ปลาร้า

ปลาร้า ของอร่อย สารอาหารสูง แต่กินเยอะเสี่ยงโรคไต

ปลาร้า กินอร่อยประโยชน์เยอะ แต่มากไปก็เสี่ยงไต!

ปลาร้า แค่ชื่อก็น้ำลายก็สอแล้วสำหรับบางคน เพราะว่าเป็นของอร่อยรสแซ่บ ที่หลายคนชอบกัน แต่ก็อย่างที่หลายคนรู้กันค่ะว่า โทษเยอะ แต่ถ้ากินให้ถูกวิธี ในปริมาณที่พอดี ก็มีประโยชน์มากเลยนะคะ มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

ข้อมูลโภชนาการ ต่อ ปลาร้าดิบ 100 กรัม

พลังงาน 148 กิโลแคลลอรี
โปรตีน 15.30 กรัม
ไขมัน 8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.90 กรัม
เหล็ก 3.40 กรัม
วิตามินบี  1 0.02 กรัม
วิตามินบี 2  0.16 กรัม
ไนอะซิน 0.80 กรัม

นับได้ว่ามีโปรตีนสูงมากๆ เลยล่ะค่ะ นอกจากนัั้นยังเป็นแหล่งของโพรไบโอติก หรือก็คือจุลินทรีย์ดี และจำเป็นต่อระบบย่อยอาหารของคนเรานั้นเอง แต่ถึงอย่างนั้นก็มีอันตรายเช่นกันหากกินในปริมาณ เพราะว่าโซเดียมสูงปรี๊ด

ปริมาณโซเดียม โดยปลาร้า 100 กรัม 

ปลาต่วงของโรงงานจะมีโซเดียม 5,057 มิลลิกรัม
จากตลาดจะมีโซเดียม 5,145 มิลลิกรัม
ปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ  มีโซเดียม 5,647 มิลลิกรัม
ปลาร้าสับแจ่วบอง มีโซเดียม 5,791 มิลลิกรัม

แต่ทว่าองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าใน 1 วัน ไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือประมาณเกลือ 1 ช้อนชา หรือไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร

ประโยชน์ของปลาร้า

กินให้ปลอดภัย

หลายคนจึงสงสัยว่า อ้าว แล้วแบบนี้ควรกินอย่างไรให้ปลอดภัย ก็ไม่ยากเลยค่ะ

  1. เลือกจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ หมักในเวลาที่เหมาะสม โดยปลาร้าต้องหมักนานกว่า 1 เดือน ส่วนปลาส้ม หมักนานกว่า 3 วัน
  2. เลือกซื้อปลาร้า ที่ต้มสุก สะอาด  หากซื้อแบบมีบรรจุภัณฑ์ ให้มองหา เลข อย. แต่ถ้าซื้อแบบถุงช่างตวง ก็ให้ดูว่าไม่มีสิ่งเจือปน สีและกลิ่นไม่ผิดจากที่เคยกิน รวมทั้งซื้อในแหล่งที่สะอาด เชื่อกินได้
  3. ปรุงให้สุกโดยปรุงด้วยความร้อน ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงใบไม้พยาธิในตับได้
  4. ไม่กินปลาร้าเกิน 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน

เพียงเท่านี้ก็กินปลาร้าได้อย่างอร่อย สบายใจ และได้รับประโยชน์เต็มๆ แล้วค่ะ

ข้อมูล กรมอนามัย

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กินบุฟเฟต์ อย่างฉลาด อิ่มนาน สารอาหารครบ แต่น้ำหนักไม่พุ่ง
เทคนิค เลือกปลาสลิด อย่างฉลาด ทำอาหารถูกปาก ปลอดภัย ได้ประโยชน์
แชร์สูตร “ปลาทูซาเตี๊ยะ” เมนูชีวจิต เพิ่มพลังสมอง เสริมความจำ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.