ประจำเดือน + ช็อกโกแลตซีสต์

ประจำเดือน + ช็อกโกแลตซีสต์

Question : คุณหมอชัญวลี หนูอายุ 20 ปีค่ะ สังเกตตัวเองว่า ขณะมีประจำเดือนจะมีลิ่มเลือดมาเป็นก้อน จากก้อนเล็กๆ ค่อยๆ เริ่มเป็นก้อนใหญ่ขึ้น ทั้งๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อน แต่ไม่มีอาการปวดท้องค่ะ อยากทราบว่า ก้อนลิ่มเลือดนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังเป็น ช็อกโกแลตซีสต์ ใช่หรือไม่คะ

ช็อกโกแลตซีสต์ คืออะไร

โรคนี้เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และเข้าไปอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ค่ะ

  • รังไข่ (หากอยู่ที่รังไข่จะทำให้เป็นถุงเลือดเก่า ๆ จึงเรียกว่าช็อกโกแลตซีสต์)
  • อุ้งเชิงกรานด้านหน้าและด้านหลัง (anterior and posterior cul-de-sac)
  • ปีกมดลูกด้านหลัง(Posterior broad ligament)
  • เอ็นหลังมดลูก(Uterosacral ligament)
  • ตัวมดลูก
  • ท่อนำไข่
  • ลำไส้ใหญ่และไส้ติ่ง

การที่เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญเติบโต ต้องอาศัยฮอร์โมนเพศหญิงเอสโทรเจน โรคนี้จึงไม่พบในคนฮอร์โมนเพศหญิงน้อย เช่น ใกล้หมดหรือหมดประจำเดือน (Pre & post menopause)

ช็อกโกแลตซีสต์
ประจำเดือนมาผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ ที่ควรรู้

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

ช็อกโกแลตซีสต์
ประจำเดือนมาผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ ที่ควรรู้

อุบัติการณ์โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

พบมากทีเดียว โดยในวัยเจริญพันธุ์เฉลี่ยพบประมาณร้อยละ 20 ซึ่งพบร้อยละ 30 ในคนที่มีอาการปวดประจำเดือน และพบร้อยละ 50 ในคนที่มีลูกยาก

สาเหตุโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่าเกิดจาก 3 ทฤษฎีดังนี้

  1. ประจำเดือนไหลย้อนกลับ ทฤษฎีนี้อธิบายว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิด เกิดจากประจำเดือนไหลย้อนกลับไปที่ท่อนำไข่ ออกไปอยู่ในอุ้งเชิงกราน รังไข่ ฯลฯ แต่เมื่อมีประจำเดือน กลับไม่สามารถขับออกมาได้ จึงเกิดพังผืดดึงรั้งอวัยวะต่าง ๆ และการอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดและมีลูกยาก
  2. เยื่อบุโพรงมดลูกเคลื่อนไปเจริญอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ ผ่านทางหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง ทฤษฎีนี้อธิบายโรคเยื่อบุโพรงมดลูกที่เกิดในอวัยวะที่ไกลจากมดลูก เช่น ปอดและผิวหนัง เป็นต้น
  3. เยื่อบุช่องท้องสามารถเปลี่ยนเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกได้ ทฤษฎีนี้เกิดจากการสังเกตเซลล์เยื่อบุช่องท้องในทารกที่เปลี่ยนเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกได้

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

ช็อกโกแลตซีสต์
ประจำเดือนมาผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ ที่ควรรู้

3 ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ได้แก่

  1. มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้(จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่ไม่มีพี่น้องเป็นถึง 7 เท่า)
  2. มดลูกผิดปกติมีการอุดกั้นประจำเดือนที่จะไหลออกมา
  3. ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายสัมผัสฮอร์โมนเพศหญิงเอสโทรเจนมากและนานกว่าปกติ เช่น ไม่มีลูก มีประจำเดือนเร็ว หมดประจำเดือนช้า รอบประจำเดือนสั้น มีประจำเดือนมานานมามากในแต่ละเดือน

นอกจากนั้นในต่างประเทศ เชื่อว่า คนที่เป็นโรคนี้ มักจะเป็น ผู้หญิงผิวขาว ผมสีแดง สูง ผอม มีกระที่ใบหน้า ผิวไวต่อแสงแดด มีไฝตามผิวหนัง คล่องแคล่วว่องไว อารมณ์เสียง่าย หากเป็นผู้บริหาร มักจะมีบุคลิกเฉียบขาด

3 ปัจจัยลดการเกิดโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ได้แก่

  1. มีลูกมาก
  2. ให้นมลูกนาน
  3. มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 14 ปี
  4. ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกิน ฉีด หรือฝัง

                อาการของช็อกโกแลตซีสต์ ไม่ใช่อาการเฉพาะเจาะจง อาจพบในโรคอื่นได้ เรียงลำดับกับการพบจากมากไปหาน้อย ดังนี้

  1. ปวดประจำเดือน พบร้อยละ 79 เป็นการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ คือ ตอนเริ่มมีประจำเดือนจะไม่ปวด แต่ปวดเมื่ออายุมากขึ้น บางคนมีอาการนี้หลังจากมีลูกแล้ว

อาการปวดมีลักษณะพิเศษคือปวดก่อนประจำเดือนมา 2 วัน และหลังจากประจำเดือนหายไปอีก 2 วัน การปวดเป็นแบบก้าวหน้า คือ ปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกเดือน เมื่อมีประจำเดือนบางคนปวดทวารหนักและปวดปัสสาวะบ่อยร่วมด้วย

  1. ปวดท้องน้อย พบร้อยละ 69 อาการปวดมีทั้งปวดแน่น ๆ ปวดตลอด หรือปวดจี๊ด ๆ เป็นบางครั้ง
  2. ปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ พบร้อยละ 45 เป็นอาการปวดลึก ๆ ในช่องท้อง ต่างจากปวดเพราะการอักเสบหรือปวดเพราะช่องคลอดแห้ง ซึ่งมักปวดในช่องคลอดหรือปวดตื้น ๆ
  3. ท้องผูก ท้องเสีย พบร้อยละ 36
  4. ปวดลำไส้ พบร้อยละ 29 มีอาการแน่นจุกท้อง เหมือนอาการจากโรคกรดไหลย้อน หรือ ลำไส้อักเสบ
  5. มีลูกยาก พบร้อยละ 26
  6. มีก้อนที่รังไข่ (ช็อกโกแลตซีสต์) พบร้อยละ 20
  7. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะลำบาก เจ็บแสบเวลาปัสสาวะพบร้อยละ 16

สำหรับอาการประจำเดือนผิดปกติ มามาก มานาน มีลิ่มเลือดปน พบในโรคช็อกโกแลตซีสต์น้อย แต่ก็พบได้ โดยเกี่ยวข้องกับการทำงานของรังไข่ไม่ปกติ แต่ส่วนใหญ่พบในโรคอื่น ๆ มากกว่า เช่น ฮอร์โมนไม่ปกติ เสริมฮอร์โมนจากยา หรือสมุนไพร โพรงมดลูกอักเสบ เนื้องอกมดลูก และมะเร็งภายใน

ซึ่งควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยด่วน

จากคอลัมน์ เปิดห้องหมอสูติ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 404 (1 สิงหาคม 2558)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.