เลือกอาหารแบบไหนถึงดีต่อสุขภาพ และระบบทางเดินอาหารของสว.

เลือกอาหารแบบไหนถึงดีต่อสุขภาพ และระบบทางเดินอาหารของสว.

วันนี้เรามีสูตรอาหารเพื่อสุขภาพของคุณตา คุณยาย หรือผู้สูงอายุในบ้านที่เรารักมาฝากทุกคนค่ะ โดยสูตรนี้ นอกจากจะดีต่อระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุแล้วยังทำได้ง่าย ประหยัดเวลา รสชาติอร่อย เพราะปัจจัยหลักมาจากวัตถุดิบที่สดและมาจากธรรมชาติล้วนๆ หลายเมนูหลายคนอาจคุ้นเคยกันดีเพราะได้กินมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น ผัดไทย

หากแต่เราอาจจะปรับเปลี่ยนวัตถุดิบบางชนิดเพื่อให้ดีต่อสุขภาพและระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุสักหน่อย อาจจะดัดแปลงสูตรเล็กน้อย เช่น ใช้ส่วนผสมธรรมชาติอื่นๆ แทนน้ำตาลปรุงรส เปลี่ยนจากเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นเส้นบุก เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เอื้อต่อการฟื้นฟูร่างกายได้มากที่สุดค่ะ

ที่สำคัญที่สุดคือ ทุกๆ เมนูที่เราเอามานำเสนอล้วนเป็นอาหารธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของทุกคนในครอบครัวที่แม้ไม่มีปัญหาสุขภาพ ไม่มีปัญหาเรื่องระบบลำไส้ หรือระบบทางเดินอาหาร ก็สามารถกินได้ทุกคน

การทำอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ข้อคิดสำคัญในการกินอาหารแต่ละมื้อ ไม่ใช่การคำนึงถึงแคลอรี่ แต่ต้องเน้นไปที่การคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของลำไส้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์นับล้านตัวที่อาศัยอยู่ เนื่องจากอาหารทุกคำจะต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายดูดซึมโดยจุลินทรีย์เหล่านี้

นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงสัดส่วนที่พอดี โดยเฉพาะโปรตีนและไขมันที่ดีที่ควรได้รับ นอกจากจะช่วยบำรุงลำไส้แล้ว ยังให้ผลในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ทำให้รู้สึกอิ่มพอดี จนถึงเวลาอาหารมื้อถัดไป เป็นการลดความอยากกินขนมหวานจุกจิกไปโดยปริยาย แบบนี้พวกท่านก็จะไม่เสี่ยงเป็นเบาหวานอีกด้วย

หากเป็นไปได้ควรเลือกส่วนผสมดังนี้

  • พืชที่ปลอดจากสารเคมี และไม่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม ดังนั้น ถ้าหาได้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกษตรอินทรีย์จะดีที่สุด
  • เนื้อสัตว์ที่ปลอดฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ เป็นสัตว์ที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยพืชตัดต่อพันธุกรรม ขณะเดียวกันก็ต้องถูกสุขอนามัยด้วย ทุกอย่างต้องสะอาด
  • น้ำมันสำหรับทำอาหารทุกชนิดที่ต้องใช้ความร้อนควรเลือกน้ำมันมะพร้าวหีบเย็น เนยใส มาเป็นส่วนประกอบในอาหาร ข้อดีคือย่อยง่าย ช่วยฟื้นฟูระบบทางเดินอาหาร และไม่ทำให้อ้วนค่ะ
  • น้ำมันสลัดควรเลือกใช้น้ำมันมะกอกสกัดเย็น เลือกยี่ห้อที่เชื่อถือได้ว่าไม่มีส่วนผสมของน้ำมันอื่นๆ เจือปนก่อนซื้อส่วนผสมใดๆ ควรอ่านฉลากให้ถี่ถ้วน เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่ได้รับสิ่งอื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์มาเป็นของแถม

ตัวอย่างเมนูอาการของตาจ๋า ยายจ๋า ในแต่ละมื้อ

  • อาหารเช้า ได้แก่ นมอัลมอนด์ ข้าวฟ่างต้มโรยหน้าด้วยอัลมอนด์และแอปเปิ้ล แพนเค้กไฮเทค ขนมปังกลูเตน อีซี่ออมเล็ต
  • อาหารกลางวัน ได้แก่ ข้าวดอกกำหล่ำปัด สปาเก็ตตี้คาโบโรน่า เปรี้ยวหวานปลาแซลมอน ปลาหมึกผัดฉ่า ก๋วยเตี๋ยวเส้นบุก
  • อาหารเย็น ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่งและวอสฮอลลันเดซ ผัดถั่วหวาน ปลากะพงย่างและสลัดผักซอสญี่ปุ่น ต้มยำกุ้ง แกงจืดหัวไช้เท้า ซุปฟักทอง ยำก๋วยเตี๋ยวเส้นบุกปลาทูนึ่ง
  • อาหารว่างและอื่นๆ ได้แก่ อัลมอนด์แครกเกอร์อะโวคาโดดิป ฟักทองดิป มันม่วงอบ มะพร้าวกรอบแก้ว คลาสสิกคีนัว
  • เครื่องดื่ม ได้แก่ นมอัลมอนด์ โกลเด้นสมูทตี้

อ่านแล้วก็ลองเอาไปทำตามกันได้นะคะ เราต้องไม่ลืมว่าร่างกายของผู้สูงวัยควรได้รับการดูแลอย่างดี ยิ่งเรื่องกินต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะระบบทางเดินอาหารที่ดี จะส่งผลให้ร่างกายส่วนอื่นๆ ดีตามไปด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: หนังสือลำไส้ดีไม่มีโรค Amarin health

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ตาจ๋า ยายจ๋า กินอะไรผู้ดูแลต้องใส่ใจเพื่อไม่ให้ขาดสารอาหาร

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อของผู้สูงวัย อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็ก!

อาหารสำหรับผู้สูงวัย ต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.