ท่าบริหาร คลายอาการเมื่อยล้า ในที่ทำงาน

คลายอาการเมื่อยล้า ด้วยท่าง่ายๆ ทำได้ที่ทำงาน

คลายอาการเมื่อยล้า เมื่อต้องนั่งทำงานนานๆ อย่างไรดี วันนี้เรามีท่าบริหารร่างกายแบบง่ายๆ จากอายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา มาแนะนำ

โอ๊ยยยยย…ทําไมวันนี้ฉันรู้สึกอ่อนล้าจังเลย

เสียงจากรอบข้างแว่วเข้าหูขณะกําลังนั่งทํางาน ชวนให้สงสัยว่า อาการอ่อนล้าระหว่างวันนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร โดยเฉพาะในคนที่ต้องใช้สมาธิ เพื่อคิดงาน เขียนงาน นําเสนองาน หรือต้องออกไปพบปะลูกค้า ขายของ ทํายอด

ความจริงแล้วเป็นเพราะใน 1 วัน เราใช้เวลาไปกับการทํางานนานหลายชั่วโมง แถมบางคนต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา โดยไม่เคยปรับเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างวันเลย พฤติกรรมเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ร่างกายมีความอ่อนล้า

รองศาสตราจารย์นายแพทย์สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ด้านประสาทวิทยา ชี้ว่า หากร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนล้า จะทําให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น เหนื่อยง่าย รู้สึกไม่สดชื่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามตัว สมาธิสั้น ภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ ประสิทธิภาพในการทํางานลดลง หากคุณเคยมีอาการเหล่านี้ หรือกําลังเป็นอยู่ อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ เพราะเรามีเคล็ดลับมาแนะนําการปฏิบัติตัวเพื่อเอาชนะความอ่อนล้าง่ายๆ

คือ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควรกิน ให้ตรงเวลา พยายามไม่แบกรับความเครียดระหว่างวันมากจนเกินไป รวมทั้งสร้างบรรยากาศในที่ทํางานและ เพื่อนร่วมงานให้มีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ รวมถึงการหาเวลาออกกําลังกาย ยืดเส้นยืดสาย ในที่ทํางานสักเล็กน้อย จะช่วยให้ร่างกายกระชุ่ม- กระชวย สดชื่น ไม่เหี่ยวเฉา พร้อมทํางานอย่างมีความสุขแน่นอน

ท่าที่ 1

วิธีปฏิบัติ นั่งพิงเก้าอี้ พยายามดันลําตัวไป ด้านหลังให้มากสุดเท่าที่ทําได้ ค้างไว้ นับ 1-10 อย่างช้าๆ

ท่าที่ 2

วิธีปฏิบัติ นั่งพิงเก้าอี้ โน้มลําตัวมาด้านหน้า ก้มศีรษะมองบริเวณหน้าท้อง ค้างไว้ นับ 1-10 อย่างช้าๆ

คลายความเมื่อยล้า, ท่าบริหาร, ยืดเส้น, ยืดกล้ามเนื้อ, ออกกำลังกาย
ยืดเส้นยืดสาย ในที่ทํางานสักเล็กน้อย จะช่วยให้ร่างกายกระชุ่ม- กระชวย สดชื่น ไม่เหี่ยวเฉา

ท่าที่ 3

วิธีปฏิบัติ นั่งพิงเก้าอี้ ประสานมือสองข้างขึ้น เหนือศีรษะ ยืดแขนให้รู้สึกตึงมากสุด เท่าที่ทําได้ ค้างไว้ นับ 1-10 อย่างช้าๆ

ท่าที่ 4

ธีปฏิบัติ นั่งพิงเก้าอี้ ยืดหน้าอกขึ้นให้มากสุด เท่าที่ทําได้ ค้างไว้ นับ1-10อย่างช้าๆ

ท่าที่ 5

วิธีปฏิบัติ นั่งพิงเก้าอี้ ประสานมือสองข้างขึ้น เหนือศีรษะ ยืดแขนให้รู้สึกตึงมากสุด เท่าที่ทําได้ ค้างไว้ นับ1-10อย่างช้าๆ

ท่าที่ 6

วิธีปฏิบัติ นั่งพิงเก้าอี้ เหยียดขาทั้งสองข้าง ตรงไปข้างหน้า ค้างไว้ นับ1-10อย่างช้าๆ

หากรู้สึกร่างกายอ่อนล้าเมื่อใด อย่าลืมหาเวลาว่างระหว่างวันลุกขึ้นมาขยับกายผ่อนคลายกันดูนะคะ


บทความอื่นที่น่าสนใจ

รวมสุดยอดท่ายืดกล้ามเนื้อ ยามเช้า (มีคลิป)

5 ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย

เทคนิค แก้ปวดข้อ สำหรับผู้ป่วยโรคเอสแอลอี

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.