ดื่มน้ำมากไป

ดื่มน้ำมากไป ระวังสุขภาพพัง

น้ำ ดื่มน้อยไปก็ไม่ดี แต่ ดื่มน้ำมากไป ก็ทำสุขภาพพัง

“น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของทุกสิ่งมีชีวิต ดั่งที่รู้กันว่า ขาดอาหารได้ถึง 7 วัน แต่หากขาดน้ำเพียง 3 วัน ก็ทำให้เสียชีวิตได้แล้ว แต่รู้ไหมว่าการ ดื่มน้ำมากไป ก็ทำให้สุขภาพเสียได้เช่นเดียวกัน

ทุกวันนี้มีเทรนด์การดื่มน้ำ บางคนใช้แกตเจตตั้งเตือนการดื่มน้ำ บางคนใช้วิธีพกขวดน้ำขนาดใหญ่ ที่บ่งบอกว่ากี่โมงควรดื่มน้ำพร่องไปมากน้อยแค่ไหน บางก็ใช้วิธีกำหนดให้ใน 1 วัน ดื่มน้ำกี่ลิตร เพราะการดื่มน้ำอย่างเพียงพอมีประโยชน์มากเลยค่ะไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วยระบบหมุนเวียนเลือดให้เป็นปกติ ป้องกันเลือดหนืด เลือดข้น
  • ช่วยระบบขับถ่าย
  • ช่วยระบบเผาผลาญ
  • ช่วยย่อยอาหาร
  • ช่วยส่งเสริมการทำงานของไต
  • ดีต่อสมอง และระบบประสาท

แต่เชื่อไหมคะว่าการดื่มน้ำมากเกินไป ก็ทำให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน

ดื่มน้ำมากไป! อะไรพังบ้าง?

1. โซเดียมต่ำกว่าปกติ การดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้น้ำเข้าไปเจือจางเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะโซเดียม ซึ่งควรมีประมาณ 135-145 mEg/L. แต่หากดื่มน้ำจนทำให้โซเดียมลดต่ำกว่า 135 mEg/L. ก็จะทำให้เกิดอาการ

  • สับสน มึนงง
  • เป็นตะคริว
  • ง่วงนอน
  • ไม่ได้สติ

2.โพแทสเซียมต่ำกว่าปกติ อีกหนึ่งแร่ธาตุที่อาจเกิดการไม่สมดุลหากดื่มน้ำมากเกินไป โดยเมื่อโพแทสเซียมต่ำลงจะทำให้เกิด

  • ความดันโลหิตต่ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เสี่ยงอัมพาต

3.เซลล์บวม โซเดียม และโพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญ ที่ทำให้หน้าที่ในการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย ระหว่างเซลล์และเลือด แต่หากดื่มน้ำมากเกินไป ไม่เพียงเสียสมดุลของแร่ธาตุ แต่ยังทำให้น้ำเข้าไปในเซลล์ จนเซลล์บวมขึ้น จะทำให้มีอาการ

  • ปวดหัว
  • ชัก
  • ไม่ได้สติ
  • ริมฝีปาก มือ และเท้า มีอาการบวม
  • อาจเสียชีวิต

4.กล้ามเนื้อเป็นตะคริว  เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง และทำให้เป็นตะคริวได้

5.ไตทำงานหนัก เมื่อดื่มน้ำมากเกินไป อวัยวะที่จะทำงานหนักคือ ไต เพราะจะต้องกรองน้ำส่วนเกินออกจากเลือดมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และลุกลามไปยังโรคอื่นๆ เช่น หัวใจ และหลอดเลือด

หากไตไม่สามารถกรองน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้ จะทำให้เกิด

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย

6.หัวใจทำงานหนัก เมื่อน้ำส่วนเกินเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ปริมาตรเลือดเพิ่มสูงขึ้น หัวใจก็จะทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้เกิดอาการชักได้

ดื่มน้ำปริมาณเท่าไหร่ดี

เป็นคำถามที่หลายคนอาจยังสงสัยว่า ดื่มน้อยไปก็ไม่ดี ดื่มมากไปก็ไม่ดี แล้วแบบนี้ควรดื่มอย่างไร แอดก็มีสูตรในการคิดคำนวณปริมาณน้ำดื่มมาฝากกัน

สูตรคือ น้ำหนักตัว x 2.2 x 30 / 2 ก็จะทำกับปริมาณน้ำดื่มในหน่วยมิลลิลิตร

เช่น  น้ำหนักตัว 50 x 2.2 x 30 / 2  = 1,650 ml หรือเท่ากับ ควรดื่มน้ำในปริมาณ 1.65 ลิตร

สำหรับการดื่มน้ำที่ดีคือ ควรดื่ม 2 แก้วหลังตื่นนอน เพราะร่างกายไม่ได้รับน้ำเลยต่อเนื่องยาวนานทั้งคืน  แล้วหลังจากนั้นจึง ค่อยๆ จิบทีละนิด

ที่มา : โรงพยาบาลเปาโล, โรงพยาบาลเพชรเวช, สถาบันวิจับระบบสาธารณะสุข


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.