“ดนตรี” ช่วยกระตุ้นความทรงจำผู้สูงวัยได้!

  • ตอนหนุ่ม/สาวฟังเพลงอะไร, ฟังเพลงของใคร(ใครร้อง)
  • มีนักร้อง หรือ วงอะไรที่ชอบบ้างไหม
  • พอจะมีเทปหรือแผ่นเสียงอะไรที่เก็บไว้บ้างไหม สามารถหาได้ที่ไหน
  • ลองฮัมเพลงหรือจังหวะที่ชอบให้ฟังหน่อยได้ไหม
  • จำเพลงที่เต้นในงานแต่งได้ไหม หรือเพลงที่ใช้จีบกัน
  • เพลงที่ชอบใช้ร้องคาราโอเกะ
  • มีหนังหรือละครที่ชอบไหม
  • เคยไปดูดนตรี มหรสพ หรือคอนเสิร์ตอะไรบ้างรึเปล่า

ชะลอความเสื่อมของสมอง

ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิต ยังมีข้อแนะนำสูงวัยที่มีความเสี่ยงหรือเริ่มมีอาการภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มแรก เพื่อช่วยชะลอความรุนแรง ในการเกิดภาวะสมองเสื่อมให้เกิดช้าลง สามารถพึ่งพาตนเองและดำรงชีวิตในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้ ด้วยวิธีป้องกัน 5 ข้อ ดังนี้

  1. ด้านการรู้คิด เป็นการกระตุ้นให้ใช้ความคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยฝึกการรับรู้ เวลา สถานที่ บุคคล โดยใช้สถานการณ์หรือเหตุการณ์ประจำวันช่วยในการกระตุ้น เช่น การอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ และมีอุปกรณ์ช่วยบอกวันเวลา เช่น นาฬิกา ปฏิทิน เป็นต้น
  2. ด้านความจำ จะเป็นการช่วยเพิ่มความจำให้กลับมาได้ในระดับเดิมมากที่สุด เช่น ฝึกจำหน้าคน การบอกชื่อคน ฝึกความจำด้วยการใช้สุภาษิต คำพังเพย ฝึกนับตัวเลข การเล่นเกมส์ เป็นต้น
  3. ด้านทักษะ เพื่อรักษาระดับความรู้ความสามารถให้คงเดิมและเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่เพิ่มขึ้น โดยการเรียนรู้และฝึกทักษะด้วยวิธีการที่ง่ายๆ เช่น การวาดภาพ การปั้นดินน้ำมัน การเต้นรำ รำวง เป็นต้น
  4. ด้านอารมณ์จิตใจ เป็นการกระตุ้นความจำและอารมณ์ โดยใช้ประสบการณ์ชีวิตในอดีตและใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น รูปภาพ ดนตรี เสียงเพลง รวมทั้งการออกกำลังกาย จะช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นและช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
  5. ด้านพฤติกรรม เป็นการค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมหรือตัวกระตุ้นเพื่อลดปัญหาเหล่านั้น เช่น การให้แรงจูงใจ การให้รางวัล การชื่นชม เป็นต้น การรักษาแบบนี้จะทำให้พฤติกรรมที่หายไปกลับคืนมา และลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น ก้าวร้าว ตะโกนเสียงดัง เป็นต้น ทั้งนี้ หากพบผู้สูงอายุที่มีอาการแสดงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมมาก ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยหลายที่ชิ้นค้นพบจากการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์หลายร้อยคน พบว่ามีผู้ป่วยมากมายที่ได้ประโยชน์จากการฟังเพลงที่พวกเขาชอบ เพลงที่พาพวกเขาไปแตะชิ้นส่วนความทรงจำต่างๆ ซึ่งสามารถเชื่อมกับสมองส่วนของความรู้สึกและความทรงจำในระยะยาวได้ จึงสามารถระบุได้ว่าดนตรีมีประโยชน์ต่อสมองและความจำของผู้สูงวัยอย่างแท้จริงค่ะ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ที่นอนดี ชีวิตดี! เทคนิคเลือกที่นอนคุณภาพให้พ่อแม่!

นอนไม่หลับ ในผู้สูงวัย เกิดจากอะไร รับมืออย่างไรดี

อาสาสมัคร วัยเกษียณ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.