เต้น, บำบัดความเครียด, ความเครียด, การเต้น, แก้เครียด

บำบัด เครียด ด้วยการเต้น

บำบัด เครียด สามารถทำได้ด้วยการเต้น

บำบัด เครียด ด้วยการเต้นได้จริงหรือ คุณกาญจนา พันธรักษ์ หรือครูกาญจน์ อดีตนักกรีฑาทีมชาติชุดซีเกมส์ถึงสองสมัย อธิบายว่า ศิลปะการเคลื่อนไหว เป็นกระบวนการที่จะทำให้บุคคลเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งส่งผลดีต่ออารมณ์ความคิด สุขภาพร่างกาย และทักษะการเข้าสังคม จึงช่วยบำบัดจิตได้
ครูกาญจน์ อธิบายว่า ปัจจุบันสังคมไทย เปลี่ยนแปลงไปมาก มีการแข่งขันกันสูงขึ้น ความมีน้ำใจน้อยลงและมีความเครียดเพิ่มขึ้น การใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางภาวะเช่นนี้ มีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย จึงเกิดการรักษาหรือการบําบัดด้วยองค์ความรู้ต่างๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นดนตรีบําบัด จิตใต้สํานึกบําบัด เสียงบําบัดธรรมชาติบําบัด
วันนี้ ครูกาญจน์อยากพาทุกท่านมาทําความรู้จักศาสตร์จิตบําบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น การบําบัดรูปแบบนี้มีแนวคิดพื้นฐานมาจากการเคลื่อนไหวร่างกายที่สามารถสะท้อนอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของแต่ละคนได้ โดยนักจิตบําบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหวจะช่วยสร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวใหม่ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการบําบัดเกิดความตระหนักรู้และมีกําลังใจ ตลอดจนช่วยดึงศักยภาพของผู้เข้ารับการบําบัดออกมาอีกด้วย
เต้น, บำบัดความเครียด, ความเครียด, การเต้น, แก้เครียด
การเต้นตามจังหวะเพลงสนุกๆ ช่วยบำบัดความเครียดได้
ใครบ้างที่สามารถบําบัดด้วยศาสตร์นี้
•ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะขัดแย้งทางอารมณ์มีความเครียด หรือกําลังประสบความสูญเสียการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
•ผู้ที่ต้องการเพิ่มทักษะด้านการสื่อสาร การค้นหาหรือทําความเข้าใจตนเอง
•ผู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ด้วยวิธีพูด หรือไม่สามารถพูดเป็นประเด็นได้
•ผู้ที่มีปัญหาทางร่างกายและจิตใจ เช่น การพยายามบิดเบือนภาพลักษณ์ของตนเอง เกิดอาการเกร็งตามอวัยวะส่วนต่างๆ มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว มีความกังวลใจเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด
•ผู้ที่ไม่สามารถรับรู้และเข้าใจจุดแข็ง จุดด้อยของทั้งตนเองและผู้อื่น เนื่องจากเคยประสบเหตุการณ์รุนแรงในชีวิตจนเสียสุขภาพจิต
•ผู้ที่มีความรู้สึกว่าชีวิตมีปัญหามายาวนาน หรือผู้ที่คิดว่ายังไม่พอใจในชีวิต ทั้งเรื่องส่วนตัว ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และครอบครัว
การเคลื่อนไหวช่วยบําบัดจิตได้อย่างไร
มีการนําศาสตร์จิตบําบัดด้วยศิลปะการเคลื่อนไหวมาใช้บําบัดคนในกลุ่มต่างๆ มากมาย เช่น
1.ผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน บําบัดโดยการเต้นร่วมกับการจินตนาการ เพื่อกระตุ้นการทํางานของเซลล์สมอง (Mirror Neuron Cell) นอกจากนี้จังหวะดนตรียังมีผลดีต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้ป่วยอีกด้วย
2.เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น มีความบกพร่องทางพัฒนาการ มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยในการบําบัด
เช่น ลูกบอล ภาพวาด หลังเข้ารับการบําบัดเด็กๆ จะไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เกิดความผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความมั่นใจในตัวเอง และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ
ตัวเองมากขึ้น จนสามารถปรับพฤติกรรมของตัวเองได้
3.ผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย สุขภาพจิตไม่ดี หรือเกิดความกลัว บําบัดโดยการเต้นรําตามจังหวะเพลงช้าๆ เพื่อป้องกันการหกล้ม และจังหวะเพลงยังช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย บรรเทาอาการป่วย เสริมความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย
สําหรับท่าเต้นนั้น นักบําบัดชาวญี่ปุ่นผู้หนึ่งได้ออกแบบท่าเต้นเพื่อการบําบัด โดยเลียนแบบกิจวัตรประจําวันจึงเป็นท่าที่ผู้เต้นคุ้นเคยเป็นอย่างดี เช่น ท่าขัดตัวถูตัว ท่าซักผ้า ท่าเช็ดพื้น ท่าปัดฝุ่นเป็นต้น เราสามารถนําท่าเต้นเหล่านี้ไปเต้นเองหรือแนะนําผู้ป่วยได้
คําแนะนํา
หากอารมณ์ไม่ดี เครียด หรืออยู่ในภาวะที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แนะนําให้ลองจินตนาการว่ากําลังเต้นตามจังหวะเพลงสนุกๆ อยู่ หรือลุกออกไปเต้นเพื่อขยับร่างกาย จะช่วยให้เรารับมือกับความเครียด หรือปัญหาต่างๆ ได้ ตามกฎธรรมชาติ ร่างกายของเราจะเสื่อมลงทุกวัน หากต้องการชะลอความเสื่อม แนะนําให้เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการทํางานบ้าน ทําสวน ปลูกต้นไม้ การออกกําลังกาย เล่นกีฬา หรือเต้น เนื่องจากการเคลื่อนไหวทุกประเภทจะช่วยซ่อมแซม บํารุงร่างกาย และจิตใจ อาจเพิ่มเติมด้วยการนั่งสมาธิ เจริญสติเพื่อการตื่นรู้ ท่านผู้อ่านเห็นด้วยไหมคะว่า การป้องกันย่อมดีกว่าแก้ไข ดังนั้น แค่ลุกมาขยับก็เท่ากับออกกําลังกาย ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแน่นอน

บทความอื่นที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.