ยอดวัตถุดิบคู่ครัวไทย น้ำตาลมะพร้าว กะปิ มะพร้าว

ยอดวัตถุดิบคู่ครัวไทย …ที่ขาดไม่ได้! สืบต่อรสไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

“มะพร้าว” ทำอะไรได้บ้าง? 🌴

มะพร้าว ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ นิยมนำมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหารคาว ของว่าง หรือ ของหวาน แทบทุกเมนูของอาหารไทย จะมีมะพร้าวเป็นส่วนผสมสำคัญเสมอ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ

ถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่นิยมมากในประเทศไทย เป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยว สามารถหาซื้อได้ง่าย แทบทุกหนทุกแห่งมักมีขายตามข้างถนนเสมอ ด้วยรสชาติหวานหอม และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของน้ำมะพร้าว จึงไม่แปลกใจเลยว่าจะเป็นที่ถูกปากของใครหลายๆคน

👍 มะพร้าว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน👍

  • เนื้อมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
  • กากมะพร้าว ที่เหลือจากการคั้นกะทิ ยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้
  • ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตาย ด้วยเหตุนี้จึงมักเรียกยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า “สลัดเจ้าสัว“ (millionaire’s salad)
  • ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
  • น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้ และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
  • กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
  • ก้านใบ หรือ ทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
  • จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล
  • จาวมะพร้าว ใช้นำมาเป็นอาหารได้ ในจาวมะพร้าวมีฮอร์โมนออกซิน และฮอร์โมนอื่นๆแต่ มี ฮอร์โมนออกซินปริมาณมากที่สุด ซึ่งเมื่อนำไปคั้น และนำน้ำที่ได้จากจาวมะพร้าว ไปรดต้นพืช จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้

💦ประโยชน์ของ น้ำมันมะพร้าว💦

น้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้ เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรค และเป็นสารละลายไอโซโทนิก ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้ น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำ วุ้นมะพร้าว ได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว

ในน้ำมันมะพร้าวมีน้ำตาล “กลูโคส“ และ “ฟรักโทส“ อยู่มาก เวลากินจึงรู้สึกสดชื่นกระชุ่มกระชวย และทำให้ชุ่มคอ เพราะร่างกายสามารถดูดซึมน้ำตาลทั้งสองชนิดไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที

ยิ่งไปกว่านั้น ในน้ำมันมะพร้าวยังอุดมไปด้วยสารอาหารนานาชนิด ที่มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ และบำรุงโลหิต ตำราแพทย์แผนโบราณของไทย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ และบำรุงเลือด ในเนื้อมะพร้าวด้วยเช่นกัน ที่นิยมมาเคี่ยวเป็นน้ำมันเพื่อเก็บไว้กิน

☘คุณค่าทางสมุนไพร☘

  • เนื้อมะพร้าว : นำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน มีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ใช้กินกำจัดพยาธิ และเป็นยาขับปัสสาวะ
  • น้ำมันมะพร้าว : ใช้ทาผิวเพื่อบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสไม่แห้งกร้าน ช่วยทำให้รับประทานอาหารมื้อต่อไปได้น้อยลง ช่วยยืดและชะลอความหิวออกไปให้นานขึ้น ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • เปลือกผล : น้ำเปลือกมะพร้าวสดมาเผาไฟ ใช้ทาผิวหนังแก้โรคกลากเกลื้อน แก้โรคหิด แก้อาการผดผื่นคัน

นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วยค่ะ

มะพร้าว 4 ประเภทที่คนโบราณใช้ทำขนมหวานไทย

ว่าด้วยเรื่อง “มะพร้าว” แต่ละชนิดที่ใช้ทำเมนูขนมหวานที่อยู่คู่คนไทยมานาน“มะพร้าวอ่อน , มะพร้าวห้าว , มะพร้าวทึนทึก , มะพร้าวกะทิ” 

มะพร้าว คือหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญในการทำขนมไทย และเนื่องจากขนมไทยมีหลากหลายประเภท ซึ่งใช้ความอ่อนแก่ของมะพร้าวแตกต่างกันไป การเลือกมะพร้าวให้เหมาะกับการทำขนมแต่ละอย่างจึงมีความจำเป็น โดยคนโบราณแบ่งมะพร้าวสำหรับทำขนมออกเป็น 4 ประเภท คือ

มะพร้าวอ่อน
มะพร้าวอ่อน

มะพร้าวอ่อน ให้น้ำรสหอมหวาน เหมาะกับการทำวุ้นมะพร้าวส่วนเนื้อด้านในนั้นสัมผัสนุ้มนุ่ม เหมาะสำหรับขูดใส่ในขนมจำพวกบัวลอย ทับทิมกรอบ

มะพร้าวทึนทึก
มะพร้าวทึนทึก

ส่วน มะพร้าวทึนทึก เป็นมะพร้าวกลางอ่อนกลางแก่ เนื้อนุ่ม เหมาะกับการขูดเพื่อโรยหน้าขนมตาล ขนมเปียกปูน ขนมกล้วย ฯลฯ ใช้สำหรับคลุกขนมอย่างขนมมันสำปะหลังหรือนำไปกวนทำเป็นไส้ขนมต่างๆ เช่น ขนมสอดไส้ เป็นต้น

มะพร้าวกะทิ
มะพร้าวกะทิ

สำหรับ มะพร้าวกะทิ เป็น มะพร้าวแก่ มีน้ำหนักมาก เนื้อสัมผัสของมะพร้าวจะมีลักษณะข้นเหนียว เนื้อหนานุ่มสีขาวขุ่น นิยมใส่ในทับทิมกรอบ

มะพร้าวห้าว
มะพร้าวห้าว

ประเภทสุดท้ายคือ มะพร้าวห้าว เป็นมะพร้าวแก่ที่ส่วนใหญ่นำมาขูดเพื่อคั้นเป็นกะทิซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ มะพร้าวขูดขาว คือ มะพร้าวกะเทาะเนื้อออกแล้วขูดเปลือกออก เมื่อขูดออกมาจึงเป็นสีขาวเหมาะสำหรับทำขนมที่ต้องการกะทิสีขาวนวล เช่น ขนมถ้วย หรือทำกะทิที่ใช้ราดหน้าขนมต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม มันเชื่อม ฯลฯ ส่วนมะพร้าวขูดดำ หมายถึงมะพร้าว ที่กะเทาะเนื้อออกแล้วไม่ได้ขูดเปลือกออกเหมาะกับการนำมาทำขนมทั่วไปที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ

ขอบคุณข้อมูลจาก

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.