ผักและผลไม้

กิน ผักผลไม้ตามฤดูกาล ลดสารเคมี รับประโยชน์เต็มที่

กิน ผักผลไม้ตามฤดูกาล ลดสารเคมี รับประโยชน์เต็มที่

การกินผักเป็นเรื่องดีค่ะ แต่ดียิ่งกว่าถ้าเราเลือก กินผักผลไม้ตามฤดูกาล เพราะว่าไม่เพียงได้ประโยชน์ แต่ยังทำให้ลดความเสี่ยงเรื่องสารตกค้างได้อีกด้วย เพราะผัก ที่เก็บผลผลิตนอกฤดูกาลนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้สารเคมีในการเร่งผลผลิต แต่หากเป็นพืชผลที่ออกตามฤดูกาลอย่างน้อยก็เลี่ยงสารเคมีที่เร่งโตได้

 

ฤดูร้อน (มีนาคม – พฤษภาคม) 

เป็นพืชผักที่ทนแล้ง หรือต้องการน้ำน้อย 

ผัก กระเจี๊ยบเขียว   คะน้า  แตงกวา  แตงโมอ่อน  ถั่วฝักยาว  ถั่วพู  บีทรูท ใบเหลียง  ผักหวานป่า  ฟักทอง  มะเขือเทศ  มะเขือเปราะ  มะเขือพวง  มะนาว  มะระ  หอมหัวใหญ่  เห็ดฟาง

ผลไม้ มะละกอ มะม่วง เงาะ ลำไย ลองกอง

 

 

ฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม)

ผักน้ำเยอะ หรืออยู่ในน้ำอยู่แล้ว 

ผัก กุยช่ายดอก  กุยช่ายใบ  ขิง ข่า  ชะอม  ดอกขจร  ดอกโสน  ตำลึง  ถั่วฝักยาว  น้ำเต้า  บัวบก  ใบขี้เหล็ก  ใบแมงลัก  ปลัง  ผักกระเฉด  ผักกูด  ผักโขม  ผักบุ้งจีน  ผักบุ้งนา  ผักแว่น  ผักหวานบ้าน  ฟักเขียว  มะเขือพวง  มะเขือส้ม  มะนาว

ผลไม้ ส้มโอ ลิ้นจี่ สับปะรด มะเฟือง กล้วย

 

ฤดูหนาว (พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) 

เป็นผักที่ชอบอากาศเย็น มีลักษณะเป็นผักกินใบ 

ผัก กวางตุ้ง  กะเพรา  กะหล่ำดอก  กะหล่ำปลี  คะน้า  แครอท  ดอกแค  ตะลิงปลิง  ถั่วลันเตา  บรอกโคลี  ใบแมงลัก  ปลัง  ปวยเล้ง  ผักกาดขาว  ผักกาดหอม  ผักชี  ผักสลัด  พริกยักษ์  ฟักข้าว  มะรุม     ลูกเหรียง  สะเดา

ผลไม้ ฝรั่ง ชมพู่ ส้มเขียวหวาน มะละกอ

 

ข้อมูล สสส. 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

4 วิธีป้องกันท้องอืดจากพืชผัก

ผักและสมุนไพร 5 ชนิด ช่วยบำรุงสายตา แก้โรคตามัว

การกินผัก อาจช่วยป้องกันโรคโควิด-19 งานวิจัยใหม่จากสหรัฐฯ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.