ยาไมเกรน

รู้จัก ยาไมเกรน ใครมียาตัวไหนเอาออกมาเช็กวิธีใช้ให้ถูกต้อง

รู้จัก ยาไมเกรน ตัวที่ใช้อยู่ ให้ดีกว่าที่เคย 

คนในยุคนี้เป็นไมเกรนกันเยอะ ทำให้หลายคนมักต้องพก ยาไมเกรน ติดตัว ซึ่งก็มีหลากหลายแบบ หลายข้อบ่งใช้ ซึ่งแต่ละตัวเป็นอะไรบ้างนั้น เรามาดูกันค่ะ

พาราเซตามอล

เป็นยาแก้ปวดที่เราคุ้นเคยกันดี เหมาะกับอาการปวดไมเกรนแบบไม่รุนแรง 

 

NSAIDs

เป็นยาบรรเทาอาการอักเสบ ที่ไม่ใส่สเตียรอยด์ เช่น naproxen, ibuprofen เป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว จึงทำให้กระเพาะอาการระคายเคือง จึงควรกินหลังอาหารทันที หรือกินพร้อมอาหาร นอกจากนั้นยังมีผลต่อตับไต จึงไม่ควรกินเดือนละ 4-10 เม็ด

ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) 

เช่น eletriptan, sumatriptan มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาในกลุ่ม NSAIDs ช่วยทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัว แต่ก็เป็นยาที่ควรใช้ภายใต้คำสั่งแพทย์ เว้นระยะกินอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และไม่ควรกินเกินเดือนละ 10 เม็ด และผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดควรใช้อย่างระมัดระวัง 

 

ยากลุ่มเออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids) 

เช่น Cafergot เป็นยาที่รักษาได้ดี แต่ก็มีผลข้างเคียงทำให้เส้นเลือดตีบ หรืออาจทำให้ขาและนิ้วดำ จึงไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน

แก้ปวดไมเกรน

กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า

เป็นยาในกลุ่ม Tricyclic antidepressants เช่น  amitriptyline, nortriptyline ลดความถี่ในการเกิดไมเกรน ช่วยให้นอนหลับ นอกจากนั้นยังลดอาการปวดออฟฟิศซินโดรมได้ด้วย

 

กลุ่มยากันชัก

ยาในกลุ่ม Anticonvulsant เช่น topiramate ช่วยลดความถี่ในการเกิดไมเกรนช่วงที่มีประจำเดือนได้ประมาณ 33% แต่ตัวยาทำให้มีอาการมึนงง เกิดอาการชา 

 

กลุ่มยาลดความดัน

เช่นยา  propranolol เป็นยาที่ป้องกันการปวดไมเกรนได้น้อย เพียง 25% เท่านั้น แต่เป็นตัวยาที่ใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง

 

กลุ่มยา anti CGRP

CGRP เป็นสารเคมีในระบบประสาท ที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว จากการวิจัยพบว่าขณะที่เกิดอาการปวดไมเกรนนั้นมักมมีสารตัวนี้หลั่งออกมามาก ยา anti CGRP จะเข้าไปทำหยุดการทำงานของสารเคมีตัวดังกล่าว โดยจะเป็นยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง มักฉีดเดือนละครั้ง สำหรับผู้ป่วยไมเกรนเรื้อรัง และผู้ที่ไม่สามารถกินยาแก้ไมเกรนตัวอื่นๆ ได้

 

ข้อมูล โรงพยาบาลพระราม 9 

ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ

“ปวดหัวข้างเดียว” บ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณเฉพาะของไมเกรน

Check! หลายโรคของแถมจาก “ไมเกรน”

ปวดไมเกรน ระวังเส้นเลือดสมองให้ดี!

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.