ออกกำลังกาย

7 พฤติกรรมผิดๆ เกี่ยวกับ ออกกำลังกาย

ออกกำลังกาย ให้ถูกหลักกันเถอะ

รู้ไหมว่า หากอยาก ออกกำลังกาย แต่กลับมีความเข้าใจที่ไม่ถ่องแท้ วิธีการเหล่านั้นแทบเปล่าประโยชน์ เผลอๆ เสียสุขภาพอีกด้วย จากคำแนะนำของ พีท แมคคอล เทรนเนอร์มืออาชีพ  และ มิเชล โอลสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาการออกกำลังกาย จากมหาวิทยาลัยโอเบิร์น อลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ระบุถึง 7 พฤติกรรมสุขภาพผิดๆ ที่หากทำอยู่ จงหยุดเสียเดี๋ยวนี้

ใช้สมาร์ทโฟนขณะออกกำลังกาย ปกติแล้ว การใช้ฟังก์ชั่นบนสมาร์ทโฟนอย่างชาญฉลาดย่อมได้ผลดีทั้งนั้น แต่หากคุณคือคนที่ไม่ยอมละสายตาจากหน้าจอ เช่น หยิบขึ้นมาดู เช็กข่าวสาร แชทอยู่ตลอดเวลา แม้จะอยู่บนเทรดมิลล์ (Treadmill) นั่นแปลว่า ความสนใจของคุณถูกดึงดูดไปผิดจุด และใช้เวลากับการออกกำลังกายได้ไม่เต็มที่ออกกำลังกายผิด ๆ2. อยู่กับกิจกรรมเดิมๆ ติดต่อกัน การเข้าฟิตเนสแล้ว เล่นแต่เครื่องบริหารเดิมๆ จะทำให้ร่างกายของคุณรู้จักแต่การขยับเขยื้อนแบบเดิมๆ กระตุ้นกล้ามเนื้อในจุดเดิมๆ ดังนั้น ควรทำกิจกรรมให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายทุกส่วนได้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ

3. อยู่แต่บนโซฟาในวันพักผ่อน การเอาแต่นอนดูทีวีอยู่บนโซฟา จะทำให้ร่างกายไม่ได้ขยับเขยื้อน ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจไม่สูงพอ ระบบเผาผลาญพลังงานต่างๆ ก็เฉื่อยชาไปด้วย จึงควรเปิดโอกาส ให้ร่างกายได้ผ่อนคลายความเมื่อยล้า สะสมจากการทำงาน ด้วยการออกไปทำกิจกรรม เพื่อให้ร่างกายได้ยืดเหยียด และหัวใจได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

คลิกเลข 2 เพื่ออ่านหน้าถัดไป

4. โฟกัสแต่จุดที่มีปัญหา หลายคนมัวแต่บริหาร หรือให้ความสนใจรูปร่างเฉพาะส่วนที่อยากให้ดูดีที่สุด แต่กลับลืมว่า รูปร่างที่ดีมาจากภาพลักษณ์โดยรวมของทั้งร่างกาย ดังนั้นการให้ความสำคัญในภาพกว้างขึ้น จะให้ผลโดยรวมที่ดีกว่า เช่น โฟกัสร่างกายช่วงบนทั้งหมดไปเลย

5. วอร์มอัพก่อนการยืดเหยียด การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ก่อนการวอร์มอัพ จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว และอาจเกิดอาการบาดเจ็บ หรือทำให้ออกกำลังกายได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทางที่ดี ควรให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวก่อน เช่น การแกว่งแขนไปมา การซอยเท้าอยู่กับที่ เพื่อวอร์มอัพร่างกาย จะเป็นวิธีที่ถูกต้อง และสนับสนุนให้คุณออกกำลังกายได้ดียิ่งขึ้นออกกำลังกาย6. ไม่สนใจเวลาอาหาร คนที่ลดน้ำหนักมักละเลยเวลากิน หรือพยายามกินให้น้อยที่สุด แต่หารู้ไม่ว่า ชนิดอาหารและเวลาในการกินมีส่วนสำคัญอย่างมาก มีงานวิจัยระบุว่า หากกินอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรตก่อนการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงต้าน จะช่วยยืดเวลาการออกกำลังกายได้ และหากกินหลังออกกำลังกายภายใน 1 ชั่วโมงจะช่วยให้ร่างกาย สังเคราะห์โปรตีนได้ดียิ่งขึ้นด้วย

7. เลิกกินคาร์บโดยสิ้นเชิง ต่อจากข้อ 6 คือมีไม่น้อยที่เลิกกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตไปเลย เพราะคิดว่า เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงและกลัวจะเหลือสะสมในร่างกาย แต่ความเป็นจริงแล้วร่างกายยังต้องการคาร์โบไฮเดรตอยู่ เพราะช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน และเมื่อทำงานร่วมกัน จะช่วยเพิ่มการกักเก็บไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ถึงอย่างนั้นก็ควรเกินลือกคาร์โบไฮเดรตที่ดี เช่น ข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต

หากหยุดพฤติกรรมผิดๆ ทั้งหมดที่กล่าวมาได้ รับรองว่าวิถีการดูแลสุขภาพ ของผู้อ่านจะมีคุณภาพมากขึ้นหลายเท่าตัวค่ะ

ข้อมูลเรื่อง “7 พฤติกรรมผิดๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย” โดย สุนิสา สมคิด จากนิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 433

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.