ผมหงอกก่อนวัย หรือจะเป็นสัญญาณบอกโรค

account_circle
event

ปัญหาผมหงอกไม่ว่าใครก็ไม่ชอบทั้งนั้น แล้วยิ่งมีเร็ว หรือมีก่อนวัยที่สมควร ก็อาจทำให้หลายคนหงุดหงิดใจ แต่นอกจากนั้นแล้ว บางครั้งผมหงอกก่อนวัย ก็อาจบ่งบอกปัญหาสุขภาพได้เช่นกันนะคะ 

โดยปกติแล้วคนเอเชียอย่างเราๆ ที่มีผมเส้นเล็ก จะเริ่มมีผมหงอกเมื่ออายุประมาณ 40 ปี และมีเพิ่มขึ้น 10 – 20% ทุก 10 ปี หากว่าใครที่มีก่อนหน้านี้ก็อาจถือได้ว่ามีผมหงอกก่อนวัย แต่ถ้าใครผมเส้นใหญ่มากๆ หรือชาวตะวันตก ก็จะมีผมหงอกประมาณ 35 ปี ส่วนชาวแอฟริกัน – อเมริกัน จะพบผมหงอกเมื่ออายุได้ 45 ปี ค่ะ 

โดยผมหงอกเกิดขึ้นจากการที่เม็ดสีเมลานินในเซลล์รากผมลดลง ทำให้เกิดเส้นผมสีขาว ลักษณะหยาบ ไม่เป็นประกาย เมื่อถอนออกไปแล้วก็ขึ้นมาขาวเหมือนเดิม นอกเสียจากว่าเป็นการหงอกที่เกิดขึ้นเพราะความผิดปกติชั่วคราวในร่างกาย ในกรณีนี้ก็อาจกลับมาเป็นผมดำได้ค่ะ 

สำหรับเหตุผลที่ทำให้เกิดผมหงอกก่อนวัยอันควรก็มีหลายสาเหตุค่ะ หลักๆ ที่เรารู้กันก็คือ ความเครียด ตกใจหรือเสียใจอย่างรุนแรง การทำงานหนักเกินไป การสูบบุหรี่ และกรรมพันธุ์ แต่นอกจากนั้นการที่ผมหงอกก่อนวัย ก็อาจมีเหตุผลจากโรคภัยที่เราอาจเป็นได้โดยไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน 

สำหรับโรคภัยที่ก่อตัวขึ้นเงียบๆ แต่อาจทำให้สีผมเปลี่ยนได้ก็คือ 

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง 

โดยภูมิคุ้มกันทำงานไม่ปกติ ส่งผลให้ทำลายตัวเอง ซึ่งเป็นการทำลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อ ที่ส่งผลต่อเม็ดสี  ทำให้เกิดภาวะผมหงอกได้

โลหิตจาง 

เกิดขึ้นจากการที่รากผมขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง  จึงทำให้เม็ดสีของผมจางลง  เกิดเป็นผมหงอกในที่สุด

เบาหวาน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มักมีภาวะเลือดหนืดจากน้ำตาลในเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดีเลือดจึงไปหล่อเลี้ยงรากผมได้ไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดภาวะผมหงอกได้

สำหรับใครที่คิดว่าตัวเองไม่เครียด ไม่ได้สูบบุหรี่ และไม่มีประวัติคนในครอบครัวเคยมีอาการผมหงอกก่อนวัย อาจจะต้องสำรวจตัวเอง เพื่อหาต้นตอ รวมถึงสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วยนะคะ  

ชะลอผมหงอกก่อนวัย

ถึงแม้จะเป็นปัญหาใหญ่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพอมีวิธีชะลอเรื่องผมหงอกก่อนวัยได้อยู่นะคะ 

  1. งดสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์รากผมถูกทำลาย
  2. ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในกลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินมี 12 โอเมก้า 3 ธาตุเหล็ก ทองแดง และสังกะสี เช่น ปลา ผักใบเขียว และธัญพืชไม่ขัดสี  
  3. จัดการความเครียดของตนเอง

ที่มาข้อมูล โรงพยาบบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

keyboard_arrow_up