50+ เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างไร คงความกระฉับกระเฉง

50+ เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างไร คงความกระฉับกระเฉง และปลอดโรค

เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยเลข 5 หลายคนอาจกลัวว่า อายุยิ่งมาก ยิ่งต้องอยู่นิ่งๆ อยู่ให้ห่างการออกกำลังกาย เพราะร่างกายอาจได้รับบาดเจ็บได้ แต่รู้ไหมคะ ในวัย 50+ หรือ 60+ เราก็ยังออกกำลังกายได้

เมื่อสิบปีที่ผ่านมาร่างกายแข็งแรง ให้คิดว่ามาถูกทางแล้ว คุณจะดํารงสภาพความกระฉับกระเฉงอย่างนี้ต่อไปอีก 20 ปี ถ้าร่างกายไม่แข็งแรง จิตใจกวัดแกว่งเหมือนสมัยสาวเอ๊าะ ก็ให้คิดว่า เรื่องการดูแลสุขภาพไม่มีวันสาย เพราะร่างกายไม่เคยงอแงต่อความใส่ใจของคุณ…แม้แต่น้อย คุณหมอวอนด้า ไรท์ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Fitness After 40 ยืนยันมาเอง

HOW TO GET FIT

•สร้างโปรแกรมการดูแลสุขภาพ

อย่ากังวลนัก แต่ต้องย้อนกลับไปพิจารณาสิ่งที่เราแนะนําไปในวัย 40+ โดยเฉพาะการใส่ใจเรื่องน้ําหนักและรอบเอว พร้อมทั้งการตรวจสุขภาพ อย่าลืมดูประวัติความเจ็บป่วยของคนในตระกูล แล้วให้โรคที่ติดต่อทางพันธุกรรมเหล่านั้นเป็นเป้าหมายและความท้าทายในการไม่ยอมตกเป็นเหยื่อ

•ออกกําลังกายโดยเลือกประเภท

ให้เลือกที่เพิ่มความยืดหยุ่น การแอโรบิก กําลังกล้ามเนื้อ และการทรงตัว

•ระวังข้อเข่า

ไม่ว่าจะวัย น้ําหนัก แผลเก่า หรือกล้ามเนื้ออ่อนแอ ก็ล้วนแต่เป็นสาเหตุความผิดปกติเกี่ยวกับข้อด้วยกันทั้งนั้น ในวัย 50+ คุณต้องลดน้ําหนักส่วนเกินลงอีกหน่อยเพื่อให้ข้อเข่ารับน้ําหนักน้อยลง

•ลับสมอง

คุณควรเพิ่มกิจกรรมการใช้ประสบการณ์ และความฉลาดให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ด้วยโครงการใหม่ๆ เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือสอนคนรุ่นใหม่

•ทดสอบความแข็งแรงของกระดูก

หากมีรูปร่างเล็ก ผิวขาว และเป็นผู้หญิง คุณควรเช็กความหนาแน่นของกระดูกและระดับวิตามินดี ถ้าพบว่าผลลัพธ์น้อยลงกว่าวัย 40+ พ่อแม่เคยมีประสบการณ์หกล้มจนทําให้สะโพกหัก และกําลังมีอาการวัยทอง ให้รีบปรึกษาแพทย์ เพราะปัญหากระดูกบางจะไม่มีผลต่อชีวิตประจําวันจนกระทั่งมันหักลงก่อนวัยอันควร ซึ่งนั่นก็สายไปแล้ว

ออกกำลังกายในวัยสูงอายุ
ผู้สูงวัยควรออกกำลังกายประเภทให้ความยืดหยุ่น

60+ ก็ยังออกกำลังกายได้

เป็นวัยที่สะท้อนผลลัพธ์การดูแลสุขภาพในช่วง 20 ปี ก่อนหน้านี้ ถ้าทํามาอย่างดีและสม่ําเสมอแล้วคุณก็จะแข็งแรงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้าไม่…ก็อาจถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ ป่วยเป็นโร

HOW TO GET FIT

•ใส่ใจสุขภาพหัวใจ

ถ้าไม่เคยดูแลมาก่อนหน้านี้ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะยังพอเหลือเวลาฟื้นฟูสุขภาพหัวใจ โดยเริ่มจากไปพบแพทย์ ตรวจการทํางานของหัวใจ ออกกําลังกายตามคําแนะนํา ถ้ายังสูบบุหรี่ก็ถึงเวลาที่ต้องเลิกแล้ว ถ้าเป็นโรคเบาหวานก็ต้องมั่นใจว่ากําลังควบคุมการกิน และน้ําตาลในเลือดอย่างเข้มงวด เพราะนั่นหมายความว่าคุณกําลังปกป้องตนเองจากภาวะสโตรกหรือหลอดเลือดหัวใจแตก ตีบ ตัน

•ระมัดระวังสุขภาพสมอง

โดยการกินอาหารบํารุงสมอง เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ทํากิจกรรมใหม่ๆ ท้าทายตนเองในเรื่องการช่วยเหลือตนเอง และสังสรรค์กับเพื่อนเป็นครั้งคราว งานวิจัยพบว่า การสันทนาการช่วยคงประสิทธิภาพการทํางานของสมองและเพิ่มความเคารพตนเอง

•สร้างเสริมภูมิคุ้มกันตนเอง

เพราะร่างกายของคนในวัยนี้จะต่อสู้กับโรคหวัดไม่ดีนัก รวมถึงโรคต่างๆ ที่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาตั้งแต่เด็ก อาหารสุขภาพจึงมีบทบาทสําคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเหล่านี้(แต่ต้องระวังระบบย่อยอาหารและการดูดซึมที่อาจนําสารอาหารไปใช้ได้น้อยกว่าเดิม) เพราะฉะนั้นต้องแน่ใจว่าคุณกินโปรตีนและอาหารที่อุดมไปด้วยแอนติออกติแดนต์เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกาย

นอกจากการออกกำลังกายแล้ว อาหารก็เป็นสิ่งสำคัญของวัย 50+ และ 60+

ซึ่งเราเชื่อว่าพอเข้าสู่วัยทอง ร่างกายของผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆอย่าง บางอย่างอาจกระทบชีวิตประจำวัน ลองมาดูกันว่ามีอาหารอะไรเป็นตัวช่วยได้บ้าง

 


บทความอื่นที่น่าสนใจ

วัยเจ้ 40+ เริ่มต้นออกกําลังกาย อย่างไรดี

ออกกำลังกายเบาๆ แค่ขยับวันละนิดดีกว่าลุยหนักนะ

วิ่งอย่างไร ไม่ให้บาดเจ็บ

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.