โรคเป็นสาวก่อนวัย, ผู้หญิง, เพศหญิง, วัยเจริญพันธ์, เด็กผู้หญิง, ฮอร์โมนเพศหญิง

โรคเป็นสาวก่อนวัย

มารู้จัก ” โรคเป็นสาวก่อนวัย ” โรคลับที่แอบร้ายของเด็กผู้หญิง

รศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล ภาควิชากุมารแพทย์  ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า ” โรคเป็นสาวก่อนวัย ” ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้หญิง เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการเจริญเติบโตในช่วงวัยเด็ก ทำให้เด็กมีเต้านมหรือมีประจำเดือน รังไข่และมดลูก หรืออัณฑะทำงาน และพร้อมที่จะเจริญพันธุ์ การเจริญเติบโตที่เร็วผิดปกตินี้อาจส่งผลเสียต่อเด็กหลายด้านจนแทบนึกไม่ถึง อาทิ เรื่องความสูงของเด็ก

อธิบายง่ายๆ คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงนั้น มีอยู่ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นตัวควบคุมให้ปลายของกระดูกซึ่งเจริญเติบโตอยู่ปิดลง ทำให้เด็กผู้หญิงหยุดสูงหลังจากมีประจำเดือน 2 ปี ส่วนปลายกระดูกของเด็กผู้ชายจะปิดช้ากว่าผู้หญิง 3-5 ปี ผู้ชายจึงมีโอกาสตัวสูงกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเด็ก รวมถึงอันตรายจากบุคคลภายนอก เช่น กรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ และภาวะตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม

โรคเป็นสาวก่อนวัย, ผู้หญิง, เพศหญิง, วัยเจริญพันธ์, เด็กผู้หญิง, ฮอร์โมนเพศหญิง
โรคเป็นสาวก่อนวัย เด็กผู้หญิงจะมีการเจริญเติบโตที่เร็วผิดปกติ

 

สาเหตุเกิดจากอะไร

รศ.พญ.สุภาวดี กล่าวว่าสาเหตุที่ทำให้เป็นสาวก่อนวัยแบ่งได้ 3 สาเหตุใหญ่ๆ คือ

  1. สาเหตุจากภายใน – เป็นที่รู้กันว่า เด็กที่มีไฮโปทาลามัสผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด หรือถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ ได้รับการผ่าตัดหรือฉายแสงที่สมอง หรือเป็นเนื้องอกของต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ใกล้กับไฮโปทาลามัสก็จะส่งผลให้การควบคุมการทำงานของระบบไฮโปทาลามิกนี้ผิดเพี้ยนไป ระบบจึงทำงานเร็วขึ้น เกิดเป็นสาวก่อนวัยขึ้นมา
    อีกสาเหตุหนึ่งคือ การเป็นเนื้องอกบางชนิดในช่วงแกนกลางของไฮโปทาลามัส (แกนกลางของสมอง) เช่น เนื้องอก Harmatoma ซึ่งเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ ที่สามารถสร้างฮอร์โมนบางชนิดขึ้นมา และฮอร์โมนเหล่านั้นมีผลไปกระตุ้นฮอร์โมนโกนาโดรโทรฟินในต่อมใต้สมองให้ทำงาน จนเกิดกระบวนการสร้างฮอร์โมนเพศขึ้น ก็จะส่งผลต่อการเป็นสาวก่อนวัยได้
    รวมถึงการมีซีสต์และเนื้องอกที่รังไข่ อัณฑะ หรือต่อมเพศ ซึ่งสามารถส่งผลให้เป็นสาวก่อนวัยได้เช่นกัน และท้ายสุดคือ ความผิดปกติของต่อมหมวกไตซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศโดยตรง กรณีนี้พบได้ในเด็กที่เป็นโรคต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนมากเกินไป
  2. สาเหตุจากภายนอก – เมื่อวัยเด็กได้รับฮอร์โมนเพศซึ่งเป็นฮอร์โมนในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ระบบร่างกายก็จะพัฒนาเร็วขึ้น ในอดีตพบว่าเด็กที่กินวิตามินหรือยาบางชนิดที่โฆษณาว่า กินแล้วจะโตเร็ว แท้จริงแล้วยานี้มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศ เมื่อกินยาประเภทดังกล่าวเข้าไปเด็กจะมีการสะสมไขมันมากขึ้น ทำให้เด็กอวบขึ้น ดูตัวโตกว่าเด็กรุ่นเดียวกัน
  3. ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด – พบว่าทุก 20 ปี มนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น หกเดือนถึงหนึ่งปีของอายุเกณฑ์เดิม ปัจจุบันเด็กผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 8 ขวบ ในขณะที่เด็กชายเริ่มที่อายุ 9 ขวบ ซึ่งส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับเรื่องของภาวะโภชนาการเกินหรือความอ้วน เด็กที่มีร่างกายอ้วนมักจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าเด็กที่ผอม
โรคเป็นสาวก่อนวัย, ผู้หญิง, เพศหญิง, วัยเจริญพันธ์, เด็กผู้หญิง, ฮอร์โมนเพศหญิง
การมีซีสต์และเนื้องอกที่รังไข่ สามารถส่งผลให้เป็นสาวก่อนวัยได้

 

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นๆ ที่คาดว่าจะส่งผลให้เป็นโรคเป็นสาวก่อนวัย เช่น

  • ระดับคอเลสเตอรอล – สารเริ่มต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศคือ คอเลสเตอรอล โดยปัจจุบันพบว่าเด็กรุ่นใหม่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าคนสมัยก่อนมาก  เพราะฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่า เมื่อสารตัวนี้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนได้มากพอที่ร่างกายจะนำไปใช้งานได้ จึงก้าวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
  • อาหาร เช่น ไก่ ซึ่งเป็นประเด็นถกเถียงกันว่ามีการฉีดฮอร์โมนเร่งมากจนส่งผลมาถึงคนได้ ไก่เลี้ยง ซึ่งถูกขุนให้อ้วนด้วยหัวอาหาร ทำให้มีปริมาณไขมันในเนื้อสูง เมื่อเด็กกินไก่จึงส่งผลให้เด็กมีไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกายสูงด้วย  ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวการณ์เป็นสาวก่อนวัย ทั้งนี้เคยมีผู้ป่วยโรคนี้ที่มีรูปร่างอยู่ในเกณฑ์ท้วมอ้วน เมื่อตรวจดูคอเลสเตอรอลพบว่ามีเกณฑ์สูงกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้หลายรายชอบกินไก่เป็นประจำ และจากการแนะนำให้เด็กควบคุมสัดส่วนอาหารโดยการลดอาหารที่มีไขมันสูง พบว่าในบางรายสามารถชะงักภาวะการเจริญเติบโตก่อนวัยให้ช้าลงได้
โรคเป็นสาวก่อนวัย, ผู้หญิง, เพศหญิง, วัยเจริญพันธ์, เด็กผู้หญิง, ฮอร์โมนเพศหญิง
เด็กที่เป็นโรคเป็นสาวก่อนวัย ควรได้รับการรักษา เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพในอนาคต

แนวทางการรักษา

ในเบื้องต้น แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยจากการเอกซเรย์กระดูกก่อนว่า มีโครงสร้างกระดูกล้ำหน้าหรือไม่ หากมีก็จะอัลตราซาวนด์มดลูก รังไข่ หรือวัดอัณฑะและอวัยวะเพศว่ามีขนาดเปลี่ยนแปลงเหมือนได้รับฮอร์โมนเพศกระตุ้นหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ก็จะเอกซเรย์สมองเพื่อตรวจหาสาเหตุ ซึ่งอาจมาจากความผิดปกติของสมองหรือมีประวัติได้รับฮอร์โมนเพศก็ต้องสั่งระงับยานั้น

กรณีที่ตรวจไม่พบสาเหตุ การรักษาจะทำได้เพียงการฉีดยาชะลอการเป็นสาว เพื่อรักษาให้เด็กสามารถเจริญเติบโตตามโครงสร้างที่ควรจะเป็น และลดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น มะเร็งเต้านมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงเรื่องสภาพจิตใจของเด็กที่อาจยังไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย

ควรจัดสัดส่วนอาหารให้เด็กรับประทานอย่างเหมาะสม ไม่กินของที่มีไขมันมากเกินไป มีการควบคุมอัตราการเพิ่มของน้ำหนักและความสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตามวัย เพราะเด็กอ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มาก

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.