ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย สิ่งที่ผู้ดูแลต้องรู้ไว้ก่อนสายเกินแก้!

วิธีการดูแลผู้สูงอายุในภาวะสมองเสื่อม

อันดับแรกควรเข้าใจผู้ป่วย ถึงแม้ว่าท่านจะมีความจำและสติปัญญาไม่เหมือนเดิม แต่สิ่งที่ท่านมีอยู่ก็คืออารมณ์และความรู้สึกเหมือนกับเรานั่นเอง ผู้สูงอายุยังคงมีความรู้สึกเสียใจ น้อยใจ ดีใจ กังวลใจ อับอาย และเศร้า ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือการสื่อสารกับท่าน เราควรแสดงออกไม่ว่าจะเป็นทางกายหรืออารมณ์ต่อหน้าท่าน ในทางที่ดี เราควรเข้าใจท่านและให้ความสำคัญกับท่าน เพื่อประคับประคองอาการของท่าน ถึงแม้ว่ายังไม่มีการรักษาให้หายขาด โดยเฉพาะผู้สูงอายุในระยะรุนแรง แต่เราสามารถที่จะชะลอให้สมองของท่านเสื่อมช้าลงได้ ดังนี้

การลืมรับประทานยา

ส่วนมากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะจำไม่ได้ว่ากินยาไปแล้วหรือยัง จึงทำให้กินยาเกินขนาดที่แพทย์สั่ง และอาจทำให้เกิดอันตรายได้ สำหรับคนที่ต้องดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคสมองเสื่อมในระยะแรก อาจทำให้ผู้สูงอายุไม่ค่อยพอใจเท่าที่ควรหากไปจัดยาให้ท่าน ในกรณีนี้เราอาจจะดูแลแค่เตือนท่านว่า กินยาหรือยัง แต่ถ้าในกรณีที่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะรุนแรงแล้วเราควรจัดยาให้ท่าน

เราต้องหาอุปกรณ์การจ่ายยาสำหรับกินก่อนอาหารหรือหลังอาหารรวมไปถึงจำนวนวันอาจจะจัด 1 วันหรือ 3 วัน เราควรดูยาที่เหลือและกากบาทปฏิทินในแต่ละวันหลังกินยาเรียบร้อยแล้ว

การสูญเสียความทรงจำ

การสูญเสียความทรงจำเป็นอาการแรกๆ ของผู้สูงอายุที่เห็นได้ชัดเจน ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะไม่สามารถจำเรื่องราวต่างๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ จึงทำให้ท่านมีอาการบ่นพึมพำว่าไม่มีใครสนใจ เพราะลืมในสิ่งที่เห็นและได้พูดไว้ จำไม่ได้ว่าตัวเองได้ทำอะไรไปบ้าง ขึ้นอยู่กับอาการว่าท่านอยู่ในระยะใด หากแต่ท่านอยู่ในระยะรุนแรง ท่านอาจจะไม่สามารถจะจำชื่อของเราได้ จำไม่ได้ว่าเราเป็นใคร และรับประทานอาหารหรือยัง แต่ถ้าผู้สูงอายุที่มีโรคสมองเสื่อมในระยะปานกลาง จะจำได้ว่ารับประทานข้าวแล้ว แต่ท่านจะจำไม่ได้ว่าทานอะไรเป็นอาหารมื้อเช้าค่ะ

สำหรับผู้ดูแลเอง ก็ควรหาปฏิทินขนาดใหญ่ติดไว้ในที่ผู้สูงอายุมองเห็นชัด แล้วให้ผู้สูงอายุกากบาททับตัวเลขวันที่ของแต่ละวันที่ผ่านไป หรือถ้าท่านลืมเราต้องคอยบอกท่านให้ท่านกากบาทด้วยตัวของท่านเอง เพื่อที่จะได้จดจำว่า วันนี้เป็นวันที่เท่าไร เดือนอะไร และปีอะไร และแนะนำให้ท่านจดบันทึกในแต่ละวันว่าวันนี้ได้ทำอะไรไปบ้างตั้งแต่เช้า เพื่อช่วยให้ท่านฝึกสมองไปในตัวอีกด้วย

การหลงทาง

การหลงทาง สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นในระยะปานกลางได้อย่างเช่น จำทางไปห้องน้ำไม่ได้ หรือเดินออกจากบ้านไปแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูก สำหรับเราที่ดูแลท่านผู้สูงอายุควรทำเครื่องหมายภายในบ้าน หรือทำสัญลักษณ์บอกทิศทางเกี่ยวกับห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ หรือสนามหญ้า เป็นต้น

สำหรับภายในบ้านนั้นเราควรมีป้ายติดไว้ที่หน้าห้องส้วม ห้องนอน แล้วทำลูกศรใหญ่ให้ท่านเห็น หรือทำสัญลักษณ์ที่บันได และมีราวจับให้แน่นหนาทั้งสองข้าง มีแสงสว่างให้เพียงพอ รวมไปถึงไฟในห้องน้ำ ส่วนพื้นในห้องน้ำต้องแห้ง และต้องมีราวสำหรับเกาะเพื่อป้องกันท่านลื่นล้ม

ส่วนในกรณีที่ผู้สูงอายุออกไปเที่ยวนอกบ้าน ควรมีบัตรประจำตัวประชาชนติดไว้ในกระเป๋าเสื้อ หรือเขียนในกระดาษว่า ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ เพื่อให้ผู้ที่พบเจอสามารถติดต่อกับคนที่บ้านให้มารับ กรณีที่ท่านกลับบ้านไม่ได้

การสื่อสาร

การสื่อสารเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะสูญเสียทักษะในการสื่อสาร เริ่มจากลืมชื่อสถานที่ ชื่อคน จนไปถึงไม่สามารถเข้าใจคำพูดของเราได้ หรือท่านจะพูดแต่เรื่องที่ตัวเองจำได้ ซ้ำกันไปมาอยู่อย่างนั้น ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจ เห็นใจท่าน อย่าดุท่าน เพราะถ้าท่านแสดงกิริยาที่ไม่ดีแล้วจะทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม ตอบสนองโดยอาการโศกเศร้าและร้องไห้

อันดับแรกเราต้องตรวจสอบก่อนว่าผู้สูงอายุที่เราดูแลท่านอยู่สามารถได้ยินหรือไม่ เพราระอาจมีปัญหาหูตึงก็ได้ เราควรพาท่านไปตรวจสอบการได้ยิน เพื่อให้แน่ใจว่าท่านไม่ได้หูตึง หลังจากนั้นท่านควรพูดให้ชัดเจนและใช้ภาษาง่ายๆ ให้เวลาท่านทำความเข้าใจกับสิ่งที่เราพูด หรือเราควรใช้ภาษากายแสดงท่าทางประกอบการสื่อสาร เช่น ยิ้มเพื่อให้กำลังใจ จับมือ

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<<

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.