ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ได้ ชีวิตหลังเกษียณจะมีความสุขมาก

ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ได้ ชีวิตหลังเกษียณจะมีความสุขมาก

เนื่องจากสังคมของประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงที่ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น การเตรียมความพร้อมเพื่อชีวิตหลังวัยเกษียณจึงมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นความจริงที่ว่าการเตรียมความพร้อมนี้ยิ่งเริ่มได้เร็ว โอกาสในการทำได้สำเร็จก็จะยิ่งเร็วและเพิ่มมากสูงขึ้น

วันนี้ “ชีวจิต” ได้รวบรวมข้อมูลจากบทความที่น่าสนใจต่างๆ เกี่ยวกับ การวางแผนชีวิตหลังวัยเกษียณ เพื่อให้คุณผู้อ่านที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยที่ต้องเรียนรู้ หรือคนที่ต้องการวางแผนชีว้ตตัวเองในระยะยาวได้เอาไปลองคิดและทำตามกันดู ลองไปดูพร้อมกันค่ะว่ามีสิ่งไหนบ้างที่ถ้าทำได้ การันตีได้เลยว่าคุณจะมีความสุขมากกับชีวิตหลังวัยเกษียณแน่นอน

1. เก็บเงินให้เร็วที่สุด

“เก็บก่อน รวยก่อน” ยังคงใช้ได้ตลอดเวลา ถ้าเป็นไปได้ควรแบ่งเงิน 10% ของเงินเดือนไปฝากออม หรือไปลงทุนกันตั้งแต่เดือนแรกที่เป็นมนุษย์เงินเดือน และพอรายได้เพิ่มมากขึ้นก็เพิ่มเงินออมตามไปด้วย ถ้าทำอย่างนี้ได้ทุกเดือน บอกเลยว่าหลังเกษียณมีกินมีใช้ไม่ขาดมือแน่นอน เผลอๆ มีเหลือให้ลูกหลานอีกด้วย

2.กำจัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป 

สมมติว่าวันนี้เรามีอายุ 40 ปี มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่อิสระ โดยเฉพาะการใช้เงิน เพราะเป็นวัยที่มีกำลังจ่ายค่อนข้างสูง อยากทานอะไรก็ทาน อยากเที่ยวไหนก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก ดังนั้น หากเริ่มต้นวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณก็ควรเริ่มต้นลดการใช้จ่ายบางสิ่งบางอย่างที่ไม่จำเป็นด้วย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วความฟุ่มเฟือยจะติดตัวไป

และลองจินตนาการว่าถ้าเราอยู่ในวัย 60 กว่าๆ แล้วเด็กรุ่นลูกรุ่นหลานเดินมาเตือนให้เราเพลาๆ เรื่องการใช้เงิน เราจะทำตามได้หรือไม่ เราอาจจะเข้าข่าย “ไม้แก่ดัดยาก” ดังนั้น ควรตัดไฟแต่ต้นลม ด้วยการลด ละ เลิก การหมดเงินไปกับสิ่งฟุ่มเฟือย เช่น ช้อปปิ้งให้น้อยลง ท่องเที่ยวต่างประเทศหัวปีท้ายปี ก็ปรับเป็น 2 ปีไปครั้ง ใช้บัตรเครดิตให้มีวินัย หนี้สินให้ลดลงเรื่อยๆ (พยายามอย่าก่อหนี้ก้อนใหม่)

3.แปลงโบนัสเป็นเงินเก็บ 

ใครที่ได้รับโบนัสทุกๆ สิ้นปี อย่าพึ่งนำไปใช้จ่าย ไปฉลอง หักห้ามใจกันสักเล็กน้อยด้วยการแปลงเป็นเงินเก็บสัก 30% ของเงินโบนัส เช่น โบนัส 50,000 บาท ก็กันไปเก็บ 15,000 บาท ที่เหลือค่อยนำไปจ่ายหนี้ ให้คุณพ่อแม่ ซื้อของขวัญให้ตัวเองและคนที่เรารัก เลี้ยงฉลองกับเพื่อนๆ

เงินโบนัสคือ เงินที่บริษัท (นายจ้าง) จ่ายให้พนักงานเป็นพิเศษปีละครั้ง ถ้าแปลงให้เป็นเงินเก็บก็จะพิเศษเช่นเดียวกันและทำให้เงินเก็บเพิ่มพูนเร็วขึ้น ยกตัวอย่าง ปกติเก็บเงิน 2,000 บาทต่อเดือน (ปีละ 24,000 บาท) ถ้ากันเงินโบนัสมาออม 15,000 บาท เท่ากับได้เก็บเดือนละ 1,250 บาท (15,000 หาร 12) และเมื่อรวมกับเงินที่ออมทุกเดือน เหมือนกับว่าได้เก็บเดือนละ 3,250 บาท (2,000 + 1,250) สิ้นปีมีเงินเก็บ 49,000 บาท

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.