ใบชา, ชา, น้ำชา, วิธีเลือกใบชา, ใบชาที่มีคุณภาพดี

9 ประโยชน์เอนกประสงค์จาก ใบชา เพื่อร่างกายสะอาด หัวจรดเท้า

9 ประโยชน์เอนกประสงค์จาก ใบชา

ใบชา มีประโยชน์มากมาย เนื่องจากมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง น้ำชาจึงเป็นเครื่องดื่มสุขภาพยอดฮิตที่ใครๆ ก็ดื่ม วันนี้เรามีเคล็ดลับน่ารู้การเลือกและใช้ประโยชน์จากชาให้คุ้มค่า ครบถ้วนสุดๆ มาดูกันค่ะ

ใบชา ที่ดีต้องเป็นแบบนี้

ใบชาที่มีคุณภาพดีตามมาตรฐานย่อมมีสารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าใบชาเกรดต่ำ คำว่า “ดี” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงชาที่มีราคาแพง แต่หมายถึงชาที่มีคุณลักษณะสมบูรณ์ในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการเก็บรักษา เพราะยิ่งใบชามีคุณภาพต่ำก็จะมีสารแทนนิน ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกสูง ในทางกลับกัน สารอันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพกลับลดน้อยลง

ด้วยเหตุนี้ หากเรารู้จักวิธีดูลักษณะใบชา ก็จะสามารถประเมินคุณภาพของใบชาที่ซื้อมาได้ อย่างถูกต้อง

  • ใบชาควรบรรจุอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทและทึบแสง ปกติร้านชาเก่าแก่จะนิยมห่อใบชาด้วยกระดาษฟาง แล้วบรรจุลงถุงกันอากาศอีกชั้นหนึ่ง ส่วนใบชาตามห้างสรรพสินค้ามักจะใส่ ในห่อทึบแสง แล้วบรรจุลงในกระป๋องโลหะ หรือแบบที่บรรจุในห่อสุญญากาศ ล้วนแต่เป็นวิธี การบรรจุชาที่ถูกต้อง เหมาะสมกับการเลือกซื้อ
  • ลักษณะใบชาที่ได้มาตรฐานสามารถสังเกตได้หลังจากถูกน้ำร้อนแล้ว ใบชาจะคืนชีพ สู่สภาพเดิม ใบชาดีจะมีสีสด ลักษณะสมบูรณ์ ไม่ขาดแหว่ง รูปร่างใบชาใกล้เคียงกันทุกใบ และไม่มีสิ่งแปลกปลอมเจือปน
  • ใบชาคุณภาพต้องมีกลิ่นที่หอมติดจมูกเพียงอย่างเดียว ไม่มีกลิ่นอื่นที่ไม่ใช่กลิ่นชาเจือปน
  • ชาที่ชงเสร็จแล้ว เมื่อเทลงในภาชนะจะต้องไม่มีสิ่งอื่นเจือปน นอกจากเศษกากชาที่ควรมีเพียงน้อยนิดเท่านั้น
  • ชาจีนแต่ละชนิดล้วนต้องใช้อุปกรณ์ในการชงที่เหมาะสม จึงจะสามารถขับเอากลิ่น รส และสารอันเป็นประโยชน์ออกมาได้อย่างเต็มที่ หากเป็นชาเขียวและชาขาวควรใช้กากระเบื้องเคลือบและน้ำที่อุณหภูมิ 60 – 80 องศาเซลเซียสในการชง จึงจะให้ผลดีที่สุด ในขณะที่ชาประเภทอูหลงและชาดำต้องใช้กาดินเผาและน้ำเดือดอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ส่วนชาสมุนไพรนั้นเหมาะกับกาแก้วกับน้ำที่อุณหภูมิ85 องศา

อ่านต่อหน้าที่ 2

ประโยชน์ลับ ๆ นอกจอกชา

รู้กันหรือไม่ว่า เรื่องราวของชามิได้จบลงเพียงแค่การ ชงดื่มในจอกเท่านั้น แต่สิ่งที่ได้และเหลือจากการชงชา ยังสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับสุขภาพได้ มากมายอย่างที่คุณคาดไม่ถึง

น้ำชา, ชา, ใบชา, ประโยชน์ของชา, ดื่มน้ำชา
น้ำชา นอกจากดื่มเพื่อสุขภาพแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างอื่นได้
  • ใบชาที่ตากจนแห้งแล้วสามารถนำไปทำเป็นไส้ หมอนหนุนได้ โดยหมอนที่ทำด้วยใบชาจะมีกลิ่นหอม ซึ่งมีสรรพคุณช่วยคลายความเครียด
  • น้ำชาสามารถนำไปอาบชำระร่างกายเพื่อกำจัดกลิ่นตัว และป้องกันการเกิดโรคผิวหนังได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การอาบน้ำชาจะทำให้สีของน้ำชาติดบนผิว ส่งผลให้สีผิวดูคล้ำขึ้น เรียกว่าเป็นการทำผิวสีแทนเทียม (Fake Tan) โดยไม่ต้องเสี่ยงกับโรคมะเร็งผิวหนังจากการอาบแดดด้วย
  • น้ำชาที่ถูกทิ้งไว้จนเย็นแล้ว หากนำมาสระผมจะช่วย ให้ผมเงางามและนุ่มสลวย
  • น้ำชาที่ชงอย่างสะอาดและถูกหลักอนามัยสามารถนำมาใช้ล้างตาแทนน้ำยาล้างตาทั่วไปได้ โดยจะมีสรรพคุณ ช่วยลดความตึงเครียดของตา
  • หากนำน้ำชามาล้างแผลสด จะช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและบรรเทาอาการปวดได้ ไม่เพียงเท่านั้น น้ำชายังสามารถช่วยลดอาการอักเสบได้อีกด้วย
  • น้ำชาสามารถล้างกลิ่นและคราบน้ำมันที่เกิดจากการหยิบจับเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี
  • การล้างเท้าด้วยน้ำชาช่วยขจัดปัญหากลิ่นเท้าได้
  • การนำน้ำชาไปล้างอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ซึ่งยังมีกลิ่นติด อยู่ ช่วยขจัดกลิ่นสีได้
  • การนำใบชาไปแช่ไว้ในตู้เย็นจะช่วยดูดกลิ่นไม่พึง ประสงค์ในตู้เย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เห็นไหมว่า “ชา” มีประโยชน์เกินตัว เรียกได้ว่ามีติดบ้านไว้ ดื่มก็ได้ แถมใช้งานได้สารพัด แลวจะรออะไร หันมาดื่มชากันเถอะค่ะ

ชีวจิต Tips เรื่องเล่าจาก ชาเขียว ช่วยเสริมพลังสมอง

ชาที่เราดื่มกัน ไม่ว่าจะเป็นชาขาว ชาเขียว ชาอุ่หลง หรือชาดำต่างก็มาจากต้นชาชนิดเดียวกัน มีสาระสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคือสาร พอลีฟีนอล (Polyphenol) เช่นเดียวกัน เพียงแต่สารนี้จะปริมาณแตกต่างกันตามกรรมวิธีการผลิตชาชนิดต่างๆ

สารพอลิฟีนอลชนิดที่สำคัญคือ กลุ่มสารคาเทชิน (catechins) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง สารในกลุ่มนี้มี 4 ชนิด แต่สารคาเทชินที่มีฤทธิ์มากที่สุดและปริมาณมากที่สุดในชาเขียวคือ สารอีจีซีจี (epigallocatechin-3-gallatae,EGCG)ซึ่งจัดว่าเป็นสารพอลิฟีนอลที่ได้รับการศึกษามากที่สุด

อาจารย์ศัลยา  คงสมบูรณ์เวชบอกไว้ว่า ในบรรดาชา 4 ชนิด ชาขาวเป็นชาที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตน้อยที่สุด รองลงมาคือ ชาเขียว จากชาขาวซึ่งเป็นส่วนของหน่ออ่อนที่เริ่มแทงยอดออกมาหรือใบชาใบแรกที่เริ่มผลิตออก ส่วนของชาแหล่งนี้หลังจากเก็บจะต้องนำไปนึ่งทันทีเพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในชาแล้วจึงนำไปทำให้แห้ง ชาชาวจึงมีสารคาเทชินสูงกว่าชาอื่น

ส่วนชาเขียวจะเก็บเมื่ออายุมากกว่าชาขาว หลังจากเก็บจะนำไปทำหเหี่ยวโดยการผ่านลม แล้วจึงผ่านความร้อนอีกครั้งเพื่อยับยั้งการำทงานของเอนไซม์ในชา ชาเขียวจึงอาจมีสารคาเทชินน้อยกว่าชาขาวเล็กน้อย อย่างไรก็ดี ชาเขียว1 ถ้วยมีสารพอลิฟีนอลสูงถึง 50-150 มิลลิกรัม

มีข้อมูลการวิจัยว่า การดื่มชาเขียวสม่ำเสมอให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งหลายชนิด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ป้องกันโรคตับ เพิ่มภูมิต้านทาน และยังให้ประโยชน์ต่อสุขภาพกระดูกและฟัน รวมถึงการทำงานของสมอง

ปัจจุบันมีการวิจัยชาเขียวมากขึ้นโดยเฉพาะชาเขียวสกัดด้านการป้องกันความจำเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือโรคพาร์กินสิน แต่กลไกทำงานยังไม่สามารถอธิบายได้

แล้วเราจะเลือกชาเขียวแบบไหนดี ?

ควรซื้อชาเขียวชนิดใบชาแห้ง ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาแช่เป็นซอง เก็บชาไว้ในภาชนะปิดสนิทในที่มืด เย็น และแห้ง ใบชา 30 กรัม สามารถชงชาเขียวได้ 1,530 ถ้วย

การชงชาเขียวไม่ควรใส่น้ำเดือด ให้ใช้น้ำร้อนอุณหภูมิ 71-76.5 องศาเซลเซียส ซึ่งต่างจากการชงชาชนิดอื่นที่จะต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่า


บทความน่าสนใจอื่นๆ

สลัดใบชาหมักแบบพม่า ย่อยง่าย ได้สุขภาพ

เพิ่มโกรทฮอร์โมน ฮอร์โมนชะลอวัย อยากแข็งแรง สดใส ต้องลอง!

แก้กรดไหลย้อน ด้วยอาหารอร่อย ลดการใช้ยา

เดินเร็ว ช่วยป้องกันกระดูกเสื่อมได้จริง

แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.