สูงวัยต้องรู้ไว้ กับเรื่องราวของสรีรศาสตร์และสุขภาพทุกแง่มุม!

ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ งานวิจัยพบว่า กล้ามเนื้อลีนที่สุญเสียไปจะถูกแทนที่ด้วยไขมัน ที่น่าดีใจที่สุดคือ มาเรีย ฟิอาตาโรน อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยทัฟท์ส และคณะนักวิจัยพบว่าผู้สูงวัยอายุ 90 ปี ที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย เมื่อให้เล่นเวตสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นใคร อายุเท่าไร ก็ทำได้

ไขมันยิ่งน้อยยิ่งดี

ไขมันเป็นพิษต่อระบบการเผาผลาญ แถมยังสะสมพลังงานส่วนเกิน ลดฮอร์โมน และสารเคมีต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของร่างกาย เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ปริมาณไขมันจะสูงขึ้น ขณะที่กล้ามเนื้อลีบเล็กลง ปกติผู้ชายที่ชอบออกกำลังกายอายุ 20 ปี จะมีไขมันในร่างกายร้อยละ 12-16 แต่เมื่ออายุ 60 ปี จะมีร้อยละ 19-20 ส่วนผู้หญิงที่ชอบออกกำลังกายอายุ 20 ปี จะมีไขมันร้อยละ 23-28 และเมื่ออายุ 60 ปี จะมีร้อยละ 28-38

คุณหมอวอนด้ากล่าวว่า ยิ่งถ้าไขมันไปพอกพูนบริเวณรอบเอว ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อโรคร้ายได้มากกว่าไขมันที่อยู่ตามสะโพกหรือต้นขา

อันตรายอย่างไร คำตอบคือ ไขมันบริเวณรอบเอวส่งผลโดยตรงต่อระบบเผาผลาญ ถ้าวัดรอบเอวแล้วพบว่ามีขนาดเกินกว่า 35 นิ้วในผู้หญิง หรือ 40 นิ้วในผู้ชาย คุณจะเสี่ยงต่อภาวะความผิดปกติดังนี้คือ ไตรกลีเซอไรด์สูง น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และไขมันดีลดต่ำลง

นอกจากนี้ไขมันยังทำอันตรายต่อระบบฮอร์โมน ตามผลการศึกษาวิจัยของ โรเบิร์ต รอสส์ มหาวิทยาลัยควีนส์ ประเทศแคนาดา พบว่า ไขมันสะสมจะสร้างฮอร์โมนบางอย่างขึ้นมาและทำให้เกิดความผิดปกติบางอย่าง เช่น น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง รวมทั้งเกิดพลัคและการอักเสบในหลอดเลือดเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน 500 เท่า เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย 300 เท่า และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 200 เท่า

จากการศึกษาวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คริส อัลแลน สเลนทว์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยดุ๊ก ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ใน Journal of Applied Physiology ยืนยันว่า ชายหญิงวัย 40-65 ปีที่ออกกำลังกายหนักๆ ในฟิตเนสสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกันนาน 6 เดือน มีไขมันลดลงร้อยละ 7

สมองเชื่อมทุกระบบเข้าด้วยกัน

การที่ร่างกายและจิตใจสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้ หมายความว่าเส้นประสาทและกล้ามเนื้อทำงานด้วยกัน ฉะนั้นหากการเชื่อมโยงความสมดุล การได้ยิน การมองเห็นลดลง ก็เท่ากับร่างกายลดความสามารถในการใช้ปฏิกิริยาตอบโต้หรือตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว ซึ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับกล้ามเนื้อสมอง

และเพื่อดำรงประสิทธิภาพของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ คุณหมอวอนด้าแนะนำว่าเราจำเป็นต้องออกกำลังกายค่ะ

ข้อมูลจาก: นิตยสารชีวจิต ฉบับ 423

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

สูงวัยต้องรู้ไว้ อุบัติเหตุเกิดขึ้นง่าย แม้อยู่ในบ้านของคุณเอง!

เพราะอะไรผู้สูงวัยจึงต้องพาร่างกายไปตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ

การดูแลผู้สูงวัย ความเข้าใจและความร่วมมือคือสิ่งสำคัญ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.