เรื่องของ “สวัสดิการผู้สูงอายุประเทศไทย” กับสิทธิที่ควรต้องรู้

ต่อมามติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554 ให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) จ่ายเบี้ยยังชีพแบบขั้นบันไดให้กับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพคนละ 600 บาทต่อเดือน ผู้ที่มีอายุ 70-79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพคนละ700 บาทต่อเดือน ผู้ที่มีอายุ 80-89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพคนละ 800 บาทต่อเดือน และผู้ที่มีอายุ 90 ปี ขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพคนละ 1,000 บาทต่อเดือนโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุมาสักพักใหญ่แล้ว การเป็นสังคมผู้สูงอายุไม่ได้น่ากลัว แต่สิ่งที่น่ากลัวคือการบริหารจัดการสังคมผู้สูงอายุว่าเราจะทำอย่างไรให้สังคมผู้สูงอายุเป็นสังคมที่มีคุณภาพและมีความพร้อม ซึ่เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้สูงอายุที่จะอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพนั้นต้องความพร้อมตั้งแต่ช่วงวัยก่อนที่จะเป็นผู้สูงอายุ

ซึ่งกลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มแรงงานอิสระ ดังเช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ค้าขาย ที่ต้องเก็บออมเงินเอง เพราะมีหลักประกันความมั่นคงน้อยกว่ากลุ่มข้าราชการบำนาญ หรือผู้รับบำเหน็จตกทอด ต้องเริ่มวัฒนธรรมการออมตั้งแต่วันแรกของการทำงานจึงจะทำให้มีเงินอย่างเพียงพอสำหรับใช้ในวัยเกษียณและใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ต้องปรับมุมมองเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุว่าสังคมผู้สูงอายุไม่ใช่สังคมของผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียวแต่เด็กและผู้ใหญ่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมผู้สูงอายุที่ต้องร่วมเผชิญสถานการณ์ร่วมกัน

และความท้าทายในประเด็นนี้คือการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ต้องมี Generation Gap Management คนสูงวัยและคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน (เด็กยุคใหม่) จะอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างไร การประสานงานกับคนที่มีอยู่ 4 – 5 Generation ที่มีความคิดมักแตกต่างกัน และเด็กยุคใหม่ต้องเปลี่ยนแปลงทักษะด้านคนให้ทัน

ประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักมาจากอัตราการเกิดที่ลดน้อยลง และประชากรมีแนวโน้มอายุยืนมากขึ้นโดยปัจจุบัน ผู้สูงอายุ อายุระหว่าง 60 – 79 ปี ที่ยังสามารถทำงานได้สุทธิ มีจำนวน 8.3 ล้านคน แรงงานกลุ่มนี้ถือได้ว่ามีศักยภาพที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ปัญหาของไทยมีปัญหาในเชิงโครงสร้าง ผู้สูงอายุที่ทำงานส่วนใหญ่ยังขาดทางเลือก ทางเลือกที่ว่าคืออยากทำงานต่อในองค์กร โดยจากหลาย ๆ คนที่หลังเกษียณ ส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง ทำงานอิสระ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง อีกปัญหาคือ ชั่วโมงการทำงานไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ส่วนชั่วโมงการทำงานที่พึงปรารถนา สูงสุด 21 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

หากทำงานวันละ 7 – 8 ชั่วโมง เท่ากับทำงาน 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ ผู้สูงอายุไทยนั้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในชนบท มีความยากลำบากทางการเงิน ส่วนผู้สูงอายุที่ได้ทำงานมักทำงานที่ไม่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน มีชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไป ไม่มีสวัสดิการ

ในขณะที่ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและผู้สูงอายุติดเตียง ควรเพิ่มระบบการจัดการข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ ที่จัดเก็บข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วยแบบ Real-time การใช้เทคโนโลยี Smart Home, Home Sensors, Appliances และหุ่นยนต์ (Care robots) รวมถึงความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในระยะยาว ซึ่งในภาพกว้างนั้นต้องแก้ไขวัฏจักรของการเกิดแบบจน – ขาดโอกาส โตแบบจน – ขาดโอกาส และแก่แบบจน – ขาดโอกาสให้ได้ซึ่งต้องแก้ไขตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

อนึ่ง ประเทศไทยกำลังเคลื่อนไปสู่สังคมสูงอายุที่มีคุณภาพ ไม่ได้หมายความว่าสังคมผู้สูงอายุจะเป็นสังคมเฉพาะของผู้สูงอายุอย่างเดียวเท่านั้น แต่สังคมสูงอายุจะครอบคลุมถึงพวกเราทุกๆ คน แต่ละช่วงวัยต้องมีการเตรียมความพร้อม รับมือที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ข้อมูลจาก: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง ที่อาจก่อให้เกิด “ภาวะเปราะบาง” ในผู้สูงอายุ?

วางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณแบบไหน สู่การเป็นสูงวัยคุณภาพ!

ผู้สูงอายุป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ดูแลควรต้องมีความเข้าใจ!

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.