เมื่อถึงวันที่พ่อแม่ไม่สบาย เราวางแผนวันนั้นอย่างไร? ที่นี่มีคำตอบ!

นอกจากนี้เรื่องของความเห็นอกเห็นใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในงานนี้ ถือหัวใจหลักของบริษัทเรา เราต้องเข้าใจคนไข้และครอบครัวก่อน เพราะงานดูแลคืองานที่ต้องใช้ความเข้าใจ ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะมองจากมุมเรา แต่ถ้าเราไม่พยายามมองจากมุมเขาก็จะทำให้เกิดความไม่เข้าใจบางอย่างและรู้สึกหงุดหงิดได้  ถ้าเราเข้าใจเขา เราก็จะสามารถดูแลได้ดี ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

การหาคนดูแลคนดูแลหาไม่ยาก แต่การหาคนดูแลที่ดีนั้นยาก

ตอนนี้ยังเปิดกว้างอยู่ โดยคนที่มาสมัครก็มาจากเพื่อนแนะนำเพื่อน ซึ่งพอเราคัดแล้วก็พบว่าหายากมากที่คนจะสอบผ่าน มีอัตราการสอบผ่านและได้มาเป็นพนักงาน เรา เพียงแค่ 7% นั่นคือใน 100 คน จะมีคนผ่านเพียง 7 คนเท่านั้น เพราะเราจะรับคนที่มีทั้งทักษะและทัศนคติที่ดี ทำให้ตอนนี้มีพนักงานอยู่ในระบบทั้งหมดประมาณ 300 กว่าคน

ขยายงานสู่การเปิดเป็นสถานดูแลของตัวเอง

ผู้ที่มาดูแลส่วนใญ่จะเป็นซิงเกิ้ลมัม ที่ดูแลลูกคนเดียว เราก็เหมือนเป็นการเปิดโอกาส ให้เค้าได้มาเรียนรู้ มาฝึกอาชีพ มาอบรมที่เรา เหมือนเป็นการสร้างงานให้คนอื่นไปด้วย เราก็เลยมีระบบเทรนนิ่งขึ้นมาเมื่อปีที่แล้ว พอทำเทรนนิ่งไปสักพักก็คิดว่าควรจะมีสถานที่ของเราเองด้วยจะได้ฝึกคุณภาพได้เต็มที่มากขึ้นเพราะหัวใจสำคัญอยู่ที่ผู้ดูแล เราต้องทำแคร์เซ็นเตอร์ของเรา เป็นเหมือนโมเดลจำลองกรอยู่ที่บ้านของผู้สูงอายุว่าควรจะเป็นอย่างไร ก็เลยดีไซน์ที่นี่ (ใน รพ.กรุงไทย) มีการดูแลแบบ ONE ON ONE มีพยาบาลดูแลแบบเต็มรูปแบบ ก็เลยเป็นที่มาของการเปิดเป็นสถานดูแลของเราเอง เพิ่มขึ้นจากการส่งผู้ดูแลไปตามบ้าน

สิ่งที่คนเรามักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ  

บางครั้งเราชอบมองผู้สูงอายุทุกคนว่าเหมือนกันหมด คือ ต้องคนแก่ ต้องรำไทยเก๊ก  โดยเรามองเขาเป็น Stereotype แบบแก่อะไรแบบนี้ ซึ่งผมมองว่ามันไม่จริง ผมมองว่าคนแก่ก็คือพวกเราที่อายุมากขึ้น เราฟังเพลงกันคนละแนว มีความชอบไม่เหมือนกัน ดังนั้นคนแก่แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน มันเป็น Presonal life อย่างปกติเวลาคนคิดวิธีรับมือเมื่อคนแก่ก็จะคิดว่าคนแก่ต้องเป็นแบบนี้สิ ฟังเพลงลูกทุ่ง มีไลฟ์สไตล์แบบนี้ ซึ่งผมคิดว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนั้น อาจจะมองภาพง่ายๆ คือ ผมก็ต้องแก่ คุณก็ต้องแก่  แล้วเราก็จะมีไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว แต่เราชอบเหมาคนแก่เป็นก้อนเดียวกัน ซึ่งผมคิดว่าอันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด ที่เรามักห็นกันในปัจจุบัน

“ผมว่าอย่างแรกต้องคุยกับคุณพ่อคุณแม่เรา เกี่ยวกับในวันที่เขาดูแลตัวเองไม่ได้หรือในวันที่เขาเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้แข็งแรงแบบนี้ เราจะวางแผนกันอย่างไรดี จะอยู่ที่ไหน อยู่บ้านหรืออยู่ Nursing Home อยากเจาะคอไหม อยากให้ดูแลแบบไหน ซึ่งผมมองว่ามันเป็นเรื่องที่คนไทยไม่ค่อยได้คุยกัน พอมันเกิดเหตุปุบปับทำให้มันเป็นปัญหาได้

“ดังนั้นผมมองว่าจะต้องวางแผนและคุณพ่อ คุณแม่ ก็ต้องวางแผนเหมือนกันพอไม่คุยกันแล้วคิดว่าลูกจะดูแล ซึ่งลูกก็อาจมีภาระเยอะ คือต้องคุยกันและส่งเสริมให้คุยกัน เราต้องวางแผนกันตั้งแต่ต้น เพราะยังไงวันนั้นต้องมาถึง ซึ่งผมมองว่าคนรุ่นเราต้องคุยกันในเรื่องนี้ “

ชีวจิตเองก็อยากให้ทุกคนลองคิดดูว่าถ้าวันหนึ่งที่เราต้องการ วันที่พ่อแม่เราไม่สบาย เราวางแผนวันนั้นอย่างไร ก็คือการวางแผน และทุกๆ คนมีโอกาสที่จะอยู่ถึงวันนั้น วันที่เราแก่ตัวลง แต่ที่สำคัญคือ เราได้วางแผนสำหรับวันนั้นแล้วหรือยัง ?

ติดตามอัพเดตและใช้บริการ Health at Home ได้ที่เว็บไซต์ https://healthathome.in.th  หรือเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/healthathome.in.th/ หรือ Line : @healthathome

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ผู้สูงวัยเกิดปัญหาการกลืนลำบาก ลูกหลานอย่านิ่งนอนใจ!!

เราจะรับมือกับความชราอย่างไร เมื่อวันนั้นใกล้จะมาถึง!

เรียนรู้การอยู่กับโรคชรา อยู่อย่างมีคุณค่าและมีความสุขในบั้นปลายชีวิต!

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.