สวมรองเท้าส้นสูง, ปวดขา, ออกกำลังกาย, ท่าออกกำลังกาย, แก้ปวดขา, รองเท้าส้นสูง

ท่าออกกำลังกายแก้ปวดช่วงล่าง จากรองเท้าส้นสูง

ท่าออกกำลังกายแก้ปวดขา จะช่วยคลายอาการปวดเมื่อยจากจากใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานได้อย่างไรนั้น มาดูกัน

ท่าออกกำลังกายแก้ปวดขา สามารถช่วยชีวิตสาวรักสวยได้นะคะ เพราะการบริหารกายด้วยท่าง่ายๆบางท่า สามารถลดอาการปวดเมื่อยจากการสวมรองเท้าส้นสูง ที่ผู้หญิงหลายคนจำต้องทนใส่เพื่อความงามและงาน จนก่อให้เกิดปัญหาใหญ่

จากสถิติเผยให้เห็นว่า ผู้หญิงถึงร้อยละ 40 สวมรองเท้าส้นสูงแล้วมีอาการปวด แต่ก็ยังทนใส่!!

สวมส้นสูงเสี่ยงปวดเข่า

นอกจากอาการปวดที่เท้าและเซลล์กล้ามเนื้อน่องแล้ว มาดูปัญหาที่เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูงต่อหัวเข่าและหลังกันบ้างดีกว่า

ปวดเข่า

การสวมรองเท้าส้นสูงยืนทั้งวัน จะส่งผลปวดเมื่อยรอบเข่า จนทำให้ยืนไม่ไหว เพราะอาการปวดเข่าจากการสวมรองเท้าส้นสูงนั้นมีได้หลายสาเหตุ เนื่องจากตอนเดินหัวเข่ามักจะมีการเอียงเข้าด้านในหว่างขา(เดินหนีบขา) โดยที่เราไม่รู้ตัว หากอายุยังน้อยปัญหาน่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเกร็งตัวตลอดเวลาที่ยืนหรือเดิน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาด้านในและด้านนอกจะเกิดอาการล้าและตึงตัวการที่หัวเข่าเอียงเข้าด้านใน จะทําให้ผิวข้อเข่าด้านในรับน้ำหนักมากขึ้นเกิดการกดและเสียดสี ทำให้ผิวข้อเข่าสึกและเสื่อม

ขณะยืนหรือเดินโดยสวมรองเท้าส้นสูง ร่างกายต้องปรับตัวให้เดินได้อย่างสมดุล จึงมีการงอเข่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการเดินด้วยเท้าเปล่า ปัญหาที่ตามมาคือ แรงกดบริเวณกระดูกอ่อนของลูกสะบ้าจะสูงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดปัญหากระดูกอ่อนที่ผิวลูกสะบ้าสึกหรือเสื่อม

มีอาการปวดบริเวณหน้าเข่า โดยเฉพาะเวลานั่งนานๆ โดยไม่ขยับเขยื้อน เช่น นั่งโต๊ะทํางาน ประชุม ขับรถทางไกล หากจะลุกจากที่นั่งก็จะรู้สึกเสียวที่หน้าเข่า หรืออาจมีอาการนี้ขณะเดินลงบันได

หากเกิดปัญหากระดูกอ่อนผิวลูกสะบ้าสึกการรักษาให้ได้ผลจะทําได้ยากและนาน เพราะกระดูกอ่อนผิวข้อเมื่อสึกแล้ว ธรรมชาติไม่สามารถสร้างมาทดแทนใหม่ได้ เราทําได้แค่บรรเทาอาการไม่ให้รุนแรงขึ้น เช่น ลดการ ใช้งานแบบหักโหม สร้างกล้ามเนื้อมาช่วย ดูดซับแรงกระแทก แม้ทําได้แค่บรรเทาแต่ จะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและสามารถสวม รองเท้าส้นสูงได้ในเวลาต้องการ

ปวดหลัง

นอกจากนี้ หลายคน ยังมีปัญหาปวดหลังช่วงบั้นเอวหลังสวมรองเท้าส้นสูงอีกด้วย ซึ่งปัญหาปวดหลังจากการสวมรองเท้าส้นสูงพบได้ต่อเนื่องจากการปวดเท้า ข้อเท้า เข่า เพราะในท่ายืนบนรองเท้าส้นสูง ตําแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายมีการเปลี่ยนไปจากเดิมเฉลี่ยประมาณ 2 เซนติเมตร

นอกจากนั้น กระดูกสันหลังช่วงบั้นเอวยังมีการแอ่นเอียงเพิ่มขึ้น ทําให้ร่างกายต้องปรับสมดุลขณะที่มีการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลัง และกล้ามเนื้อด้านข้างลําตัวต้องมีการเกร็งตัวทํางานหนักขึ้น เพื่อต่อสู้กับแรงอัดที่เพิ่มขึ้นอย่างมากที่กระดูกสันหลัง เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มกระดูกสันหลังต้องออกแรงดึงให้กระดูกสันหลังอยู่กับที่มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปย่อมเกิดอาการล้าและปวดในที่สุด

รู้ถึงสารพัดปัญหากันแล้ว เราก็มาเตรียมร่างกายให้พร้อมรับมือกับปัญหาจากรองเท้าส้นสูงกันดีกว่า

-หากต้องควรสวมรองเท้าส้นสูงต่อเนื่องหลายชั่วโมง ให้ยืดกล้ามเนื้อน่อง ต้นขา และหลังเป็นระยะๆ

-ควรฝึกกล้ามเนื้อลําตัว ให้แข็งแรง และหากรู้ว่าควรฝึกระบบประสาท เพื่อช่วยการทรงตัว

นอกจากนี้ ยังมีท่าออกกำลังกายที่จะช่วยคลายปวดจากส้นสูงด้วยค่ะ

1 Step คลายปวดเท้า

-นอนราบลงบนพื้น

ท่าออกกำลังกายแก้ปวดขา, ออกกำลังกาย, แก้ปวดขา, ใส่รองเท้าส้นสูง, รองเท้าส้นสูง

-ยกขาทั้งสองข้างขึ้นสูงให้ตั้งฉากกับลําตัว เข่าตึง

ท่าออกกำลังกายแก้ปวดขา, ออกกำลังกาย, แก้ปวดขา, ใส่รองเท้าส้นสูง, รองเท้าส้นสูง

-ค่อยๆ ดึงขาขวาเข้าหาลําตัวให้มากที่สุดเท่าที่ทําได้ โดยให้เข่าตึงไว้ดังเดิม นับ 1–5 สลับข้าง ทําซ้ำ 5–10 นาที

ทั้งนี้ การออกกําลังกายที่ช่วยทําให้กล้ามเนื้อต้นขาและน่องมีความแข็งแรง มีขนาดเล็กลง เพราะกล้ามเนื้อกระชับมากขึ้น แต่ควรเน้นการบริหารแบบสร้างกล้ามเนื้อให้ครบทุกส่วน ได้แก่ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังพร้อมกัน
อย่าลืมทำตามกันนะคะ

บทความอื่นที่น่าสนใจ

7 อาการ ป่วยจาก รองเท้าส้นสูง

เทคนิคเลือกรองเท้า คู่เก่ง ให้เหมาะสม และถูกใจ

แค่เปลี่ยนรองเท้า ก็หายปวดหลังนะจ๊ะ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.