เสาวรส

เสาวรส เปรี้ยวจี๊ด ประโยชน์ดี

เสาวรส ได้ทั้งเปรี้ยว ทั้งประโยชน์ดี 

เสาวรส หรือ กะทกรกฝรั่ง เป็นผลไม้ที่หลายคนชื่นชอบ ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวกลมกล่อม ที่สำคัญยังอุดมด้วยวิตามินซี แต่นอกจากนั้นแล้วเสาวรสก็ยังมีสรรพคุณอื่นๆ อีกเพียบเลยค่ะ 

แต่ก่อนอื่น เราไปดูเรื่องข้อมูลโภชนาการของเสาวรสกันดีกว่าค่ะ บอกเลยว่าคู่ควรกับการทานประจำมากๆ เลย โดยคิดต่อน้ำหนัก 100 กรัม

จะเห็นได้ว่าสายพันธุ์ที่ต่างกันของเสาวรส ให้คุณประโยยช์ที่แตกต่างกัน ด้วยสารอาหารที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียวค่ะ เพราะอย่างนั้น ซื้อรอบหน้าลองมองหาเสาวรสพันธุ์สีเหลืองนะคะ

มีงานวิจัยพบว่า การดื่มน้ำเสาวรสวันละ 1 แก้ว ปริมาณ 125 ml. ติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ พบว่าเสาวรสทั้ง 2 สายพันธุ์ช่วยเพิ่มการทำงานของเอมไซม์ต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ยับยั้งไซโตไคน์ ที่กระกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ

ไฟเบอร์สูง 

เนื้อเสาวรสอุดมด้วยเส้นใยอาหาร จึงช่วยล้างลำไส้ให้สะอาด ทำให้อิ่มท้องได้นาน ขับถ่ายสะดวก นอกจากนั้นแล้ว สถาบัน American Heart Association ยังกล่าวด้วยว่าไฟเบอร์ช่วยลดคอเลสเตอรอลและทำให้หัวใจแข็งแรง 

เสริมภูมิต้านทาน

อย่างที่บอกว่าเสาวรสวิตามินซีสูง จึงช่วยเสริมภูมิต้านทาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในยุคที่มีโรคระบาดแบบนี้ 

บำรุงหัวใจ

เสาวรสมีโพแทสเซียมสูง และโซเดียมต่ำ จึงช่วยดูแลบำรุงหัวใจ รวมทั้งอุดมด้วยเส้นใยอาหารจึงช่วยลดคอลเลสเตอรอลในเลือดไปในตัว ซึ่งคุณสมบัติเหล่างนี้เป็นการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และควบคุมความดันให้เป็นปกติ

ลดความเครียด

ในเสาวรสมีแมกนีเซียม ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่าช่วยลดความเครียด และความวิตกกังวลได้ นอกจากนั้นยังช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในร่างกายได้ด้วยนะคะ 

อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

เสาวรสอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีประโยชน์มากๆ นะคะ เพราะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายมากมาย โดยเฉพาะกับสมองและระบบประสาท รวมทั้งลดการเกิดอักเสบของเซลล์ เมื่อรวมเข้าด้วยกันแล้ว จึงทำให้เสาวรสช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์ รวมถึงโรคมะเร็งด้วย

มีประโยชน์มากขนาดนี้ แล้วยังรสชาติดีอีก ไปหาเสาวรสมากินกันดีกว่าค่ะ โดยจะกินเป็นแบบสดๆ หรือจะนำไปแปรรูปเป็นแยม เป็นน้ำเสาวรสหมักก็ได้นะคะ 

ข้อควรระวัง

แม้เสาวรสจะมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่เหมือนกันนะคะ นั่นก็คือ ไม่ควรดื่มน้ำเสาวรสร่วมกับยาต่างๆ เนื่องจากในเสาวรสมีฤทธิ์ยับยั้งเอมไซม์ CYP450 และ CYP3A4 ซึ่งเป็นเอมไซม์สำคัญในการสลายยาต่างๆ

ที่มา

  • Medical News Today
  • คลังความรู้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สำนักงานข้อมูลสมุนไพร

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เทคนิคแก้ปัญหาการเกิด ตะคริวตอนนอนหลับ พร้อมแนะนำผลไม้ที่กินแล้วช่วยให้หาย
“มังคุด” ราชินีผลไม้เพื่อสุขภาพ
ผักผลไม้คัดสรร สารอาหารสำคัญ สูงปรี๊ด

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.