โยคะบํารุงต่อมไทรอยด์ ทำตามด่วน

โยคะบํารุงต่อมไทรอยด์ ทำตามง่ายๆ ได้ผลดีจริง

โยคะบํารุงต่อมไทรอยด์ ช่วยบําบัดรักษาโรคไทรอยด์ได้อย่างตรงจุด เพราะเป็นการฝึกการหายใจเข้า-ออก ช้าๆ ทําให้เลือดสูบฉีด บวกกับท่าที่เน้นการเปิดบริเวณหัวไหล่ หน้าอก ทําให้ต่อมไทรอยด์หมุนเวียนพลังงานได้ดีขึ้น

ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่สําคัญที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีความสําคัญต่อการเจริญเติบโตของคนเรา และมีบทบาทในการควบคุมการทํางานของอวัยวะอื่น เมื่อต่อมไทรอยด์ผิดปกติจึงส่งผลให้การทํางานของอวัยวะอื่นแปรปรวนตามไปด้วย การฝึกโยคะสามารถบําบัดรักษาโรคไทรอยด์ได้อย่างตรงจุด เพราะเป็นการฝึกการหายใจเข้า-ออกช้าๆ ทําให้เลือดสูบฉีด บวกกับท่าที่เน้นการเปิดบริเวณหัวไหล่ หน้าอก ทําให้ต่อมไทรอยด์หมุนเวียนพลังงานได้ดีขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายจึงทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง วันนี้ผู้เขียนขอแนะนํา 3 ท่าให้ได้ลองฝึกกันค่ะ

ท่าที่ 1 ท่าปลา

1. นอนหงาย วางฝ่ามือทั้งสองข้างคว่ําลงบนพื้นที่ใต้ก้นตัวเอง

2. กดศอกลงกับพื้น ดันลําตัวขึ้น ยกอกขึ้นเยอะๆ แอ่นหลังเพื่อวางกลางกระหม่อม ลงบนพื้น หายใจอย่างสม่ําเสมอ ค้างท่าได้นานเท่าที่รู้สึกไม่อึดอัด

3.ค่อยๆ เก็บคางชิดอก ลดอกลงพื้น กลับมาสู่ท่านอนหงายตามปกติ

ท่าที่ 2 ท่าคันไถ

1.นอนหงาย ฝ่ามือแนบลําตัว เกร็งหน้าท้อง ยกสองขาคู่กันขึ้นจากพื้นมาทางศีรษะ

2.ใช้สองมือประคองสะโพก เพื่อดันให้ก้นลอยชี้ฟ้า ขามาแตะพื้นข้ามศีรษะตนเอง พยายามให้ขาติดกัน เกร็งหน้าท้องให้ดี(สามารถวางมือไว้ที่พื้นได้ หากรู้สึกว่าอยู่ในท่าได้สบายแล้ว)

ท่าที่ 3 ท่ายืนด้วยไหล่ ต่อจากท่าคันไถ

1. ใช้หน้าท้องในการยกขาลอยจากพื้น และเกร็งขาให้อยู่ในทิศที่ชี้ฟ้าในแนวตรงตลอดเวลา

2. ใช้มือทั้งสองข้างพยุงสะโพกและหลังส่วนล่าง แต่อย่าลืมเกร็งลําตัวด้วย

3. ดึงลําตัวให้ชี้ฟ้าเป็นแนวตรง ตั้งแต่แนวสันหลัง หน้าท้อง ก้น และขา เก็บคางชิดอก ให้น้ําหนักอยู่ที่หัวไหล่

4. ออกจากท่า โดยค่อยๆ ผ่อนน้ําหนัก และใช้มือประคองหลังให้กลับมาสู่พื้น

โยคะบํารุงต่อมไทรอยด์, โยคะ, ออกกำลังกาย
ท่าโยคะบํารุงต่อมไทรอยด์

เช็ก 6 อาการ ส่อไทรอยด์ผิดปกติ

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น อาจมีอาการแปลกๆ ที่คุณเหมาเอาเองว่า “สงสัยเป็นเพราะแก่ตัวลง” ทั้งที่จริง อาจเกิดจากการที่อวัยวะหรือต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์ ทํางานผิดปกติก็ได้ แต่อย่าสงสัยไปเลยค่ะ วันนี้เรามี 6 ข้อสังเกตที่แนะนําโดย วิทยาลัยการแพทย์ฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา มาให้คุณได้ลองเช็กตัวเองกันดู

1. เหนื่อยง่ายกว่าที่ควร ทั้งที่ก็ไม่ได้ออกแรงทําอะไรมากมาย

2. หนาวง่ายผิดปกติ จนแทบทนไม่ได้ ทั้งที่คนรอบๆ ตัวไม่ได้รู้สึกหนาวด้วยเลย

3. ไม่อยากอาหาร น้ําหนักอาจลดอย่างรวดเร็ว หรือเพิ่มขึ้นจนน่าแปลกใจ

4. ความดันโลหิตสูง และรู้สึกว่าหัวใจทํางานหนัก

5. วิตกกังวล ตื่นตกใจง่าย ขาดสมาธิ นอกจากนี้ ยังขาดแรงจูงใจ ไม่ใส่ใจสิ่งรอบตัวและหลงลืมง่าย

6. อาการร่วมอื่นๆ เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ รวมถึงสภาพผิว ผม และเล็บแห้ง


บทความอื่นที่น่าสนใจ

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.