รับมือความชราที่ใกล้มาถึง

รับมืออย่างไรกับความชราที่ใกล้จะมาถึง?

ท้ายสุดที่ขาดไม่ได้คือ ต้อหิน ถึงจะฮิตน้อยกว่าต้อกระจก แต่น่ากังวลไม่แพ้กัน เพราะเกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้นจนมีการทำลายประสาทตาปัจจัยเสี่ยงมาจากทั้งพันธุกรรม หรือโรคประจำตัวบางชนิดอย่างโรคเบาหวาน แต่ยังไม่หมดเพราะยังมีจอประสาทตาเสื่อม ที่เรียกว่าโรคคนแก่ของจริง เพราะพบในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ดังนั้นต้องไม่ชะล่าใจ โดยควรไปตรวจสุขภาพตา ตั้งแต่อายุ 40 ปี เพื่อประเมินปัจจัยเสี่ยงไว้ก่อนแต่เนิ่นๆ

โรคกระดูกและข้อ

โรคกระดูกและข้อที่พบมากให้ผู้สูงอายุนั้น มีทั้งโรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคกระดูกพรุนมักพบมากในผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สาเหตุนอกจากการกร่อนของเนื้อกระดูก การเสื่อมสมรรถภาพของผิวข้อกระดูก ด้วยการใช้งานมาอย่างหนักและอายุที่มากขึ้นแล้ว ยังเป็นเรื่องของการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง

พบว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากภาวะหมดประจำดือน ในขณะที่โรคเกาต์สามารถพบในอายุน้อยกว่านั้น คือในผู้ชายตั้งแต่อายุ40 ปีขึ้นไป ด้วยการตกผลึกของกรดยูริกตามข้อในร่างกายหรือได้รับโปรตีนมากเกินไป ซึ่งโรคข้อและกระดูกเหล่านี้เจ็บปวดและส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

โรคสมองเสื่อม

โรคนี้คืออาการถดถอยของสมองอย่างช้าๆ ที่อาจกินเวลาเป็น 10 ปีกว่าอาการจะชัดจนสังเกตได้ เกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองจากส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วจึงลุกลามไปยังสมองส่วนอื่นๆ มีทั้งรักษาได้ เช่น การขาดสารอาหารบางชนิดหรือรักษาไม่ได้อย่างโรคอัลไซเมอร์ พบว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม 5-8% ส่วนคนที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเป็น 20% และผู้ที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้นถึง 50%

โรคนี้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย ในส่วนของอัลไซเมอร์ที่เราคุ้นเคย ก็ถือเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มอาการสมองเสื่อม เกิดจากการเสื่อมของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ที่มีบทบาทในการจดจำข้อมูลต่างๆอาการที่สามารถสังเกตได้ชัดและพบได้บ่อยที่สุด คืออาการหลงลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น

คนวัยเก๋า

 

โรคความดันโลหิตสูง

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความดันเอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ว่า หากวัดค่าได้มากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ในขณะที่ปกติคนเราควรมีความดันโลหิตอยู่ในระยะ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ปัญหาของโรคนี้คือมักไม่แสดงอาการ แต่จะค่อยๆส่งสัญญาณมาเรื่อยๆ เช่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะเจ็บหน้าอก ปวดที่แขนหรือขา ตาสูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ

การรักษาต้องกินยาควบคุมความดันอยู่เสมอ กินอาหารที่เป็นประโยชน์ งดแอลกอฮอลล์ และรักษาร่างกายให้แข็งแรง แต่ถ้าละเลยอาจจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอย่างอัมพฤกษ์ ตาบอด ไตวาย โรคหลอดเลือดสมองกล้ามเนื้อหัวใจหนา และหัวใจวาย หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

สุดท้ายนี้ต้องไม่ลืมว่าวัยที่เพิ่มมากขึ้นมักจะมาพร้อมกับโรคมากมาย หากคุณอยากเป็นผู้สูงวัยที่สดใสแข็งแรง ปราศจากโรคภัยทั้งงปวง การดูแลตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้ก็จะทำให้คุณห่างไกลโรคชรา และรู้สึกยังงคงความเป็นหนุ่มสาวอยู่เสมอนั่นเองค่ะ

ข้อมูลประกอบจาก : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

การดูแลผู้สูงวัย มีอะไรบ้างคือสิ่งที่ผู้ดูแลควรต้องรู้!

เคล็ดลับสูงวัย! ทำอย่างไรไม่ให้ร่างกายนำหน้าอายุจริงของเรา

เมื่อเวลาผ่านไประบบต่างๆ ย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา!

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.