ก่อนสู่สังคมสูงวัย…ถ้าจะให้ดี ควรวางแผนก่อนเกษียณจะดีที่สุด!

ก่อนสู่สังคมสูงวัย…ถ้าจะให้ดี ควรวางแผนก่อนเกษียณจะดีที่สุด!  

ปัจจุบันประเทศไทย กําลังก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัยเช่นเดียวกับ หลายๆ ประเทศบนโลกใบนี้ซึ่งประเทศไทย ยังอาจล้าหลังกว่าหลายประเทศที่ถูกจัดเป็น กลุ่มประเทศของสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว เรียบร้อยแล้ว

ประเทศที่กําลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย หรือเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัวกําลังประสบปัญหา เนื่องจากขาดแคลนประชากรในวัยแรงงานคงมีแต่ประชากรที่ต้องการ การพึ่งพิงหลายประเทศในโลกนี้จึงตื่นตัว กับการแก้ปัญหาภาระการดูแลผู้สูงอายุด้วยการออกมาตรการต่างๆ ให้ประชากรที่ยัง อยู่ในวัยแรงงานเริ่มต้นวางแผนวัยเกษียณ สําหรับตัวเองตั้งแต่อายุน้อยๆ เพื่อจะได้ ไม่เป็นภาระกับภาครัฐมากจนเกินไป

อย่างไรก็ตามมาตรการจูงใจให้ประชาชนวางแผนเพื่อวัยเกษียณนั้นเพิ่งเริ่มต้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาทําให้หลายๆ คนที่เกิดไวไปหน่อยระลึกรู้ถึงความสําคัญของการวางแผนวัยเกษียณช้าเกินไป

ทุกวันนี้หลายคนที่อยู่ในวัยทอง(ซึ่งนักการเงินเชื่อว่าเป็น Golden Age ของ วงจรชีวิตไม่ใช่วัยทองตามความหมายโดยนัยที่หลายๆ คนไม่อยากให้มีคน เรียกขานกัน) จึงมักเกิดคําถามป็อปปูลาร์ ท็อปเทนว่าแล้วจะต้องทําอย่างไรถ้าล่วงเลยมาจนถึงวันที่รถด่วนขบวนสุดท้าย ออกจากชานชาลาไปหลายปีแล้วและมั่นใจว่า คงไม่สามารถผลิตลูกหลานมาดูแลหลังวัยเกษียณได้และที่สําคัญคือ ไม่เคยวางแผนวัยเกษียณไว้เลยในกรณีเช่นนี้ ถ้าวางแผนตอนนี้จะทันหรือไม่ถ้าทัน (หรือไม่ทันแล้ว)

ใจหนึ่งก็อยากบอกว่าอาจสายเกินไปสําหรับคนใกล้จะเกษียณที่ไม่เคยวางแผน ล่วงหน้าและอยากคงมาตรฐานในการดํารงชีวิตประจําวันเอาไว้แต่เหรียญก็มีสองด้านเสมออีกด้านหนึ่งก็ต้องบอกว่ามาช้าดีกว่าไม่มาวางแผนช้าก็ยังดีกว่าไม่วางแผนเพราะถ้าหากวันนี้ยังไม่เริ่มวางแผนอีกก็อาจส่งงผลให้มาตรฐานการครองชีพหลังเกษียณยิ่งดําดิ่งลงไปในอนาคต

การวางแผนวัยเกษียณสําหรับคนหนุ่มสาวทั่วไปอาจเริ่มต้นจากการสํารวจความต้องการหลังเกษียณ เพื่อคํานวณว่า นับจากนี้ไปในแต่ละปีจะต้องเก็บเงินออม และลงทุนปีละเท่าใดจึงจะเพียงพอกับ มาตรฐานการครองชีพที่ต้องการหลังเกษียณแต่การวางแผนวัยเกษียณสําหรับผู้ที่มีอายุ มากและใกล้จะเกษียณในอีกไม่กี่ปีอาจต้องปรับเปลี่ยนมุมมองมาเป็นการสํารวจจํานวน เงินที่มีอยู่ในปัจจุบันที่สามารถนําไปใช้ หลังเกษียณและแหล่งเงินสําหรับวัยเกษียณ แหล่งอื่นๆ แล้วนํามาคาดการณ์ว่าจะสามารถเฉลี่ยเงินที่มีอยู่มาใช้ได้ปีละเท่าใดตลอด อายุขัยหลังเกษียณ

คนอาจไม่รู้ว่าหลังเกษียณแล้วยังพอจะมีแหล่งเงินต่างๆ ที่เราสามารถนํา ไปใช้ในการดํารงชีวิตได้อีก เช่น เงินออม ในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพซึ่งถ้าหาสมัครใจ  ที่จะออมในตอนทํางานพร้อมกับ นายจ้างคุณก็จะได้รับเงินสะสมของคุณเงินสมทบของนายจ้างรวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารเงินสะสมและ เงิน สมทบของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่รับผิดชอบบริหารกองทุน สํารองเลี้ยงชีพดังกล่าว ผู้ที่ทํางานบริษัทเอกชนทั่วๆ ไปที่อยู่ ภายใต้พระราชบัญญัติแรงงานปีพ.ศ.2541ก็จะได้รับเงินชดเชยจากการเลิกจ้างเนื่องจากการเกษียณอายุตามอายุงานทั้งนี้หากมี อายุงานมากกว่า 10ปีขึ้นไป ก็จะได้รับ เงินชดเชยตามกฎหมายขั้นต่ําอีกประมาณ 10 เดือนของเงินเดือนก่อนเกษียณ

มนุษย์เงินเดือนที่ถูกหักเงินสมทบ กองทุนประกันสังคมไม่น้อยกว่า 1 ปี และ ไม่เกิน 15 ปีก็จะได้รับบําเหน็จตามเงินสมทบของตนเองและเงินสมทบของนายจ้างรวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่กองทุน ประกันสังคมนําเงินสมทบของตนเองและนายจ้างไปบริหารแต่ถ้าหากมีการส่งเงิน สมทบมากกว่า 15 ปี ก็จะได้รับบํานาญทุก ๆ เดือนขั้นต่ำ 20เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน เปีจะได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี จะได้รับ700 บาท อายุ 80-89 ปีจะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไปจะได้รับ 1,000 บาท

วงเงินในปัจจุบันที่สามารถนําไปใช้ได้หลังเกษียณอาจได้แก่เงินสดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินประเภทต่างๆหลักทรัพย์ต่างๆที่ลงทุนไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้พันธบัตรรัฐบาลหุ้นสามัญกองทุนรวมต่างๆ รวมถึงเงินที่ได้รับคืนเมื่อครบกําหนดอายุ จากกรมธรรม์ประกันชีวิต

นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจมาจากที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่เคยซื้อลงทุนไว้ตั้งแต่ก่อนเกษียณ หากคุณไม่เคยวางแผนเพื่อวัยเกษียณและจะเกษียณอายุในอีกไม่กี่ปีนี้คงต้อง ระมัดระวังอย่านําเงินทุนจํานวนดังกล่าว ไปใช้จ่ายกับความต้องการเฉพาะหน้าเตือนตัวเองเสมอว่าเงินออมและเงินลงทุนดังกล่าวอาจช่วยทําให้คุณไม่ต้องไปนอนชมความสวยงามของท้องฟ้าที่ข้างถนนเมื่อถึง วันเกษียณ

ส่วนเงินทุนอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถ ใช้ได้หลังเกษียณอาจมาจากการขายบ้านพัก ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันในต่างประเทศผู้ที่ เกษียณมักขายบ้านพักหลังใหญ่ในเมือง แล้วไปซื้อบ้านพักหลังเล็กๆ ในชนบทหรือต่างประเทศเนื่องจากไม่มีความจําเป็นที่จะต้องอยู่อาศัยในบ้านหลังใหญ่ๆ ในเมืองและ ไม่มีความสามารถในการดูแลทําความสะอาดได้อีกทั้งอาจจะไม่สามารถเดินขึ้นบันได ไปยังชั้นบนของที่พักอาศัยรวมทั้งอาจต้องการสภาพแวดล้อมที่ไม่แออัดและไม่มีมลพิษ

วันนี้ผู้สูงวัยที่ใกล้เกษียณคงต้องจัดทําบัญชีครัวเรือนด้วยการจดบันทึกทรัพย์สินที่ มีอยู่ทั้งหมดเพื่อสํารวจมูลค่าเป็นตัวเงิน ที่สามารถนําไปใช้ได้หลังเกษียณโดยนํา จํานวนเงินทั้งหมดหารด้วยจํานวนปีที่คาดว่าจะอยู่ต่อไปหลังเกษียณจนสิ้นสุดอายุขัยเมื่อรวมเงินจํานวนนี้กับรายได้จากแหล่งเงิน ในวัยเกษียณที่อาจได้รับจากบํานาญและ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าวข้างต้นแล้วก็จะสามารถทราบจํานวนเงินที่จะเฉลี่ยใช้ได้ ในแต่ละเดือนจนถึงวันที่คาดว่าจะสิ้นสุด อายุขัยอย่างไรก็ตามวิธีการวางแผนเพื่อ วัยเกษียณดังกล่าวมีข้อจํากัดว่าจะต้องนํา เงินทั้งหมดที่มีอยู่หลังเกษียณไปลงทุนให้ ได้รับผลตอบแทนในอัตราที่เทียบเท่ากับ อัตราเงินเฟ้อ

หากไม่วางแผนควบคุมการใช้จ่าย ก่อนเกษียณคุณก็ต้องยอมรับว่ากรรม คือผลของการกระทําและต้องเร่งรีบวางแผนควบคุมการใช้จ่ายอย่าให้เกินกว่ารายได้ ที่จะมีใช้หลังเกษียณ

ที่มา: นิตยสาร Secret ปี 2556 ฉบับที่ 116

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.