“การจัดสวนบำบัด” ช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ และซึมเศร้า!

“การจัดสวนบำบัด” ช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ และซึมเศร้า!

อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ โดยไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid) ชนิดไม่ละลายน้ำซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ

ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ชี้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์เกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งเรื่องพฤติกรรม อาหารการกิน ยา และอาหารเสริมจำพวกบำรุงทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันไม่มีวิธีการรักษา มีเพียงวิธีการชะลออาการ โดยการทำให้สมองใช้พลังงานออกมาน้อยที่สุด สำหรับความเชื่อที่ว่าการเพิ่มสารเคมีในสมองด้วยการทานกิงโกะ หรือทานยาโคลีนเอสเตอเรส ไม่ได้ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใด

ถึงอย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะไม่มีการรักษาให้หายได้ แต่มีการระบุออกมาว่าสามารถช่วยบรรเทา และฟื้นฟูให้อาการดีขึ้น และไม่หนักลงไปกว่าเดิมได้ ด้วยการใช้กิจกรรมต่างๆ เข้าช่วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยที่ประสบปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมท่องเที่ยว, กิจกรรมให้ความรู้ อย่างเช่น การจัดสวนบำบัด ที่ช่วยลดอาการอัลไซเมอร์ และโรคซึมเศร้าให้ดีขึ้นได้ ซึ่งเราจะมาพูดให้ฟังกันในวันนี้ค่ะ

เมื่อพูดถึงเรื่องของการจัดสวนบำบัดฯ แล้ว จะต้องนึกถึงหนังสือที่ได้รับความนิยมอยู่เล่มหนึ่งค่ะ ที่ชื่อว่า หนังสือ “สวนบำบัด : Garden Therapy” เขียนโดย ผศ.ดร. ธนาศรี สัมพันธารักษ์ หัวหน้าภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อสุขภาวะ ให้กับหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยรายละเอียดคร่าวๆ ในเล่มระบุไว้ว่า สวนบำบัดเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า สร้างความสดชื่นผ่อนคลายทั้งกับคนทั่วไป และผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ อาทิ ผู้อยู่ในภาวะเครียด ซึมเศร้า เบิร์นเอ้าต์ ผู้สูงอายุ เด็กทั่วไป เด็กสมาธิสั้นและออทิสติก ทั้งยังมีแบบแปลนตัวอย่างสวนบำบัด ให้ผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้สวนของเราเป็นพื้นที่สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพ

ภาพจาก:บ้านและสวน

แต่ใช่ว่าสวนทุกสวนใช่ว่าจะใช้เพื่อการบำบัดได้ดังนั้นทุกคนที่อยากศึกษาเรื่องนี้ควรต้องศึกษาเรื่องของสวนบำบัดในแง่มุมต่าง ๆ เข้าใจหลักพื้นฐานที่ควรมีในสวนบำบัดก่อนออกแบบ

เพราะสวนบำบัดต่างจากสวนทั่วไป คือ นอกจากจัดเพื่อชื่นชมความงามแล้ว ยังใช้บำบัดอาการต่างๆได้ อาทิ เครียด ซึมเศร้า เบิร์นเอ้าต์ สมาธิสั้น ออทิสติก ฯลฯ เพียงแต่ต้องเข้าใจความต้องการพิเศษเหล่านี้แล้วถ่ายทอดออกมาในรูปการออกแบบสวนที่พอเหมาะพอดีสำหรับผู้ต้องการบำบัด การใช้สวนชุมชนเป็นพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูและเยียวยาในชีวิตประจำวัน

การจัดสวน คือกิจกรรมที่เป็นศาสตร์ศิลป์และงานฝีมือที่เกี่ยวกับการปลูกและดูแลพืชรวมถึงสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างบรรยากาศที่สวยงาม โดยทั่วไปแล้วจะเป็นกิจกรรมในบริเวณที่อยู่อาศัย ในบริเวณที่เรียกว่าสวน

การจัดสวนอาจทำนอกบริเวณที่อยู่อาศัยก็ได้เช่น สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ บริเวณสถานที่ท่องเที่ยว บริเวณโรงแรม/ห้างร้าน/บริษัท/หน่วยงานต่างๆ โดยทั่วไปจะทำกลางแจ้งและทำบนดินแต่ก็อาจทำในร่มได้เช่น การจัดสวนในเรือนกระจก หรืออาจทำในน้ำได้การปลูกเลี้ยงสระบัว หรือแม้แต่การทำสวนพืชรากอากาศ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น สวนดอกไม้ สวนหิน สวนที่มีลักษณะที่สมดุลเช่นการจัดสวนแบบยุโรป หรือ ลักษณะการผสมผสานความไม่สมดุลเช่นการจัดสวนแบบญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกเหนือจากการตกแต่งบ้านให้สวยงามแล้ว การจัดสวนก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้บ้านน่าอยู่น่าอาศัย เพราะการที่เรามีสวนที่สวยงามจะทำให้เรารุ้สึกว่าบ้านของเรานั้นหน้าอยู่ (ข้อมูลจาก: วิกิพีเดีย)

อย่างไรก็ตาม การจัดสวนถือเป็นกิจกรรมที่นอกจากช่วยทำให้บ้านน่าอยู่แล้ว ยังเป็นกิจกรรมเสริมสร้างจิตใจแก่ผู้สูงวัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งจริงๆ แล้ว การจัดสวนบำบัดมีประโยชน์มากกว่าที่หลายคนคิดมากมายเหลือเกิน…เอาเป็นว่าหากใครที่ต้องการทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ “การจัดสวนบำบัด” เพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ งาน “กินดี อยู่ดี by ชีวจิต” วันที่ 7-10 พฤศจิกายนนี้

ภายในงานดังกล่าว ได้มีการจัดเวิร์คช้อป เกี่ยวกับ เทคนิคการจัดสวนบำบัด ฟื้นฟูสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ ห่างไกลซึมเศร้า โดย ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ ดร.ธนาศรี สัมพันธารักษ์

ในวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2562 เวลา 15.00-15.45 น. ณ ฮอลล์ 5 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

Q&A ทำไมต้องตรวจความเข้มข้นของเลือด

กัญชา ฟีเว่อร์ ใช้อย่างไร ปลอดภัย ไม่เสพติด

สูงวัยสุขภาพดีได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ชีวิตตามหลัก 6 อ.

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.