ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์

ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์ : พระมหากรุณาธิคุณ

ราชประชานุเคราะห์ ความเกื้อกูลของพระราชาและประชาชน

เมื่อเกิดภัยพิบัติที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงไม่เคยนิ่งดูดายในความทุกข์ยากนั้น แต่กลับมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเสด็จฯไปยังพื้นที่ประสบภัยเพื่อดูแลราษฎรด้วยพระองค์เอง ทรงจัดตั้งคณะทํางานลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและทรงจัดตั้งศูนย์รับบริจาคเพื่อหาทุนสมทบ

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มีความหมายว่า พระราชาและประชาชนให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันนี้ จึงเป็นตัวกลาง ที่จะหนุนนําความเกื้อกูลจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และประชาชนร่วมชาติส่งมอบให้แก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนและความทุกข์ยากในทุกพื้นที่

ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์

โครงการกล้า…ดี : ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต ผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยื

คงไม่มีใครลืมอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ ปี พ.ศ.2554 อย่างแน่นอน ซึ่งทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นว่าผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนั้นไม่ได้จบลงเมื่อมวลน้ำผ่านไป เพราะผู้ประสบภัยโดยเฉพาะเกษตรกรที่ตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว กว่าจะปรับปรุงพื้นที่ปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีกครั้งต้องใช้เวลาถึงครึ่งปีหลังเหตุการณ์

โครงการกล้า…ดี ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยืน จึงเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถกลับมายืนได้ด้วยตัวเองโดยเร็วที่สุด

คุณสุดารัตน์ โรจน์พงศ์เกษม ผู้จัดการโครงการศูนย์เรียนรู้และเผยแพร่การพัฒนาทางเลือกในการดํารงชีวิตที่ยั่งยืนมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่าถึงการดําเนินงานของโครงการนี้ว่า

“โครงการกล้า…ดีฯ น้อมนําแนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในการ ‘ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเอง’ จึงเกิดการสนับสนุนต้นกล้าพืชผักสวนครัวที่ให้ผลผลิตพร้อมบริโภค รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตรและปศุสัตว์ โดยการต่อยอดสิ่งที่ขาดให้ชุมชนเข้มแข็ง จากการลงพื้นที่เพื่อติดตามผลของโครงการพบว่าสามารถลดรายจ่ายของชาวบ้านได้เฉลี่ย 340 บาทต่อครัวเรือนและสามารถสร้างรายได้เฉลี่ย 2,000 บาทต่อครัวเรือน”

โรงงานหลวงที่ ๑ จากมหันตภัยสู่ “ป่าในใจคน”

โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) คือโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของชาวเขาและประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งมาจากงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนบนดอยให้เลิกปลูกฝิ่นแล้วหันมาปลูกพืชอื่นที่สร้างรายได้ทดแทน ซึ่งเป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่สําคัญของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์

อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา

อีกโครงการจากมูลนิธิชัยพัฒนา ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนให้เป็นแหล่งฝึกอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว

ถึงงานที่น่าสนใจของมูลนิธินั่นก็คือ อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา

คุณลลิต ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยเลขาธิการสํานักงานมูลนิธิชัยพัฒนา สรุปการทํางานของมูลนิธิชัยพัฒนาว่า

“เราทําเพื่อมอบความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจให้แก่ประชาชน เพื่อให้ทุกคนสามารถหาเลี้ยงชีพและยืนหยัดได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง หลังจากนั้นมูลนิธิจะทําเพียงอํานวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ให้ครับ”

“วิถีชีวิตมนุษย์นั้น จะให้มีแต่ความปกติสุขอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีทุกข์ มีภัย มีอุปสรรค ผ่านเข้ามาด้วยเสมอ ยากจะหลีกเลี่ยงพ้น ข้อสำคัญอยู่ที่ทุก ๆ คนจะต้องเตรียมกาย เตรียมใจ และเตรียมการไว้ให้พร้อมทุกเวลา เพื่อเผชิญและแก้ไขความไม่ปกติเดือดร้อนทั้งนั้นด้วยความไม่ประมาท ด้วยเหตุผล ด้วยหลักวิชา และด้วยสามัคคีธรรม จึงจะผ่อนหนักให้เป็นเบา และกลับร้ายให้กลายเป็นดีได้…”

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2528 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2527

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.