“วัยทอง” โรคและปัญหาสุขภาพที่ผู้หญิงทุกคนควรต้องรู้!!

วันนี้ชีวจิตออนไลน์ ขอนำเอาบทความจากนิตยสารชีวจิตที่นำเสนอเกี่ยวกับการเข้าสู่วัยทอง ของผู้หญิงมาฝากกันค่ะ โดยผู้หญิงเราเมื่อเข้าสู่วัยทองหลังจากที่มีประจำเดือนปีแรกไปแล้ว 30 ปี เช่น ถ้ามีประจำเดือนครั้งแรกตอนอายุ 14-16 ปี การตกไข่ก็จะหยุดที่ช่วงอายุ 45-50 ปี ดังนั้นร่างกายของผู้หญิงจึงขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเป็นส่วนใหญ่เลย

สังเกตได้จากอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง เส้นผม หรือรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ทั้งหมดล้วนมีผลมาจากฮอร์โมน

ฮอร์โมนหลักๆ ที่จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยทองคือ เอสโทรเจนกับโพรเจสเทอโรน โดยเอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผิวชุ่มชื้น อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง ส่วนโพรเจสเทอโรนคือฮอร์โมนความสงบ ถ้าฮอร์โมนชนิดนี้ลดระดับลงมากๆ ก็จะทำให้เกิดความไม่สงบ ฟุ้งซ่าน ซึ่งฮอร์โมนสองชนิดนี้มีการขึ้นลงสวนทางกันตลอดในรอบเดือนหนึ่งๆ เป็นเหมือน หยิน-หยาง

เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ก็จะลดลง โดยลดลงตั้งแต่อายุ 30 ปี ประมาณปีละ ร้อยละ 1.5 เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงๆ ฮอร์โมนเอสโทรเจนจะลดลงไปเหลือเพียงร้อยละ 50 ส่วนโพรเจสเทอโรนจะตกฮวบเกือบเป็น 0 เลย ดังนั้นเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ผิวเริ่มย่น ไม่ชุ่มชื้น ผมร่วง เพราะระดับเอสโทรเจนน้อยลง ส่วนระดับโพรเจสเทอโรนที่น้อยดังที่กล่าวมาจะทำให้มีอาการวิตกจริตง่าย ขี้หงุดหงิด ขี้กังวล คิดไปไกลเกินเหตุ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของฮอร์โมน

ถ้าถามว่าอะไรเป็นปัจจัยให้ฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ลดลงได้ขนาดนี้เมื่อเข้าสู่วัยทอง ทำไมบางคนถึงยังดูอ่อนกว่าวัย ในขณะที่บางคนดูแก่มาก หลักๆ แล้วก็มีปัจจัย 5 ข้อต่อไปนี้

1.อาหาร

อาหารที่คุณกินมาตลอดชีวิต เช่น อาหารที่ให้พลังงานอย่างไขมัน ซึ่งจะไปสร้างฮอร์โมน โปรตีน ซึ่งมีกรดแอมิโนที่ช่วยสร้างสารสื่อประสาท คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นพลังงานที่เราเอาไปใช้ก่อนอย่างอื่น จะเห็นได้จากเมื่อเรากินข้าว ร่างกายจะนำแป้งไปใช้ก่อน แต่สารอาหารอื่นๆ จะถูกนำไปใช้ก่อนอย่างอื่น จะเห็นได้จากเมื่อเรากินข้าวร่างกายจะนำแป้งไปใช้ก่อน แต่สารอาหารอื่นๆ จะถูกนำไปใช้ทีหลัง เช่น กรดแอมิโนจะเดินทางไปยังระบบประสาท

ดังนั้นคุณต้องกินไขมันดี ซึ่งคือไขมันที่มีพันธะคู่เยอะๆ หรือโมเลกุลที่ไม่อิ่มตัว เช่น ปลาชนิดต่างๆ ที่มีกรดไขมันดีอย่างโอเมก้า3 โดยกินให้เยอะกว่าเนื้อสัตว์ใหญ่ หรือขนมขบเคี้ยวที่เต็มไปด้วยไขมันที่ไม่ดี และกรดไขมันไม่อิ่มตัว

แต่ถ้าคุณเป็นมังสวิรัติก็อาจจะกินเมล็ดธัญพืชต่างๆ เช่น เมล็ดแฟลกว์ เมล็ดเจีย อัลมอนด์ นอกจากนี้ยังต้องระวังพวกน้ำมันสำหรับทำอาหารต่างๆ เช่น น้ำมันมะกอก ซึ่งเป็นน้ำมันดี แต่เมื่อโดนความร้อนก็จะเกิดกรดไขมันอิ่มตัวขึ้นมา จึงเป็นสาเหตุที่เขาบอกให้เปลี่ยนน้ำมันบ่อยๆ เวลาทำอาหาร

นอกจากนี้ยังควรกินอาหารเช้าทุกวัน เพราะการไม่กินอาหารเช้าจะทำให้อินซูลิน ทำให้เกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เร็วขึ้น ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือของหวานและอาหารปิ้งย่าง เพราะจะไปกระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระทำให้ร่างกายขาดสมดุลเช่นกัน ก็ทำให้แก่เร็วอีกนั่นเอง

2.การขยับร่างกาย

การนั่งเฉยๆ นานๆ ก็สามารถทำให้ฮอร์โมนผิดปกติได้ โดยเฉพาะคนที่ทำงานประเภทที่อาศัยการนั่งเฉยๆ ตลอดจะมีระดับฮอร์โมนลดลงแร็วมาก

3.การนอนหลับ

การนอนหลับต้องมีคุณภาพ ซึ่งจะดูแต่จำนวนชั่วโมงการนอนไม่ได้ การนอนต้องไม่สะดุด คือ อาจจะนอนเพียง 5 ชั่วโมงก็ได้ แต่ต้องเป็น 5 ชั่วโมงที่มีคุณภาพ

การนอนหลับสนิทนั้นขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งมีเซโรโทนินเป็นฮอร์โมนคู่ตรงข้าม คือ เวลาที่เราตื่นนอน เซโรโทนินจะหลั่งออกมา ทำให้เราตื่นตัว มีสติ แต่เมื่อไฟมืด ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินออกมา ดังนั้นสภาพแวดล้อมในห้องนอนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การนอนหลับมีคุณภาพ คือ ห้องนอนต้องมืดและไม่มีเสียงรบกวน

นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้สมาร์มโฟนที่มีแสงสีฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก่อนนอนด้วย เพราะแสงเหล่านี้ทำให้เมลาโทนินหลั่งน้อยลง ในขณะที่ไปเพิ่มระดับเซโรโทนินขณะนอนจึงเหมือนเกิดความคิดฟุ้งซ่าน

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<<

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.