อาหารบำรุงหัวใจ ของดีใกล้ตัว มีอยู่ในตู้เย็น

อาหารบำรุงหัวใจ ล้วนเป็นพืชผักใกล้ตัว 

หัวใจ และหลอดเลือดเป็นอวัยวะสำคัญลำดับต้นๆ ของร่างกายเราเลยค่ะ แต่ก็เป็นอวัยวะต้นๆ เช่นเดียวกันที่มักมีโรคภัยมาก่อกวน แต่โรคเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็มาจากพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิต ดังนั้นเรามากิน อาหารบำรุงหัวใจ กันดีกว่าเพื่อดูแลหัวใจดวงน้อยๆ ให้แข็งแรงอยู่เสมอ

หอม ทั้งหอมหัวใหญ่ หอมเล็ก และต้นหอม

มีข้อดีในเรื่องการช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ เนื่องจากในหอมจะมี สารพลาโวนอยด์ที่ช่วยยับยั้งไม่ให้เกล็ดเลือดไปรวมตัวกันจนแข็งตัวแล้วไปอุดตันตามเส้นเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะป็นโรคหัวใจลงไปได้ นอกจากนี้หอมต่างๆ ยังช่วยลดอาารอักเสบ แก้หวัด คัดจมูก และยังมีสารเควอร์ซิทิน ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ จึงป้องกันโรคมะเร็งได้

พริก

มีสารแคปไซซินที่ให้ความเผ็ด ช่วยทำให้จับกลุ่มของเกล็ดเลือด ลดการสร้างไขมันในร่างกาย ลดการดูดซึมไขมันในเส้นเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปใช้ได้สะดวก ไม่มีเลือดมาอุดตันตามหลอดเลือด

ใบบัวบก

มีธาตุเหล็กสูง ซึ่งธาตุเหล็กเป็นสารช่วยบำรุงหัวใจ และยังมีสรรพคุณที่ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันการเป็นโรดเลือดจางช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงขึ้น และยังช่วยแก้อาการชำในและร้อนในด้วย โดยวิธีการทำใบบัวบกรับประทาน ให้นำก้านและใบมาล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาบดให้ละเอียดและคั้นเอาส่วนที่เป็นน้ำไปต้ม อาจจะเติมน้ำตาลหรือเกลือบ้างเล็กน้อย เสร็จแล้วก็นำมาดื่มได้เลย

กระเจี๊ยบแดง

นำกระเจี๊ยบแดงมาต้มกับน้ำ แล้วเติมน้ำตาลลงไปเล็กน้อยเพื่อลดความเปรี้ยว หากดื่มบ่อย ๆ จะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือด บำรุงเลือดให้ไหลเวียนดีขึ้น เป็นการบำรุงร่างกายได้ หรือจะนำกระเจี๊ยบแดงมาต้มกับพุทราจีนก็ช่วยกำจัด ไขมันไม่ดีในร่างกายได้

กระเทียม

เป็นสมุนไพรที่ถือได้ว่าต้องมีคิดอยู่ทุกบ้านมีสรรพคุณและประโยชน์ดี ๆ มากมายที่มีต่อสุขภาพหัวใจ ในกระเทียมนั้นมีสารอัลลิชินที่ช่วยลดไขมันเลวในเลือด และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของหัวใจ กระเทียมจึงช่วยลดโอกาสการอุดตันไขมันในหลอดเลือด ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่พบว่ากระเทียมมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ช่วยลดความดันเลือด รวมทั้งเป็นสารต้านการจับตัวเป็นก้อนของเลือดด้วยการทำให้เกล็ดเลือดบางลง จึงป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดหรือสมองขาดเลือดได้ด้วย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าหากกินกระเทียมสดวันละ 2 – 3 กลีบ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรงขึ้นได้

ดอกคำฝอย

นำมาต้มน้ำดื่มช่วยป้องกันโรคหัวใจและรักษาหลอดเลือดได้ เพราะน้ำมันจากดอกคำฝอยมีฤทธิ์ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือดสูง บำรุงเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น ช่วยป้องกันโรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเส้นเลือดหัวใจตีบได้

เสาวรส

นำเสาวรสที่แก่จัดหลายๆ ลูกมาล้าง คั้นเป็นน้ำผลไม้ เติมเกลือกับน้ำตาลเข้าไปเล็กน้อย เมื่อดื่มกินบ่อยๆ จะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ทำให้ไม่เป็นโรคหัวใจได้ เพราะการที่เส้นเลือดของเรามีไขมันสูงมากเกินไปจะไปกระตุ้นทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ในเสาวรสยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียมถึง 384 มิลลิกรัมต่อเสาวรส 100 ซึ่งโพแทสเซียมมีความสำคัญต่อเซลล์และของเหลวในร่างกาย รวมทั้งช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจและความดันโลหิตให้เป็นปกติได้ด้วย

ใบเตยหอม

ช่วยบำรุงหัวใจและลดความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งวิธีการคือนำใบสดมาคั้นดื่ม ครั้งละประมาณ 2 – 4 ช้อนแกง (4 -8 ช้อนโต๊ะ) หรือต้มใบเตยกับน้ำเปล่าแล้วดื่มเช้า – เย็น จะช่วยให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพราะใบเตยมีฤทธิ์บำรุงกำลังและระบบประสาท

รู้ไว้ถ้าไม่อยากเป็นโรคหัวใจ

พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ

เมื่อดูแลหัวใจด้วยอาหารที่ดีมีประโยชน์แล้ว ก็ควรต้องหยุดพฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ

  • สูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • กินอาหารอุดมไขมัน หรืออาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน
  • มีภาวะอ้วน
  • มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน คอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง
  • เครียดสะสม
  • นอนไม่เป็นเวลา
  • ช่องปากสกปรก ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตเข้าสู่หัวใจ

สัญญาณเตือนอาการโรคหัวใจ

โรคหัวใจ เหมือนโรคต่างๆ ที่มีสัญญาณเตือนให้เราได้รู้สึกตัวกันก่อนล่วงหน้า โดยสังเกตอาการจาก

  • เหนื่อย หอบจนตัวโยน
  • ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ
  • เจ็บแน่นหน้าอก (ข้อดีต้องระวัง อย่าสับสนว่าเป็นกรดไหลย้อน)
  • แขน ขาบวม เกิดจากหัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก คั่งค้างอยู่ที่แขนขา ไม่กลับไปที่หัวใจ
  • เป็นลม หมดสติ บ่อยๆ หรือรู้สึกหน้ามืด มองภาพไม่ชัดเจน
  • เหนื่อยหอบมากกว่าปกติ ตอนที่ออกกำลังกาย
  • รู้สึกใจสั่น และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • มีอาการคล้ายเข็มทิ่มแทง ที่จุดจุดเดียวบนหน้าอก เจ็บลักษณะ นานเป็นวัน หรือชั่วโมง เจ็บในขณะที่หยุดพัก ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร และมีอาการมากขึ้นเมื่อขยับเปลี่ยนท่า หรือเมื่อหายใจลึกๆ รวมถึงปวดร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า

พฤติกรรมต้องทำ ไม่ป่วยโรคหัวใจ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจ คือ

  • ออกกำลังกาย สถาบันโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าควรออกกำลังกายมากกว่า 150 นาที ต่อสัปดาห์ ซึ่งควรเฉลี่ยไปในแต่ละวัน เช่น วันละ 30 นาทีเป็นอย่างต่ำ สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นต้น
  • พบแพทย์ ตรวจสุขภาพ ควรตรวจสุขภาพประจำปี ทุกๆ ปี และตรวจเช็กทุกระบบของร่างกาย
  • ควบคุมอาหาร เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ
  • ลดความเครียด เพราะความเครียด เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคหัวใจโดยตรง
  • ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับ เป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ร่างกาย และหัวใจได้พักผ่อน แต่หากพักผ่อนไม่เพียงพอ หัวใจก็จะต้องทำงานหนักตลอดเวลา และทำให้เกิดโรคหัวใจ

ข้อมูล คอลัมน์ เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 541

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

น้ำเต้าหู้ ของดีใกล้ตัว บำรุงสมอง ดูแลหัวใจ

ทำไม วัยทองเสี่ยงโรค หัวใจและหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุน

พฤติกรรมอันตราย ก่อโรคหัวใจ

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.