ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย สิ่งที่ผู้ดูแลต้องรู้ไว้ก่อนสายเกินแก้!

แต่ในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมระยะรุนแรง อาจจะลืมว่าเราเป็นใคร ชื่ออะไร ประการแรกเราต้องบอกชื่อท่าน ช้าๆ ชัดๆ หลายครั้งเพื่อให้ท่านมั่นใจและเข้าใจว่าเราเป็นใคร และเมื่อผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมใดเสร็จแล้วเราก็ชมเชยและให้กำลังใจท่าน เพื่อให้ท่านมีกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่า และรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นภาระแต่อย่างใด

การรับรู้บกพร่อง สับสนหลงลืม

บางครั้งผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจสับสน หลงลืมเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ได้ หรือไม่สามารถแยกระหว่างกลางวัน และกลางคืน เราควรทำกระดานบอกเวลากลางวันหรือกลางคืน หรือตั้งนาฬิกาปลุกว่าเป็นเวลาเช้าแล้ว เพื่อให้ท่านเข้าใจว่าเวลาไหนเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน

การสูญเสียทักษะ

การสูญเสียทักษะผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะสูญเสียทักษะในด้านกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น เคยเป็นแม่ครัว แต่ปัจจุบันปรุงอาหารผิดเพี้ยนไป ลืมปิดเตาแก๊ส อาจได้รับอันตรายได้ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะรุนแรงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองแม้กระทั่งดื่มน้ำ อาบน้ำ

แต่เราควรช่วยสนับสนุนท่านที่เป็นโรคสมองเสื่อมให้ท่านสามารถรักษาทักษะที่มีอยู่คือ ให้ท่านทำกิจวัตรประจำจนเคยชิน อย่างเช่น ล้างจาน ถอนหญ้า ปลูกต้นไม้ และเลี้ยงสัตว์ หรือไม่ก็โทรมาหาท่านในยามที่เรามีงานด่วนอยู่ต่างจังหวัด  เราต้องคอยโทรเตือนท่าน และให้ท่านทวนข้อความดังงกล่าวอีกด้วย และเราก็จัดเตรียมสมุด เบอร์โทรทุกคน สมาชิกในครอบครัว เบอร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาล สถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ และเบอร์เพื่อนๆ ที่ท่านรู้จักไว้ สำหรับท่านได้โทรศัพท์ไปหาได้ทันที

การมีส่วนร่วมในกิจกรรม

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมควรได้รับกำลังใจที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว เราควรส่งเสริมให้ท่านมีงานอดิเรก อย่างเช่น สะสมแสตมป์ สะสมพระเครื่อง สะสมเหรียญเก่า เข้าชมรมผู้สูงอายุ

ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมในระยะปานกลาง เราควรให้ท่านเข้ากับกิจกรรมครอบครัวอย่างเช่น การดูโทรทัศน์ คอยดูแลให้ท่านคอยติดตามรายการ หรือควรกระตุ้นให้ทำงานอดิเรกอย่างเช่น ฟังเทป หรือวิทยุรายการธรรมะ และเมื่อฟังแล้วก็ให้นำเรื่องที่ได้ยินกลับนำมาเล่าให้พวกเราอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านรู้สึกมีความสุขและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าภายในครอบครัว ช่วยลดความตึงเครียดภายในบ้านได้ หรือถึงวันสำคัญ เราควรพาพวกท่านไปเที่ยววัดบ้าง หรือนำของขวัญให้ท่านเมื่อถึงวันเกิดท่าน หรือขอพรท่านในวันสำคัญต่างๆ อย่างเช่นวันขึ้นปีใหม่

พฤติกรรมผิดปกติ

ส่วนมากแล้วผู้สูงอายุจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หากแต่ไม่ใช่โรคสมองเสื่อมเท่านั้น แต่เป็นกันเกือบทุกคน อย่างเช่น เดินเรื่อยเปื่อยออกไปนอกบ้าน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พฤติกรรมก้าวร้าว และเปลื้องผ้า จากพฤติกรรมดังกล่าวเนื่องมาจากการสื่อสารผิด และเราคอยห้ามปรามท่านเมื่อท่านทำไม่ถูกต้อง

กรณีนี้เราต้องช่วยให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมมีพฤติกรรมดังกล่าวให้น้อยลง เราควรทำความเข้าใจให้กับท่านเพราะนี่คือสิ่งที่สำคัญสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ บางครั้งผู้สูงอายุอาจจะเกรงใจเรา หรือไม่กล้าที่จะบอกเพราะอาย

เมื่อผู้สูงอายุเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว อาจเป็นเพราะว่าผู้สูงอายุเกิดการหวาดระแวง อาจรู้สึกหงุดหงิด ถ้าหาอะไรไม่พบ เราควรดูแลเรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ ต้องวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เราควรอธิบายให้ผู้สูงอายุเข้าใจอย่างช้าๆ เช่น ผู้สูงอายุโวยวายขณะที่เราพาท่านออกนอกบ้านเพื่อไปหาหมอ แต่ท่านไม่ยอม เราต้องอธิบายว่าไปตรวจเฉยๆ ไม่ได้ฉีดยา ไม่เจ็บ

เมื่อผู้สูงอายุกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สิ่งที่เราควรทำมากที่สุดคือป้ายหน้าห้องน้ำและมีไฟด้วย เราควรให้ท่านดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน จึงทำให้ท่านไม่เกิดภาวะขาดน้ำ เราควรเตือนท่านให้เข้าห้องน้ำเป็นเวลา หรือถ้ามีการปัสสาวะบ่อยอาจมีการติดเชื้อได้ ยิ่งถ้ามีอาการหนาวสั่นแล้วต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที

ปัญหาของผู้ดูแล

การที่เราดูแลพ่อแม่ หรือผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม อาจเป็นภาระของครอบครัว เราในฐานะผู้ดูแลต้องการกำลังใจเช่นกัน บางครั้งอาจจะเครียดเพราะมีภาระรับผิดชอบอื่นๆ เช่น ลูก หลาน ทำให้เหนื่อยมากยิ่งขึ้น หากถูกรบกวนในเวลากลางคืน ก็ทำให้ความเป็นส่วนตัวน้อยลงไป การไปติดต่อสื่อสารกับผู้คนรอบข้างก็น้อยลง

สิ่งที่เราต้องรับรู้คือ เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมว่าคืออะไร เพื่อที่เราจะได้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ควรพยายามอ่านเอกสารให้เข้าใจเกี่ยวกับสมองเสื่อม เราต้องพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หาเวลาออกไปนอกบ้านบ้าง หรือหาจ้างคนมาแบ่งเบาภาระช่วงเวลาหนึ่ง

บางครั้งเราอาจจะมีอารมณ์ที่ไม่พอใจอาจเกิดขึ้นได้ แต่เราไม่ควรไปใส่อารมณ์กับท่าน เพราะถ้าท่านได้ยินแล้วก็ทำให้เรารู้สึกผิดในภายหลัง การที่ได้รับกำลังใจโดยที่ไปปรึกษาแพทย์ หรือเป็นผู้ดูแลเหมือนกันอาจมีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน อาจทำให้มีคำแนะนำที่เหมาะสมที่จะทำให้แก้ปัญหาได้ในที่สุด

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ดูแลผู้สูงอายุอย่างดีและเข้าใจ เพื่อความสุขของคนทั้งบ้าน!

ลองเช็กกันดูว่า ผู้สูงวัยใกล้ตัวคุณเป็นแบบนี้หรือเปล่า?

สังเกตอาการอย่างไร เมื่อผู้สูงวัยเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง?

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.