เรื่องนี้ดี..ควรต้องแชร์!! กับ 8 เทคนิค สู่ชีวิตที่มีสุขของผู้สูงวัย

ด้วยอายุร่างกายที่ค่อยๆ เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ นอกจากนี้ด้วยบทบาทของตัวเองในหน้าที่การงาน สังคม ครอบครัวก็มีการปรับเปลี่ยนไป ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกับกิจวัตรประจำวันที่มี อาจทำให้ผู้สูงอายุมั่นใจในตัวเองลดลง ไม่พอใจ เกิดความวิตกกังวล ซึม เศร้า กลัว สิ้นหวัง

การเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ อาการ เช่น ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ นำมาซึ่งภาวะสมองเสื่อม รวมถึงกลุ่มอาการทางจิต เช่น โรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน โรคหลงผิด ภาวะจิตฟั้นเฟือน ภาวะสมองเสื่อม อาการหวาดระแวง อาการประสาทหลอน อาการความคิดและพฤติกรรมสับสน อาการเก็บตัว จากความผิดปกติทางสมองผลข้างเคียงจากการใช้ยาการใช้ยา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ย่อมไม่ส่งผลดีต่อตัวผู้สูงอายุเอง รวมถึงผู้ดูแลที่อาจจะต้องเครียดไปกับอารมณ์เหล่านี้ด้วย

แล้วจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น กับผู้สูงวัยที่เรารัก วันนี้ “ชีวจิตออนไลน์” ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากทุกคนแล้วค่ะ ไปดูพร้อมกันว่า มีวิธีการอย่างไรที่จะเป็นหนทางไปสู่การเป็นผู้สูงอายุ ที่มีความสุขได้!

ก่อนอื่นผู้ดูแลหรือลูกๆ หลานๆ ต้องหมั่นสังเกตอารมณ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของผู้สูงอายุในบ้านอย่างใกล้ชิด โดยอาจจะเริ่มต้นจากการเช็คอาการตามนี้ค่ะ

  1. อารมณ์เหงาและหว้าเหว่ : คนวัยนี้มีเวลาว่างจากอาชีพการงานที่เคยทำ นอกจากนี้ยังมีภาวะร่างกายเสื่อม เช่น สายตาไม่ดี หูไม่ดี กิจกรรมที่ทำจึงมีข้อจำกัด อารมณ์เหงาของผู้สูงอายุมักมีอารมณ์อื่นร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้หากผู้สูงอายุต้องนั่งรถเข็นก็อาจส่งผลได้ เพราะไม่ได้เดินทางไปไหน
  2. ย้อนคิดถึงความหลัง : ผู้สูงอายุมักคิดอะไรเงียบๆ บอกเล่าความหลังให้คนอื่นฟัง รวมทั้งกลับไปยังสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะการย้อนอดีตนั้นเป็นการทบทวนการกระทำที่ผ่านมาว่าได้ทำสิ่งๆ นั้นดีแล้วหรือยัง
  3. อารมณ์เศร้าจากการพลัดพราก : การสูญเสียคนที่รักมักจะมีอารมณ์ด้านลบเข้ามาประกอบด้วยเสมอ เช่น หว้าเหว่เลื่อนลอย หลงลืม และปล่อยให้ตัวเองอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นนานๆจนบางทีผู้สูงอายุอาจจะทรุดลงได้ ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่ประสบอุบัติเหตุจนต้องนั่งรถเข็น ก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกัน เพราะต้องประสบกับเหตุการณ์ร้ายๆ
  4. วิตกกังวล : ความรู้สึกที่ต้องพึ่งลูกหลาน ทำให้ผู้สูงวัยขาดความมั่นใจ ขาดความสารถ เช่นการนั่งรถเข็นและต้องคอยพึ่งให้ลูกหลานเข็นรถเข็นให้ หรือความกลัวต่างๆ นาๆ โดยเฉพาะกลัวการไม่ได้รับการเอาใจใส่ ทำให้ อ่อนแรง ไร้เรี่ยวแรง รวมถึงเบื่ออาหารด้วย
  5. โกรธ : ผู้สูงอายุจะมีความรู้สึกโกรธ เมื่อมีความขัดแย้งและลูกหลานไม่ยอมรับความคิดเห็น
  6. กลัวถูกทอดทิ้ง : เนื่องจากช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ทำสิ่งที่เคยทำอย่างคล่องแคล่วได้ลำบากขึ้น จึงมักกลัวการพึ่งลูกหลานมากเกินไป จนเกิดความรำคาญและทอดทิ้งตน แต่ถ้าให้ผู้สูงอายุได้ใช้รถเข็นที่สามารถเข็นรถเข็นได้ด้วยตัวเอง หรือรถเข็นไฟฟ้าที่เดินทางไปข้างนอกได้อย่างสะดวกสบาย ก็จะลดปัญหาข้อนี้ได้
  7. ขี้น้อยใจ : คิดว่าตัวเองไร้ค่าและลูกหลานไม่ใส่ใจ อาจแก้โดยพยายามพาผู้สูงอายุไปนอกสถานที่ และให้เขานั่งรถเข็นที่เข็นเองเดินเคียงข้างไปกับเรา
  8. หงุดหงิด : เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ใครทำอะไรก็ไม่ถูกใจ เลยมักจู้จี้ขี้บ่น

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้สูงอายุ…เพื่อการมีชีวิตที่มีสุข

เมื่อเช็คอาการแล้วว่าผู้สูงอายุเริ่มมีอาการหรือภาวะอารมณ์ดังกล่าว ก็มาถึงขั้นตอนและคำแนะนำที่ผู้สูงวัยหรือคนใกล้ตัวสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อการมีชีวิตที่มีควสุขในบั้นปลายต่อไป

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.