ข้อมูลสุขภาพ

10 Checklists หาข้อมูลสุขภาพของแท้ ก่อนแชร์ในโลกออนไลน์

ข้อมูลสุขภาพ

ตอนนี้ เรามาอัพเดตเรื่องข่าวสารสุขภาพระดับโลกกันบ้างนะคะ

โดยขอลำดับความตามความสนใจส่วนตัวของ บก. นะคะ (เพราะไม่รู้ว่า ความจริงเขาวางแผนอะไรกันภายใน) คือสืบเนื่องมาจากองค์กรการสนับสนุนงานวิจัยชื่อดังของสหราชอาณาจักรออกมาทำโครงการ #ExpertDebate ซึ่งเราได้เห็นตัวโครงการและวิดีโอที่ให้นักวิทยาศาสตร์สุขภาพมาแสดงทัศนคติเรื่อง การเป็นเอ็กเปิร์ตหรือผู้เชี่ยวชาญว่า ใครหนอที่จะเรียกสมควรจะเรียกตนเองว่า “เอ็กเปิร์ตหรือผู้เชี่ยวชาญ” ด้านสุขภาพ

เดาเอาว่า เพราะภารกิจการสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเต็มตัว ทั้งการผลิตวัคซีน (ล่าสุดบก.เห็นว่า จะลงทุนวิจัยวัคซีนแบบที่ฉีด 1 คน แต่ป้องกันได้ทั้งหมู่บ้าน หรือครอบครัว…555…ก็ว่ากันไป หน้าที่ใครก็จัดเต็มกันไป) การผลิตยา การตัดต่อพันธุกรรมเพื่อแก้ไขบางโรค องค์กรเก๋อย่างๆ Chan Zuckerberg Initiative ของคุณหมอฉาน–ภรรยาคุณมาร์ค ซูเกอร์เบิร์กแห่งเฟสบุ๊คก็ได้รับทุนจากองค์การนี้ด้วยเช่นกัน ประกอบกับองค์นี้คงเห็นว่า ตอนนี้ใครต่อใครก็กลายเป็นอินฟูเอนเซอร์ด้านสุขภาพเต็มโลกออนไลน์กันไปหมด ก็เลยลุกขึ้นมาสร้างโครงการนี้ #ExpertDebate

เพื่อจะให้รู้ว่า ไผเป็นไผ ถ้าไม่ใช่หมู่เฮานักวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะเรียกว่าเป็นเอ็กเปิร์ตได้อย่างไร บก.ก็แอบขำ อิอิ ก็ยูถ่ายทอดผลงานวิจัยของยูให้ประชาชีเข้าใจได้ป่ะล่ะ ต่อให้งานวิจัยนั้นมัน “ใช้ได้” แต่ถ้าอธิบายให้ประชาชีเข้าใจไม่ได้ มันก็นะ…ภาษาที่ยูพูดน่ะ ตรรกะและทฤษฎีที่ยูอ้างถึงน่ะ รู้ไหม…คนเดินดินอย่างเรา บ่เข้าใจ Comprehend but I don’t get it na ja 555 แซวกันขำๆ นะคะ ว่ากันตามจริงโดยเนื้อแท้นักวิชาการและนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเหล่านี้ เป็นคนจิตใจดีงาม มุ่งมั่นอยากทำเพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติ

ค่ะ…โครงการ #ExpertDebate ก็ประมาณนี้ ข่าวสารต่อมาที่ออกแนวเชื่อมโยงกันคือ การที่องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ร่วมกับหน่วยงานไม่หวังผลกำไร หรือ NGO ด้านการแพทย์หลายหน่วยงาน เช่น  the Indian Council of Medical Research, the Norwegian Research Council, the UK Medical Research Council, Médecins Sans Frontières,  Institut Pasteur ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์กรใหญ่บึ้มจากฟากยุโรป พวกเขาเหล่านี้มาจับมือกันสร้างมาตรฐานใหม่ว่า…หน่วยงานใดก็ตามที่ขอทุนสนับสนุนจากองค์กรเหล่านี้ จำเป็นต้องรายงานผลการทดลองทางคลินิก หรือ Clinical Trials ให้สาธารณชนทราบด้วย

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

โดยการรายงานนี้ มีองค์การอนามัยโลกเป็นเซ็นเตอร์ ซึ่งมีลิงค์ให้ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม และกรอกข้อมูลมาให้ครบถ้วน

มองไปในแง่ดี ก็ช่วยประชาชีคนเดินดินอย่างเราให้ได้ประโยชน์ทางสุขภาพ เพราะรายงานผลการทดลองทางคลินิก สามารถนำไปต่อยอดในการวิจัยทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อช่วยมนุษยชาติ ผลิตยารักษาโรคใหม่ๆ (ซึ่งไม่ควรจะผูกติดอยู่กับสมมุติฐานของบริษัทยาไม่กี่เจ้า) การผลิตวัคซีน และการวางกลยุทธ์ทางการแพทย์ในทศวรรษต่อไป

มองไปในแง่ร้าย ก็เป็นการรวมตัวทางการวิจัยทางการแพทย์ขนาดใหญ่ เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม และอาจไบแอส (bias) การวิจัยทางการแพทย์ที่ไม่มีการทดลองทางคลินิก ซึ่งปัจจุบันมีเกลื่อนกลาดเลย โดยเฉพาะเมื่อความต้องการการบริการด้านสุขภาพสูงปรี๊ด สินค้าที่ต้องการเข้ามาตอบสนองความต้องการนี้มีมหาศาล การจะแพ็คห่อส่งขายทันใด ก็ง่ายไป จึงต้องสร้างสตอรี่ให้โพรดักซ์ตัวเอง ซึ่งก็มักเป็นงานวิจัยทางการแทพย์…จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ อิอิ

บก.เคยนำนำวิธีการเช็คก่อนเลือกข้อมูลสุขภาพกันไปแล้ว ตอนนี้เล่าเรื่องนี้ ก็ขอจบด้วยสาระของพระพุทธธรรม ซึ่งเป็นจริงข้ามยุคข้ามสมัย ตั้งแต่ยุคหิน ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม จนมาถึงยุคดิจิตัล นั่นคือ หลักกาลามสูตร ซึ่งจะเป็นธรรมะคุ้มครองผู้บริโภคในยุคที่ “กด 2-3 คลิ๊กก็ซื้อยาได้”

  1. อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา
  2. เชื่อโดยเหตุสักว่าตามสืบๆ กันมา
  3. อย่าเชื่อโดยตื่นข่าว
  4. อย่าเชื่อโดยอ้างปิฎก (หรืองานวิจัยที่ไม่รู้หลักแหล่ง)
  5. อย่าเชื่อโดยนึกเดาเอาเอง
  6. อย่าเชื่อโดยคาดคะเน
  7. อย่าเชื่อโดยการตรึกตรองตามอาการ
  8. อย่าเชื่อโดยเห็นว่าถูกตามลัทธิของตน
  9. อย่าเชื่อโดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อได้ (แปลว่าอย่าเชื่อชีวจิตทั้งหมด 555)
  10. อย่าเชื่อโดยถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.