รู้หรือไม่? จุดเสี่ยงตรงไหนของบ้าน ที่ทำผู้สูงอายุหกล้มได้ง่ายที่สุด

  1. ห้องนอน การจัดวางสิ่งของ เตียงนอน โต๊ะ ต่างๆ หากไม่วางในจุดที่เหมาะสมก็เสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายเช่นกัน เพราะผู้สูงวัยต้องลุกมาเข้าห้องน้ำช่วงกลางคืนบ่อยๆ รวมถึงสวิตช์ไฟในห้องนอนก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่อาจทำให้เกิดการหกล้มได้ หากติดตั้งไม่เหมาะสม
  2. ประตู ประตูที่มีขนาดแคบเกินไป หรือช่วงธรณีประตูเป็นสาเหตุของการสะดุดหกล้มได้ง่าย
  3. เก้าอี้ เก้าอี้ที่มีพนักพิง หรือมีความสูงมากเกินไป เป็นปัญหาต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ ซึ่งอาจทำให้เกิดการหกล้มได้ง่ายเช่นกัน

เมื่อเราถึงจุดเสี่ยงตรงไหนของบ้าน ที่อาจทำผู้สูงวัยที่เรารักเกิดหกล้มได้ง่ายแล้ว ก็ต้องหาวิธีการจัดสภาพแวดล้อมในบ้าน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

เทคนิค ปรับจุดเสี่ยงให้ปลอดภัย            

1.พื้นบ้าน พื้นบ้านที่เหมาะสมต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงวัย คือ ผิวด้านหรือผิวสัมผัสเป็นลวดลาย ปรับให้มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ ไม่ขรุขระและไม่ขัดมันจนลื่น หากผู้สูงอายุต้องใช้รถเข็น พื้นบ้านควรเป็นระดับเดียวกันเพื่อง่ายต่อการใช้งาน

2.บันได ควรติดตั้งราวจับที่มั่นคงเพื่อให้สะดวกในการยึดเกาะเดินขึ้นลง นอกจากนี้บันไดในแต่ละขั้นควรมีความสูงเสมอกัน และไม่ชันมากจนเกินไป ที่สำคัญบริเวณบันไดไม่ควรวาง หรือมีสิ่งของกีดขวางทางเดินรวมทั้งไม่ควรมีพรมวางเพราะจะทำให้ผู้สูงอายุสะดุดหกล้มได้

3.ห้องนอน สวิตช์ไฟควรอยู่ในจุดที่เปิดปิดง่าย เช่น บริเวณหัวเตียง

4.ห้องน้ำ กระเบื้องในห้องน้ำควรใช้กระเบื้องแผ่นเล็ก และมีผิวสัมผัสที่ด้าน เพราะการเปียกลื่นทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและส่วนใหญ่มักรุนแรง อาจนำแผ่นกันลื่นมาวางไว้ในห้องน้ำ ที่สำคัญควรทำราวเกาะไว้รอบ ๆ ห้องน้ำ/ห้องส้วม เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ในการยึดเกาะทรงตัว

5.แสงสว่าง ควรจัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอโดยเฉพาะบริเวณบันได ห้องน้ำ ประตู และทางเดิน สวิตซ์ไฟอยู่ในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ได้สะดวก เปิด-ปิดง่าย

6.ห้องครัว ของที่ต้องใช้บ่อยๆ ควรวางไว้ที่ระดับเอว ให้หยิบใช้ง่าย เช่น จาน ชาม แก้วน้ำ

7.ประตู ไม่ควรมีธรณีประตูเพราะเป็นสาเหตุของการสะดุดหกล้ม และประตูควรเป็นบานเลื่อน หรือประตูแบบเปิดออก เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม

นอกจากการดูแลผู้สูงอายุในเรื่องของความปลอดภัยภายในบ้าน อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ ความรัก การดูแลเอาใส่ใจท่าน ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เพื่อให้ท่านมีความสุขและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงค่ะ

ข้อมูลจาก: นิตยสารชีวจิต ฉบับ 510

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เมื่อเวลาผ่านไประบบต่างๆ ย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา!

 

 

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.