การควบคุมน้ำหนักของผู้สูงวัยให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคือสิ่งสำคัญ!

  1. กินเร็วเกินไป

ในการกินอาหารแต่ละมื้อ โดยปกติแล้วร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาทีเพื่อส่งสัญญาณความอิ่มไปถึงสมอง ( เพื่อบอกให้หยุดกิน ) การกินเร็วเกินไปจึงทำให้ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการ

วิธีแก้ไข : ทานอาหารให้ช้าลงเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น วางช้อนในแต่ละคำ จิบน้ำเล็กน้อย จะช่วยยืดเวลาในการทานอาหารให้นานขึ้นได้

  1. กินอาหารที่มีกากใยต่ำ

อาหารที่ผ่านกระบวนการขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว หรือเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ มีใยอาหารน้อยมาก แต่อาหารที่มีกากใยสูงจะไม่มีแคลอรีและช่วยให้อิ่มท้องได้นานกว่า

วิธีแก้ไข : พยายามทานอาหารที่มีกากใยสูงร่วมด้วยในระหว่างมื้อ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือ และถั่วต่างๆ อาหารที่มีกากใยจะช่วยให้อิ่มเร็วขึ้น

  1. นอนไม่เพียงพอ

การนอนไม่เพียงพอก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อ้วนได้ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ชายที่นอนคืนละ 4 ชั่วโมงหรือต่ำกว่า 7 ชั่วโมงติดกัน 6 คืนในแต่ละสัปดาห์ จะมีระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดสูง ทำให้ลดน้ำได้หนักยาก เพราะระดับอินซูลินสูงจะทำให้ร่างกายเก็บสะสมไขมันจากอาหารส่วนเกินง่ายขึ้น

วิธีแก้ไข : ควรปรับพฤติกรรมการนอน ให้นอนหลับพักผ่อนได้มากเพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และต้องไม่เข้านอนดึกเกินกว่า 4 ทุ่มของทุกวัน นอกจากนี้ควรนอนและตื่นให้เป็นเวลาในทุกๆ วันด้วย

  1. เชื่อว่าออกกำลังกายอย่างเดียวโดยไม่ต้องควบคุมอาหารก็ลดน้ำหนักได้

การลดน้ำหนักที่ได้ผลดีที่สุด ต้องมาจากการออกกำลังกาย และต้องควบคุมปริมาณอาหารที่ทานในแต่ละมื้อด้วย หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว การลดน้ำหนักก็จะไม่มีประสิทธิภาพ และอาจไม่ได้ผลนั้นเอง

วิธีแก้ไข : ต้องออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมปริมาณและประเภทของอาหารที่จะทานเข้าไปในแต่ละมื้อและควรทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลง เนื่องจากการทานอาหารนอกบ้านทำให้เราควบคุมปริมาณได้ยาก

  1. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแคลอรี

เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงและอาจจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลที่มากอีกด้วย

วิธีแก้ไข : เลือกเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับผู้ลดน้ำหนักที่สุดก็คือ น้ำเปล่า ควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 2 ลิตร เพื่อให้ร่างกายได้มีน้ำเพียงพอ โดยสังเกตได้จากสีของปัสสาวะ ควรมีสีเหลืองอ่อน และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูง

  1. ชะล่าใจกับน้ำหนักที่ลดในระยะแรกในการลดน้ำหนักช่วงแรกๆ

น้ำหนักจะลดลงได้อย่างรวดเร็วซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งผู้ลดน้ำหนักหลายคนอาจเกิดความชะล่าใจ และหันไปทานอาหารในปริมาณมากเหมือนเดิม รวมถึงหยุดการออกกำลังกาย จึงทำให้น้ำหนักที่ลดไปจึงกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว

วิธีแก้ไข : ต้องควบคุมปริมาณอาหารอย่างต่อเนื่อง และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำแม้ว่าน้ำหนักในช่วงนั้น จะลดลงมากหรือลดลงน้อยก็ตาม ถ้าป้องกันไม่ให้น้ำหนักที่ลดเพิ่มขึ้นได้ภายใน 6 เดือน ก็อาจลดน้ำหนักเพิ่มได้อีกหลังจากนั้น

ผู้สูงอายุต้อไม่ลืมว่าปัญหาที่มากับการลดน้ำหนัก และทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดคือการไม่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการลดน้ำหนักที่ถูกต้องเสียก่อน หลายคนลดน้ำหนักด้วยวิธีตามความรู้สึกตนเอง ทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ดังนั้นหากต้องการให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่จะลดน้ำหนักควรศึกษาหาความรู้ในการลดน้ำหนักให้เข้าใจดีเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธีตามมานั่นเองค่ะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ขั้นตอนการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ช่วยยืดอายุผู้สูงวัยที่เรารักได้

สูงวัยต้องรู้ไว้ กับเรื่องราวของสรีรศาสตร์และสุขภาพทุกแง่มุม!

“ข้อเข่าเสื่อม” ในผู้สูงวัย ทำอย่างไรให้เกิดภาวะนี้ช้าลง

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.