ผู้สูงอายุป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ดูแลควรต้องมีความเข้าใจ!

การออกกำลังกายเคลื่อนไหวข้อมืออย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันหรือลดการเกร็งได้ รวมทั้งการทำจิตใจให้สงบ ผ่อนคลาย ก็สามารถลดการเกร็งได้เช่นกัน แต่ถ้าเกร็งมากควรปรึกษาแพทย์ซึ่งอาจให้การรักษาโดยการรับประทานยาหรือฉีดยาร่วมด้วย

ถ้ามีอาการกลืนลำบากควรทำอย่างไรดี

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมากมีปัญหาเรื่องการกลืน บางรายอาจไม่สามารถกลืนน้ำและอาหารได้เลย บางรายมีอาการไม่มาก แต่อาจสังเกตได้ว่าผู้ป่วยจะสำลักบ่อย สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา

โรคหลอดเลือดสมองในระยะแรกควรมีการประเมินความสามารถในการกลืนก่อน เช่น ให้ลองรับประทานน้ำจากช้อนเล็กๆ ถ้าไม่สำลักจึงอาจให้ลองดื่มน้ำจากแก้ว

ในผู้ที่มีปัญหาการกลืนอย่างรุนแรงจนไม่สามารถกลืนได้อาจจำเป็นต้องใส่สายให้อาหารทางจมูก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักและปอดอักเสบติดเชื้อ ในผู้ป่วยที่ต้องใส่สายให้อาหารทางจมูกควรได้รับการประเมินความสามารถในการกลืนเป็นระยะๆ เนื่องจากบางรายจะสามารถกลืนได้เองหลังจากกลับมาพักฟื้นที่บ้าน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง

ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ญาติสามารถช่วยบริหารกล้ามเนื้อการกลืนได้ อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการกลืน ได้แก่ อาหารที่มีความเข้มข้น และเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ซุปข้นๆ โจ๊กบดละเอียด ไข่ตุ๋น ควรให้ครั้งละน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณ

ปัจจุบันมีการใช้สารผสมในน้ำเพื่อให้น้ำมีความเหนียวข้นมากขึ้น ช่วยให้ผู้ป่วยกลืนได้ง่ายขึ้นโดยไม่สำลักได้ง่าย ไม่ควรชวนผู้ป่วยพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร และควรให้เวลาในการรับประทานอาหาร ไม่ควรเร่งรีบจนเกินไป

อย่างไรก็ตาม หัวใจของความสำเร็จในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คือ การทำให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจเกี่ยวกับโรค รู้ปัญหาที่เกิดจากความพิการ เป้าหมายและแนวทางการฟื้นฟู การได้เข้าร่วมในกระบวนการฟื้นฟูตั้งแต่แรกจะทำให้รู้ทางเลือกในการดำเนินชีวิตในอนาคต สามารถจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมใกล้เคียงชีวิตจริง เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถอยู่ร่วมกันได้ในครอบครัวอย่างมีความสุข

ข้อมูลจาก: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.