กลัวแก่, สูงวัย, ชะลอวัย

วิจัยชี้! ยิ่งกลัวแก่ ยิ่งเร่งให้เป็นอัลไซเมอร์

ยิ่ง กลัวแก่ ยิ่งทำให้แก่

กลัวแก่ เป็นความกังวลที่สำคัญของคนยุคนี้ ยิ่งได้ยินว่าทุกประเทศทั่วโลกกำลังก้าวสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” คนยิ่งกลัวแก่ …ทราบหรือไม่ว่า ยิ่งกลัวยิ่งอันตรายต่อสุขภาพนะคะ

เนื่องจากมีงานวิจัยจาก สถาบันสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมายืนยันแล้วว่า พบปัจจัยที่เชื่อมโยงระหว่างความกังวลเรื่องอายุ กับการเป็นโรคอัลไซเมอร์

กลัวแก่

นักวิจัยสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีอายุมากขึ้น ของอาสาสมัครสุขภาพดี 158 ราย ที่เริ่มเข้าร่วมงานวิจัยตั้งแต่อายุประมาณ 40 ปี โดยการในอาสาสมัครชั่งน้ำหนักระหว่างประโยคต่างๆ เช่น “ผู้สูงอายุเป็นพวกสติไม่ดี” และ “ผู้สูงอายุมีปัญหาในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ” หลังจากนั้นประมาณ 20 ปี นักวิจัยจึบวิเคราะห์ผลสแกนสมองของอาสาสมัคร พบว่า ผู้ที่มีความคิดด้านลบต่อเรื่องนี้ สมองเสื่อมเร็วกว่า และยังมีปัจจัยที่บ่งชี้โรคอัลไซเมอร์ถึง 2 ชนิด คือ คราบอะมีลอยด์ และการพัวพันของใยสมอง

โดยงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์มีปัจจัยทางจิตวิทยาด้วย อย่างไรก็ตาม นายแพทย์ ดร. คลิฟฟอร์ด เซจิล นักประสาทวิทยา ศูนย์สุขภาพเซนต์จอห์น รัฐแคลิฟอร์เนีย แนะนำว่า ความรู้สึกกังวลในอายุที่มากขึ้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ทุกคนควรมองโลกในแง่ดีตามอายุที่เพิ่มขึ้นไปด้วย

…ดังนั้นอย่ากลัวแก่กันเลยค่ะ ปล่อยให้อายุเป็นไปตามธรรมชาติ แต่หันมาดูแลร่างกายและสุขภาพให้แข็งแรงกันดีกว่า จะทำไงดี เรามีมาบอก

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

กลัวแก่

ทำไงดี ไม่อยากแก่?

เพื่อไม่ให้ร่างกายต้องแบกรับปริมาณสารอนุมูลอิสระเกินขนาด จนเป็นสาเหตุแห่งความแก่ คุณควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นการเกิดอนุมูลอิสระดังนี้

  • กิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น ออกกำลังกายหักโหมจนเกิดอาการเหนื่อยหอบ อย่างการวิ่งมาราธอน ยกน้ำหนัก
  • กินอาหารที่ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานมาก เช่น ของทอด อาหารกลุ่มไขมันชนิดอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ที่ให้แคลอรีสูง หรือสิ่งที่มีอนุมูลอิสระสูง เช่น ของปิ้งย่าง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงมลภาวะและสารเคมี นอกจากมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่เราหายใจเข้าไปแล้ว สารเคมีที่ปลอมปนอยู่ในอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลง ผงชูรส สีสังเคราะห์ ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ส่วนแสงแดดที่เราต้องเจอทุกวัน ก็ส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระบริเวณผิวหนัง ซึ่งเป็นด่านแรกที่รับแสงนั่นเอง
  • เครียด สมองถือเป็นอวัยวะที่ผลิตอนุมูลอิสระสูง เนื่องจากทำงานหนัก และมีการเผาผลาญพลังงานมาก เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งสารเคมีบริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระเพิ่มมากยิ่งขึ้น
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนหลับช่วยให้อวัยวะส่วนใหญ่ได้หยุดพัก และช่วยให้อวัยวะที่ต้องทำงานตลอดเวลา เช่น หัวใจ ปอด และสมอง ใช้พลังงานน้อยลง ซึ่งเป็นการลดการเกิดอนุมูลอิสระได้ทางหนึ่ง ดังนั้น หากพักผ่อนน้อย ร่างกายจึงต้องผลิตพลังงาน และทำให้เกิดอนุมูลอิสระมากตามไปด้วย

 

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.