เรียนรู้การอยู่กับโรคชรา อยู่อย่างมีคุณค่าและมีความสุขในบั้นปลายชีวิต!

แม้ว่าตอนคุณจะเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้สูงอายุ ทุกคนจะต้องมีอาการเสื่อมเหมือนกันหมด ต้องเป็นโรคชราด้วยกันทั้งนั้น เพราะเรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจริงๆ หากคุณดูแลตัวเองไม่ดี ปล่อยปละละเลย ต่อให้ได้ยาดีจากคุณหมอ ก็ไม่สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ และอาจต้องทนทุกข์กับความชราและโรคชราต่อไป

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราดูแลสุขภาพตัวเองเสียแต่วันนี้ให้ถูกต้อง ก็ย่อมจะช่วยให้ห่างไกลจากโรคชรา หรือหากเป็นก็สามารถประคับประคองคุมอาการของโรคได้ดี ทำให้ที่เป็นมากก็ลดน้อย ที่เป็นน้อยก็สามารถหายขาดได้ แล้วทำไมเราจะไม่เริ่มต้นรักตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้ล่ะคะ

วัยสูงอายุคืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับ “ความชรา” กันก่อน คำนี้นั้นนั้นย่อมเกิดขึ้นได้เพราะสาเหตุต่างๆ เกิดขึ้นตามระยะเวลาไม่ได้มาแบบจู่โจม แต่มันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ดังนั้น หากเราทุกคนทำความเข้าใจเรื่องความชราแล้ว ก็ช่วยให้เกิดความเข้าใจภาวะที่เป็นอยู่ และสามารถรับมือ ทั้งยังอยู่ร่วมกับความชราได้อย่างเป็นปกติสุข

สาเหตุของความชรา

เหตุผลหลักที่ทำให้เราชราลงก็คือ การที่เมื่อเราอายุมากขึ้น การทำงานของต่อมไร้ท่อและอวัยวะต่างๆ ก็ทำงานได้น้อยลงจนทำให้เกิดความเสื่อมแทบทุกระบบ ทั้งอวัยวะต่างงๆ ทั้งภายในภายนอกก็เสื่อม กระดูกเสื่อม ไขมันมากขึ้น การทำงานของสมองด้อยลง  ที่สำคัญคือฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งหลั่อออกมาจากต่อมใต้สมองของเราลดลง

ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งลดลง จึงทำให้เกิดความเสื่อมมากขึ้น ซึ่งสามารถเห็นได้จากลักษณะที่ฟ้องถึงความชรา เช่น ผิวหนังที่เหี่ยวย่น ผมร่วงหรือผมหงอก ปวดตามข้อต่างๆ ประสาทช้าลง เป็นโรคชรา และเสื่อมสมรรถภาพ

นอกจากนั้นปัจจัยอื่นๆ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดความชราได้อีก เช่น โดนแสงแดดจ้ามากเกินไป ฝุ่นควัน หรือสารพิษต่างๆ การกินอาหารที่ผิดๆ โรคบางอย่างที่เป็นอยู่ รวมทั้งกินยาบางชนิด ความเครียด การอดนอน การขับถ่ายไม่เป็นปกติ การขาดการออกกำลังกาย และการใช้ยาเสพติด เป็นต้น

โรคชราคืออะไร

โรคชรามักเกิดจากความเสื่อมของระบบอวัยวะต่างๆ ที่เป็นไปตามกาลเวลา จนทำให้อวัยวะเหล่านี้เสื่อมถอยและเกิดเป็นโรคต่างๆ ซึ่งมักจะเกิดกับร่างกายตามที่เหล่านี้ เช่น ข้อต่อและกระดูก หู ดวงตา จิตประสาท หรือโรคทางสมอง ถุงน้ำดี ระบบทางเดินอาหาร ไตที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับปัสสาวะ ระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งโรคต่างๆ ยอดฮิดอย่างโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดแดงตีบตัน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเกาต์

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ  

ทางด้านร่างกาย

ที่เห็นชัดคือผิวหนังจะเหี่ยวย่น บางลง เนื่องจากเซลล์ผิวหนังมีจำนวนลดลง ระบบทางเดินอาหารด้อยประสิทธิภาพ น้ำย่อยลดลง ทำให้การย่อยไม่ดี จึงมักมีอาการท้องอืดเฟ้อ ระบบประสาทเสื่อมถอย การรับรู้ช้าลง ระบบสัมผัสด้อยลง ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกยามที่สัมผัส รวมถึงระบบการไหลเวียนโลหิตจะด้อยลง ทำให้การสูบฉีดเลือดไม่ดีเท่าที่ควร

ระบบต่อมไร้ท่อทำงานได้ไม่ดี มักทำให้ผู้สูงวัยเหนื่อยหรือเพลียง่าย ระบบหายใจด้อยลง ทำให้หายใจได้ลำบาก ติดๆ ขัดๆ ระบบสืบพันธุ์ด้อยลง บางรายก็เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ระบบทางเดินปัสสาวะแย่ลง บางรายก็มีอาการเล็ด หรือควบคุมการขับถ่ายเบาไม่ดี  หรืออาจถ่ายหนักได้ไม่ดี จนมีอาการท้องผูก

ฟันผุ กระดูกกร่อน ผมร่วง ผมหงอก สติปัญญาไม่ดีเหมือนเดิม มักจะเชื่องช้าเสื่อมถอย สายตาไม่ดี ที่แน่ๆ ประสาทกล้ามเนื้อซึ่งควบคุมการกลืนทำงานด้อยลง ทำให้กลืนอาหารได้อยากลำบากอีกด้วยค่ะ

ทางด้านจิตใจ

เนื่องจากวัยที่มากขึ้น ความเสื่อมถอยต่างๆ ก็มาเยือน เรื่องของร่างกายจึงส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำห้ผู้สูงวัยทั้งหลายมักจะมีอาการทางจิตไม่ปกติ เช่น

คิดฟุ้งซ่าน เพราะไม่มีงานทำเหมือนครั้งยังหนุ่มสาว โดยเฉพาะช่วงที่เกษียณมาใหม่ๆ ดังนั้นรีบหาอะไรทำเสีย หรือหากยังมีแรงยังอยากทำงานต่อก็อาจทำเรื่องขอทำงานต่อได้ในหน่วยงานของคุณเอง

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.