น้ำมันพืช VS น้ำมันหมู ใช้อะไรดีกว่ากัน!

น้ำมันพืช VS น้ำมันหมู ใช้อะไรดีกว่ากัน! และวิธีการเลือกใช้น้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย

น้ำมันพืช VS น้ำมันหมู ใช้อะไรดีกว่ากัน!

น้ำมันพืช VS น้ำมันหมู ใช้อะไรดีกว่ากัน! ตั้งแต่สมัยโบราณ…คนไทยรับประทานไขมันหลากหลายชนิด โดยเฉพาะ “น้ำมันหมู” ที่มักนำมาทอด หรือปรุงอาหาร แต่…เมื่อนำเทียบสัดส่วนกับน้ำมันพืชหลาย ๆชนิด พบว่ามี ”ไขมันอิ่มตัว” ค่อนข้างมากกว่าก็จริง แต่หากมาเทียบกับ “น้ำมันปาล์ม” ปริมาณไขมันอิ่มตัวก็ไม่ต่างกันมากเลย ซึ่งการใช้น้ำมันปาล์มในปัจจุบันนั้นมีมาก พบได้ทั่วไปจากเมนูทอด ที่หลาย ๆ คนโปรดปรานนั่นเอง 

ใช้น้ำมันหมู…ดีกว่า! ใช้น้ำมันพืชหรือไม่?

จะให้บอกว่า…“น้ำมันหมู” มีคอเลสเตอรอลน้อย…ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะ…ถึงแม้จะมีคอเลสเตอรอล แต่ก็ไม่ได้มีเยอะมากเสียจนอันตรายต่อร่างกาย…

แล้วน้ำมันหมู มีประโยชน์กับร่างกายมากไหม? เมื่อเทียบกับ น้ำมันพืช ตอบได้เลยว่าไม่ เพราะอย่างที่รู้กันว่าน้ำมันพืช ก็มีประโยชน์มากมายที่แตกต่างกันตามลักษณะของชนิดน้ำมันนั้น ๆ

แต่…เมื่อพูดถึงโทษต่อร่างกายจาก “น้ำมันหมู” คงไม่มีอย่างแน่นอน ลองคิดดูว่า…สมัยโบราณคนไทยรับประทานน้ำมันหมูมานาน ไม่เคยพบปัญหาโรคระบบหัวใจ หลอดเลือด โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็งเลย เพราะคนสมัยนั้นจะรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ หลังจากรับประทานก็จะใช้พลังงานจากการทำงาน ร่างกายก็จะเผาผลาญหมด จึงทำให้สมดุลไม่อ้วน

น้ำมันมีกี่ประเภท?

ต้องบอกก่อนว่า น้ำมันหรือไขมันจากธรรมชาติจะมีอยู่ 3 ประเภท

1.ไขมันอิ่มตัว

ได้แก่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู

“ไขมันอิ่มตัว” มีผลต่อร่างกาย คือหากทานมากเกินไป จะส่งผลให้ LDL เพิ่มมากขึ้น (LDL คือไขมันชนิดไม่ดี) ส่วน ข้อดี ก็มีเช่นกัน คือ สามารถทนความร้อนได้สูง เหมาะสำหรับอาหารที่ต้องทอดกรอบ ดังนั้น หากต้องการให้อาหารมีความกรอบ จะต้องใช้น้ำมันที่มีความอิ่มตัวสูง

2.ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว

ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันรำข้าว

เป็นกรดไขมันที่มีความคงทนต่อการ “ทอด” ใน “ความร้อนสูง” ได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่มากเท่า “ไขมันอิ่มตัว” ให้พลังงานและไม่ส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดคอเลสเตอรอล ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง นำสารอาหารได้ดี

3.ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

ได้แก่ น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง

“ข้อดี” ของกรดไขมันชนิดนี้คือ มีความไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ทำให้ LDL ลดลง (LDL คือไขมันชนิดไม่ดี) “ข้อเสีย” คือ “ไม่ทนกับความร้อนสูง” หากนำไปทอด หรือผัด จะหืนง่าย! เวลาอาหารหืนสิ่งที่เราไม่ต้องการมากที่สุดคือ “อนุมูลอิสละ” เจ้าตัวนี้แหละที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้น ถ้าเราใช้น้ำมันเหล่านี้ไปทอดในความร้อนสูง หรือตั้งไฟไว้นาน ๆ โอกาสที่จะทำให้หืนได้ก็จะเกิดสารก่อมะเร็ง

ในปัจจุบันคนไทยมีการรับประทานของทอดเพิ่มมากขึ้น และใช้น้ำมันอย่างผิดวิธี ดังนั้นควรเลือกชนิดน้ำมันให้เหมาะกับการปรุงอาหารด้วยนะครับ ^^

ควรใช้น้ำมันอะไร…เหมาะกับอาหาร ประเภทไหน?

1.ทำอาหารด้วยความร้อนสูง ด้วยวิธีการ “ทอดกรอบ” ควรใช้น้ำมันที่มีความอิ่มตัว อย่าง “น้ำมันปาล์ม”

2.ทำอาหารด้วยวิธีการ “ผัด” ความร้อนไม่สูงมาก ควรใช้ ”น้ำมันรำข้าว” หรือ “น้ำมันถั่วเหลือง”

3.ทำอาหารด้วยวิธีการที่ไม่ผ่านความร้อน อย่างเมนู “สลัด” สามารถเลือกใช้ น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก หรือจะใช้ น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง ก็ได้ เพราะน้ำมันจะไม่เปลี่ยนสภาพเป็น “หืน” ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แน่นอนครับ ^^

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.