณนิยมนำรากและใบมาใช้รักษาโรค อาทิ รักษาแผล บรรเทาอาการปวดในข้อ แก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง
  • ผักหวานเป็นผักมีฤทธิ์เย็นในรากของผักหวานป่านั้นสามารถนำมาถอนพิษได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษไข้ และบรรเทาอาการน้ำดีพิการได้
  • ต้นก็นิยมนำมาใช้เป็นยากวาดคอเด็ก และแก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว

 

สรรพคุณบำรุงร่างกาย

อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในผักหวานสามารถช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทำให้กระดูกไม่เปราะหักง่าย ส่งผลให้การยืดหดของกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • มีวิตามินซีก็สูง ป้องกันสารอนุมูลอิสระมาทำลายเซลล์ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด และช่วยไม่ให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย
  • มีเบต้าแคโรทีนสูงมาก ช่วยบำรุงสายตาและลดความเสี่ยงตาบอดกลางคืน และวิตามินบี 2 ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • มีไฟเบอร์ในปริมาณค่อนข้างสูง ทำให้ผักหวานมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ยิ่งใครที่มีอาการท้องผูกบ่อยๆ หากรับประทานผักหวานเป็นประจำ จะทำให้ขับถ่ายคล่องขึ้น

 

ข้อควรระวังในการรับประทานผักหวานป่า

ควรสังเกตให้ดีก่อนนำมารับประทาน เพราะมีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายผักหวานป่า นั่นก็คือ “ผักหวานเมา” เป็นผักที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน เมื่อประทานเข้าไปแล้วส่งผลให้มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และอาจทำให้เสียชีวิตได้ วิธีสังเกต คือ ผักหวานป่าจะมีใบกรอบเปราะ ขยำแล้วจะได้ยินเสียงกรอบแกรบ แต่ผักหวานเมาจะมีใบเหนียวนุ่มไม่หักง่าย ที่สำคัญยังควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักหวานป่าแบบสด ๆ ด้วย เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการเบื่อเมา อาเจียน และเป็นไข้

ขอบคุณข้อมูลจาก

#ACuisine #เอคูซีน #รู้หรือไม่ #TamTip
👉 กดติดตาม Instagram ได้ที่ @ acuisine.th Follow มาเยอะๆ นะคะ 😘

ง่าย สนุก สุข อร่อย อยากกิน..อยากฟิน..อยากทำ.. อย่าลืมติดตาม #Acuisine นะจ๊ะ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.