โสด, โสดสุขภาพดี

โสด-แซ่บ-แข็งแรง ห่างไกล 5 โรค

โสด แซ่บ ไม่ป่วย ทำได้!

โสด แล้วมีชีวิตอิสระเสรี สนุกเพลิดเพลินกับอาหารการกิน สำหรับหลายคนนั่นคือความสุขที่สุด แต่ก็มีหลายคนเลือกเดินบนเส้นทางสายเดี่ยวเส้นนี้แล้วลืมดูแลตัวเอง บ้างเททำงานหนักมากไป บ้างไม่ระมัดเรื่องกิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย รู้ตัวอีกทีก็เจ็บป่วยด้วย 5 โรคที่สาวโสดเสี่ยงกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคเครียด โรคซึมเศร้า

เรามาดูกันว่า คุณสาวๆควรจะดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อป้องกันโรคฮิตที่พบบ่อยในสาวโสด

1. อาการเครียด

ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคน รวมทั้งสาวโสด สมาคมจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา( American Psychology Association ) ได้ รายงานไว้ว่า ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วมีความเครียดมากกว่าสาวโสด แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพบว่า สาวโสดมีความเครียดเช่นกัน โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น จากงาน เพราะเจ้านายเห็นว่า ไม่มีภาระเหมือนคนอื่น จึงมอบงานซึ่งต้องมีความรับผิดชอบสูงกว่า จากครอบครัว เช่น ต้องดูแลพ่อแม่เพียงลำพัง จากปัญหาการเงิน หรือจากความรู้สึกตัวเอง เช่น ความคาดหวังในการมีคู่ครอง ความกลัวว่าจะไม่มีใครอยู่เป็นเพื่อนหรือเลี้ยงดูยามแก่เฒ่า

       Prevention ความเครียดเหล่านี้บางสาเหตุแก้ได้ด้วยการเปลี่ยนมุมมองการคิด เช่น มองข้อดีของการเป็นคนโสดจะพบว่า มีหลายข้อมาก อย่าปักอกปักใจเชื่อว่า ความสุขจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคู่เท่านั้น นอกจากนี้ ดร.ครองขวัญ ไชยธรรมสถิต แนะนำไว้ในหนังสือ วิธีกำราบปราบความเครียดว่า ให้ทำสมาธิ ออกกำลังกาย ฝึกโยคะ เต้นรำ นวด เขียนบันทึก วาดภาพ เดินเล่น หรือนอนหลับเสียเลยเพื่อคลายความเครียด

2. โรคซึมเศร้า
สาวโสดมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากความเหงาว้าเหว่เพราะไร้คู่ ความเครียดและกดดันจากการงาน การเงิน และสังคม รวมถึง ความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมอง พันธุกรรม

ถ้า สังเกตตัวเองแล้วพบว่า มีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว ขาดความมั่นใจ ไม่สนใจเรื่องรอบตัว ขาดสมาธิ อ่อนเพลียตลอดเวลา ทำอะไรชักช้า กินจุหรือกินน้อยลง นอนไม่อิ่มหรือนอนน้อยลง โทษตัวเองบ่อย

หาก พบว่า คุณมีอาการ 5 ข้อขึ้นไปนาน 2 สัปดาห์ อาจเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า และถ้าถึงขั้นรู้สึกอยากฆ่าตัวตายก็แสดงว่า มีอาการซึมเศร้าระดับรุนแรงต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

Prevention
เรา สามารถป้องกันโรคซึมเศร้าด้วยการออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่รู้สึกดีมีความสุข เมื่อรู้ตัวว่า เริ่มคิดด้านลบให้เปลี่ยนวิธีคิดและทำอย่างอื่นเสีย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่น และจำไว้ว่า ถ้ารู้สึกเศร้าเมื่อใดให้รีบสนใจเรื่องดีๆ หรือหาเรื่องสนุกทำทันที

นาย แพทย์มาโนช หล่อตระกูล แนะนำไว้ในหนังสือโรคซึมเศร้า ว่า ให้รู้จักหาสาเหตุของปัญหาและแก้ปัญหานั้น พักผ่อน ท่องเที่ยว คุยกับตัวเอง และมองโลกในแง่บวก

3. อาการปวดหัวไมเกรน

ไม เกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่ทุกข์ทรมานมาก ยังไม่มีใครทราบสาเหตุก่อโรคแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่า เกิดจากสารเซโรโทนิน(Serotonin)และสารเคมีชนิดอื่นๆในสมองผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ ได้แก่ ความเครียด แสงสว่างจ้า แสงไฟกะพริบ การเพ่งมองอะไรนานๆ อยู่ในที่มีเสียงดัง อยู่ในบริเวณที่มีความร้อนหรือเย็นเกินไป อดนอน อดอาหาร ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แพ้อาหารบางชนิด เช่น ถั่ว กล้วย ช็อกโกแลต นมเนย และช่วงใกล้มีประจำเดือน

Prevention
รอง ศาสตราจารย์เภสัชกรหญิง ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ แนะนำไว้ในหนังสือแก้ปวดก่อนป่วยว่า ให้สังเกตตัวเองว่ามีอะไรเป็นสิ่งกระตุ้น ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แล้วพยายามหลีกเลี่ยงเสีย

สำหรับวิธีที่ป้องกันอาการปวดไมเกรนได้ดีคือ การออกกำลังกายแบบเบาๆ เป็นประจำวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน

4. ออฟฟิศซินโดรม

อาการ จากออฟฟิศซินโดรม ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่าและไหล่มักเกิดจากการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ขับรถท่ามกลางการจราจรติดขัดนานๆ เป็นประจำ การนั่งชันคอนานเกินไปทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ ตึงและเกร็ง

       Prevention เราสามารถป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่าและไหล่ ได้ โดยการปรับท่านั่งให้ถูกต้อง โดยปรับระดับเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสม เท้าวางราบกับพื้นนั่งพิงพนักเก้าอี้ และไม่แหงนคอ หมั่นบริหารกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ โดยการบิดและหมุนไปมาก

หนังสือผู้หญิงกับการดูแลสุขภาพ โดยแพทย์หญิงพิสุทธิพร ฉ่ำใจ แนะนำวิธีบริหารกล้ามเนื้อแบบง่ายๆ โดยเอียงศีรษะให้หูแตะไหล่ข้างหนึ่ง แล้วค่อยๆหมุนศีรษะเป็นวงกลมอย่างช้า ก็จะช่วยลดอาการตึงเกร็งและคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

5. น้ำหนักเกิน

น้ำหนัก เกิน หรือ ความอ้วนไม่เพียงแต่ทำให้ไม่สวยแล้ว ยังนำสารพัดโรคภัยมาเยือนอีกด้วย ก่อนที่สาวโสดผู้รักความงามจะสรุปว่า ตัวเองอ้วน ควรคำนวณดัชนีมวลกายก่อน

       Prevention ไม่อยากอ้วนต้อง ควบคุมเรื่องอาการการกินให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และควรออกกำลังกายเป็นประจำ แพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แนะนำไว้ในหนังสือ 188 เคล็ดลับชะลอวัยว่า ควรกินอาหารปริมาณน้อยไว้ดีกว่าปริมาณมาก เพราะการกินปริมาณมาก ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายต้องทำงานเพิ่มขึ้น และยังปลดปล่อยฟรีแรดิเคิลออกมา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายแน่นอน

และควรคำนวณดัชนีมวลกายเพื่อตรวจสอบว่า เราอ้วนเกินไปหรือยัง โดยใช้สูตร

ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม ÷ ความสูงเป็นเมตร²
เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม และสูง 150 เซนติเมตร (1.5 เมตร)
50 ÷ (1.5×1.5) = 22.22
ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9

เรื่องโดย: พรดี จันทรเวชชสมาน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.