โรคหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้ผู้สูงวัยมีหัวใจที่ทำงานผิดปกติ

วันนี้เราจะมาพูดถึงกันถึงเรื่องของ “โรคหลอดเลือดหัวใจ” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคหัวใจขาดเลือดว่าหมายถึงอะไร และต้องปฏิบัติกับท่านที่เป็นโรคหัวใจได้อย่างไรบ้าง สำหรับผู้ที่ดูแลผู้สูงวัย ควรให้ความสำคัญกับโรคนี้ เพราะโรคนี้ถือว่าเป็นโรคที่คนสูงอายุเป็นกันมาก

โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึง โรคที่เกิดจากหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงน้อย จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หากไม่มีเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจเลยจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายได้

สาเหตที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด   

  • ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • เบาหวาน
  • การสูบบุหรี่
  • ความเครียด
  • ความดันโลหิตสูง
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • พันธุกรรม
  • โรคอ้วน

ทำไมไขมันในเลือดจึงมีความเกี่ยวกับหัวใจได้

ความสัมพันธ์ระหว่างไขมันกับเส้นเลือดจึงเกี่ยวกันหากระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศเลยก็ว่าได้ มีการเสียชีวิต 4 คนต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี

การสูบบุหรี่มีความเกี่ยวข้องกับหัวใจอย่างไร

หากผู้สูงอายุบางท่านยังคงสูบบุหรี่อยู่ ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เพราะว่าบุหรี่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว และยังลดปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ หากผู้ใดที่ได้สูบบุหรี่ 20 มวนต่อวัน ทำให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบมากถึงสองเท่า เพราะการสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด หากแต่หยุดสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดลดลง หากผู้ดูแลต้องการให้ผู้สูงอายุหยุดสูบบุหรี่ หรือผู้ป่วยเองต้องการหยุดก็สามารถปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการที่จะช่วยให้ท่านหรือญาติของท่านหยุดสูบบุหรี่ทำได้ง่ายขึ้น

ทำไมความดันโลหิตสูงมีความเกี่ยวข้องอะไรกับหัวใจ

ความดันโลหิตสูงเป็นอันตรายเพราะความดันโลหิจสูงจะทำให้ไขมันคอเลสเตอรอลเข้าไปเกาะผนังชั้นในของหลอดเลือดได้ง่าย ทำให้หลอดเลือดมีการแข็งตัว และทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้เลือดไหลผ่านไปได้ ทำให้เจ็บหน้าอกรุนแรงขึ้นได้ สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุควรไปปรึกษาแพทย์ และทำตามที่แพทย์แนะนำ

สิ่งที่ผู้ดูแลสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุลดความเสี่ยงจากโรคร้ายนี้ได้คือ

เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุเริ่มจาก อาหารที่ท่านรับประทานในแต่ละวัน เพื่อให้ท่านจะได้ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป เพราะหากท่านมีน้ำหนักมากจนเกินไปก็จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ ส่วนอาหารควรให้ท่านทานผักและผลไม้ และลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ควรให้ท่านดื่มนมพร่องมันเนยหรือน้ำนมถั่วเหลือง

นอกจากนี้เราต้องพาท่านออกกำลังกายอย่างเช่น การเดิน ซึ่งควรเดินประมาณ 30 นาทีต่อวัน รวมถึงพาท่านไปทำกิจกรรมยามว่างเพื่อให้ท่านจะได้ไม่เครียด อย่างเช่น ไปตลาด หรืออ่านหนังสือให้ท่านฟัง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจตีบมีดังนี้

  • ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจตีบจะมีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อเครียด หรือออกแรง ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้เริ่มแรกของหลอดเลือด หัวใจตีบ มักมีอาการราว 2-10 นาที ถ้าได้นั่งพัก หรือใช้ยาขยายเส้นเลือดอมใต้ลิ้นสักพัก อาการเหล่านี้มักจะหายไป
  • ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง คล้ายมีอะไรมาบีบรัด เจ็บที่ใต้กระดูกอกด้านซ้าย อาจร้าวไปถึงขากรรไกร และแขนซ้าย เจ็บนาน 15-30 นาที มีอาการเหงื่อแตก คลื่นไส้ หายใจลำบาก หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม และอาจหมดสติได้อาการเหล่านี้บ่งชี้ว่าอาจเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
  • บางรายมีกล้ามนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาจมีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ และในบางครั้งหัวใจหยุดเต้น ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทันที ก่อนถึงโรงพยาบาลได้
  • วิธีการปฏิบัติช่วยเหลือผู้สูงอายุเมื่อมีอาการของโรคหัวใจขาดเลือดกำเริบ ต้องให้ผู้ป่วยอมยาใต้ลิ้นหรือสเปรย์เพื่อใช้ในเวลาที่ท่านเจ็บหน้าอก จากนั้นรีบนำไปพบแพทย์ทันที

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.