เรื่องนี้ดี..ควรต้องแชร์!! กับ 8 เทคนิค สู่ชีวิตที่มีสุขของผู้สูงวัย

1.ผู้สูงอายุควรรู้จักโอนอ่อนผ่อนตามความเห็นของลูกหลาน: การมีควาคิดยึดติดแต่ในสิ่งที่ตัวเองเคยพบมา ไม่ส่งผลดีกับตัวของผู้สูงอายุเลย รังแต่จะนำมาซึ่งควาเครียด ความไม่สบายใจ ความกังวลใจต่างๆ นานาอีกด้วย ทางที่ดีผู้สูงอายุควรปล่อยวางและมีควาเชื่อจลูกหลาน รวมถึงมีความคิดที่ยืดหยุ่นว่าจะอยู่กับคนในครอบครัวอย่างไรและเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด ไม่พยายามไปขัดขวางความคิดใคร หรือเอาควาคิดของตัวเองเป็นใหญ่อย่างเดียว เพราะอย่าลืมว่ายุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว อะไรๆ ที่เคยใช่แบบควาคิดของเราก็เปลี่ยนไป ดังนั้น สิ่งที่ลูกหลานคิดอาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ได้ ลองคล้อยตามไปก็ไม่เห็นจะเสียหายอะไร มิหน้ซ้ำยังไม่ก่อให้เกิดความเครียดอีกด้วยค่ะ

2.ผู้สูงอายุทำใจตระหนักได้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมดา: ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น ความกังวลต่อลูกหลาน หน้าที่การงาน และเครือญาติ ซึ่งการที่เราเป็นทุกข์เนื่องจากว่าเราไม่ตระหนักถึงความจริงของชีวิต จึงทำให้จิตของเรายึดโยงในสิ่งที่ผิด ทางที่ดีหากเอาหลักธรรมะเข้ามาช่วย จะทำให้เกิดความตระหนักถึงความจริงว่า “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน และจะทำให้ความกังวลในเรื่องเหล่านี้หมดไป

3.ควรมองชีวิตตนเองในทางที่ดี ภูมิใจที่เป็นที่พึ่งพิงให้แก่ผู้อ่อนวัย:  คนสูงอายุนั้น เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงช่วงหนึ่ง มักจะมีควาคิดว่า ตัวเองเป็นภาระของคนอื่น แอยากให้คิดเสียใหม่ว่า ตลอดเวลาทั้งชีวิตที่ผ่านมา ตัวเองได้ทำดีไว้ให้ลูก หลาน ทำทุกอย่างไว้ให้คนรุ่นหลังได้อย่างครบถ้วนแล้ว  เมื่อคิดแบบนี้ได้จะทำให้จิตใจเกิดความสุขแน่นอน ที่สำคัญควรเดินหน้าไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณธรรม  มีเมตตาอารีต่อลูกหลานและบุคคลทั่วไป ใครๆ ก็อยากเข้าใกล้  เพราะมันทำให้เขาสงบและอบอุ่นใจนั่นเองค่ะ

4.เมื่อมีความกังวลต่างๆ ควรปรึกษาพูดคุยกับคนใกล้ชิด เพื่อได้ระบายอารมณ์ความรู้สึก: การพูดคุยกับบุคคลใกล้ชิด การได้ปรึกษา การได้ให้คำแนะนำต่างๆ ถือเป็นน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจของผู้สูงอายุที่ดีที่สุดเลยล่ะค่ะ ตรงนี้ในส่วนของผู้ดูแลควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเริ่มพูดคุยกับคนรอบข้าง ทําให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจขึ้น หาเวลาชวนสมาชิกครอบครัวไปกินข้าวด้วยกัน เพื่อให้เกิดความผูกพัน มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และรู้สึกสุขใจ

ยิ่งมีกสนพูดถึงเรื่องราวในอดีตที่มีความสุข เช่น (หากผู้ดูแลเป็นลูก) บอกว่าถ้าท่าน (ผู้ดูแล) ไม่ได้มาเป็นลูกของคุณพ่อคุณแม่ ท่านคงไม่มีโอกาสมาอยู่ตรงนี้ และคงไม่มีครอบครัวดีๆ อย่างนี้ เพื่อแสดงว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นคนสําคัญ สำหรับท่านคําพูดเหล่านี้เป็นเสมือนนํ้าหล่อเลี้ยงจิตใจให้คุณพ่อคุณแม่มีกําลังใจมากขึ้น

5.พยายามหากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ: พยายามกระตุ้นให้ผู้สูงอายุทําากิจกรรมต่างๆ เอง โดยเฉพาะกิจกรรมง่ายๆ เช่น การแต่งตัว โดยอาจชวนไปดูเสื้อผ้าในตู้แล้วช่วยกันเลือกว่าวันนี้อยากใส่ชุดไหน ช่วยให้ผู้สูงอายุแต่งตัว หวีผม แปรงฟัน กินข้าว ดื่มนํ้า เมื่อทําสิ่งง่ายๆ ได้ ผู้สูงอายุจะเริ่มรู้สึกว่าตนไม่ได้สร้างภาระให้กับผู้ดูแลเท่าไรนัก และเริ่มรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น

6.เข้าสังคมพบปะสังสรรค์กับผู้อื่นเพื่อพูดคุยปรับทุกข์ โดยปัจจุบันมีรถเข็นไฟฟ้าที่ช่วยให้ยืนและหยิบจับสิ่งของได้ จึงช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ต้องนั่งรถเข็น สามารถเข้าสังคมได้ดีขึ้น

7.ยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เช่น สวดมนต์ เข้าวัด: การวางตนในครอบครัวอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุโดยวิธีการใช้หลักคำสอนทางพุทธศาสนา หรือเอาหลักธะมะเข้าช่วย เป็นวิธีที่ได้ผลดีมากๆ ค่ะ โดยหลักธรรมมะนั้นๆ มุ่งเน้นการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัว เมื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงกับตนเองในชีวิตประจำวัน จนเกิดผลสำเร็จที่พึงปรารถนา ความสุขในครอบครัวย่อมจะเกิดขึ้นกับตัวผู้สูงอายุเอง และสมาชิกทุกคนในครอบครัวโดยถ้วนหน้ากัน

8.หมั่นทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ ไม่เครียด ไม่จู้จี้: การยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ ประพฤติปฏิบัติตัวให้ถูกกาลละเทศะและเหมาะสม กับอายุ จะทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นค่ะ อย่าเอาแต่เครียด ปล่อยวางจากทุกสิ่ง ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่ทำตนให้เป็นที่รำคาญแก่ลูกหลานหรือผู้อื่น ไม่จู้จี้ขี้บ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้อื่นและ ลูกหลานรู้สึกอบอุ่นและอยากเข้ามาใกล้ชิดทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ รู้จักสร้างอารมณ์ขัน เพียงเท่านี้ ชีวิตในบั้นปลายก็แฮปปี้ที่สุดแล้วค่ะ

อย่างไรก็ตาม สังคมไทยเราการได้ดูแลพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ผู้สูงวัยที่เรารัก เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ช่วงเวลาตลอดชีวิตที่ผ่านมา พวกท่านดูแลเรามามากแล้ว และจะเป็นอะไรไปเล่า หากเราจะหันมาดูแลทั้งร่างกาย และจิตใจของท่านเหล่านั้นให้ดี การทำให้ชีวิตที่เหลืออยู่ของท่านมีความสุข ให้ท่านเกิดความรู้สึกว่าตัวเองไม่สร้างความลำบากใจให้แก่ลูกหลาน เพียงเท่านี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุและลูกหลานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้แล้วค่ะ

ข้อมูลจาก: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

โรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย ไม่ใช่เรื่องเล็ก! ควรป้องกันตั้งแต่วันนี้

ภาวะเครียดในผู้สูงอายุ อีกปัจจัยนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ

การเปลี่ยนแปลงตามอายุที่ส่งผลต่อร่างกาย และอารมณ์

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.