กาละแมร์, กาละแมร์-พัชรศรี, อาหารสุขภาพ, อาหารเพื่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, ดูแลสุขภาพ,สุขภาพ

ปรับนิสัยใหม่ คนไทย สุขภาพ ดี (1)

คนไทย (เสีย) นิสัยสุขภาพ ตอนที่ 1

คุณกาละแมร์ – พัชรศรี เบญจมาศ ชีวจิตแบรนด์แอมบาสเดอร์ มักเขียนบอกเล่าเรื่องราวดีๆ และมุมมองของเธอเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เช่นเดียวกับวันนี้ เธอห่วงใยคนไทยที่ส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจกันน้อยค่ะ …ไปฟังเธอกัน

ในขณะที่กระแสรักสุขภาพกำลังตื่นตัวไปทั่วโลก ในบ้านเราเอง ตลาดสุขภาพก็เริ่มคึกคัก มีคนเริ่มหันมาสนใจข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ตามอินเทอร์เน็ตมีการแชร์ประสบการณ์ลดน้ำหนัก ฟิตรูปร่างกันเพียบ ซึ่งหลายเรื่องราวก็เป็นแรงบันดาลใจที่ดี แต่ก็มีอีกหลายเรื่องราวที่มีการให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง พอมีคนอ่าน ก็เกิดความเข้าใจผิดๆ เอาไปทำผิดๆ และบอกต่ออย่างผิดๆ เมื่อไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ นานวันไม่เห็นผลก็เบื่อหน่าย ท้อใจ เลิกทำไปในที่สุด

ขาดความรู้ที่ถูกต้องน้ำปั่น,ผักผลไม้,ผัก,ผลไม้,กาละแมร์

จากที่ฉันสังเกต พบว่าคนไทยส่วนใหญ่จะชอบเสพข้อมูลที่มีการบอกต่อว่าดี “เขาบอกว่า” อย่างนั้นอย่างนี้  ก็จะแห่ทำตามกัน กินตามกัน แต่ไม่ได้หาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติม หรือปรึกษาหมอ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และเราต้องอย่าลืมว่าร่างกายของแต่ละคนมีความต้องการต่างกัน บางคนกินสิ่งนี้ได้ในปริมาณที่มาก แต่บางคนไม่สามารถทำได้ เราจะไปทำตามเขาก็เกิดผลเสียกับร่างกายเรา
ดังนั้น ต้องเริ่มจากการศึกษาร่างกายของตัวเองก่อนเลย ตรวจเช็กสุขภาพแล้วดูข้อจำกัดของตัวเองว่าสามารถกินอะไรได้ และไม่ควรกินอะไร ที่สำคัญคือต้องรู้ว่าเพราะอะไรด้วย ไม่ใช่รู้แค่เพียงว่า สิ่งไหนกินได้สิ่งไหนกินไม่ได้ ให้การดูแลสุขภาพมาจากพื้นฐานของความเข้าใจ เวลาไปหาหมอ ถามหมอให้ละเอียดเสียหน่อย ว่าตอนนี้ร่างกายเราเป็นอย่างไร ทำไมถึงกินสิ่งนี้ไม่ได้ ถ้ากินเข้าไปแล้วจะไปทำปฏิกิริยาอะไรกับร่างกายบ้าง
ฟังดูเหมือนยาก แต่หากเราให้ความสนใจกับรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ พอถึงเวลาต้องเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ซื้อวัตถุดิบปรุงอาหาร จะเกิดการคิดวิเคราะห์โดยอัตโนมัติ ว่าอะไรควรกิน กินได้แค่ไหน และอะไรไม่ควรกิน  พยายามฝึกนิสัยให้เป็นแบบคนที่ต้องการคำอธิบายอยู่เสมอ ว่าทำไมต้องกินแบบนี้ จะเกิดผลดีอย่างไร แล้วปรับเปลี่ยนเป็นอะไรได้บ้าง
ที่สำคัญ ควรศึกษาเรื่องโภชนาการเอาไว้ ไม่เสียหายค่ะ เช่น พอมีคนบอกกินผักแล้วดี ก็ไปหาข้อมูลเลย ว่าดีอย่างไร เพราะผักมีสารอาหารอะไร แต่ละชนิดแตกต่างกันไหม ชนิดนี้ได้อะไร ชนิดนั้นได้อะไร คือต่อยอดองค์ความรู้ไปเรื่อยๆ จะช่วยให้การกินผักครั้งต่อๆ ไป เกิดจากความเข้าใจในคุณประโยชน์ที่แท้จริงนั่นเองค่ะ

ต้องการผลักดันในระดับประเทศ

อย่างที่เคยพูดไว้ในฉบับก่อนๆ ค่ะ ว่าการส่งเสริมด้านสุขภาพจากภาครัฐยังเป็นสิ่งที่เข้าถึงและเข้าใจได้ยาก เช่น เวลามีการร่างนโยบายสุขภาพ มักใช้ภาษาที่ยากแก่การเข้าใจและปฏิบัติตาม ส่วนสื่อสุขภาพนั้นก็ยังไม่ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม และยังใช้สื่อแบบเดิมๆ ไม่ปรับตัวเข้ากับยุคสมัย มันก็เลยไม่โดนใจคนฟัง
สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่าง คือบุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพของประชาชน ทั้งในระดับกระทรวงและหน่วยงานที่เกียวข้อง ก็ยังนำมาเป็นแบบอย่างไม่ได้ บ้างยังมีปัญหาสุขภาพ อ้วนลงพุง และยังบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งในความคิดของแมร์ รู้สึกว่า คนที่ทำหน้าที่ตรงนี้ ก่อนจะออกมาบอกให้ประชาชนทำอะไร ควรเริ่มจากตนเองก่อน เป็นแบบอย่างที่ดี ต้องศรัทธาในสิ่งที่ตนเองทำ รู้ลึกรู้จริงในเรื่องสุขภาพ เวลาคิดนโยบาย วางแผนเพื่อปฏิบัติ มันจะได้ทำได้จริงและasparagus-1307604_960_720สำเร็จโดยง่าย
จึงอยากให้บุคลากรเหล่านี้หันมาดูแลสุขภาพ เมื่อร่างกายแข็งแรง เข้าใจวิถีการปฏิบัติ ก็จะเกิดพลังในการส่งต่อสิ่งดีๆ ที่ตนทำอยู่แก่ผู้อื่น แก่ประชาชนในประเทศ พอมีบุคลาการที่มีสุขภาพ ประชาชนก็แข็งแรง ประเทศชาติจะได้นำงบประมาณที่ปกตินำไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง โรคพฤติกรรมต่างๆ มาพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆที่จำเป็นแทน
ไม่ว่าจะไทยหรือต่างประเทศ ล้วนมีข้อดีข้อด้อยของวัฒนธรรม สภาพภูมิอากาศ และภูมิประเทศทั้งนั้น แถบนี้ปลูกข้าวได้ดี แถบโน้นมีผลไม้ตระกูลเบอรี่สมบูรณ์ ถ้าเราเรียนรู้ว่าเรามีอะไรดี เราทำอะไรได้ เราเด่นด้านไหน แล้วเราก็ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เรามีอยู่ เอามาพัฒนาปรับปรุงให้เราใช้ศักยภาพที่เรามีแบบสูงสุด มันก็จะเอื้อกับการดูแลสุขภาพของคนในประเทศได้
ในเมื่อเราเกิดมาในประเทศไทยไทย ก็ควรใช้ประโยชน์จากการที่มีความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร ในการสร้างสรรค์ ประยุกต์แต่ละมื้อให้มีคุณค่า มีรสชาติอร่อย และเหมาะสมกับร่างกายของตนเอง ด้วยวัตถุดิบที่มีให้เลือกมากมายนี้ รับรองว่าสุขภาพเลิศได้ไม่แพ้ใครแน่นอนค่ะ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.