เลือกออกกำลังกาย

5 วิธีการเลือกออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับคุณ

เลือกออกกำลังกาย ให้เหมาะสมกับคุณ

นายวชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย ได้ออกมากล่าวถึงกรณีนายประเมิน ไกรรส ผู้อำนวยการเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ออกกำลังกายและหมดสติเสียชีวิต เมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมานั้น ว่าต้องขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นออกกำลังกาย

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การออกกำลังกาย หรือการมีกิจกรรมทางกายที่พอเพียงเป็นสิ่งดีต่อสุขภาพ แต่ยังห่วงคนไทยจำนวนมากที่คิดว่าตนเองแข็งแรง ไม่ยอมตรวจสุขภาพร่างกาย ส่งผลให้ไม่รู้ว่าตนเองมีความเสี่ยง ซึ่งอาจเป็นภัยเงียบคร่าชีวิตในขณะออกกำลังกายได้

ทั้งนี้อธิบดีกรรมอนามัย ยังได้แนะถึงวิธีออกกำลังกาย หรือ การหากิจกรรมทางกาย ไว้ดังนี้

  1. ควรประเมินร่างกายตัวเองก่อนว่ามีความเข้มแข็งเพียงใด โดยประเมินได้จาก อายุ โรคภัยไข้เจ็บ และความเสี่ยงของร่างกาย เช่น หากอายุมากร่างกายก็จะเสื่อมตามลำดับ
  2. หากมีท่านใดมีโรคเฉพาะไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งนำมาสู่หลอดเลือดหัวใจอุดตัน รวมถึงความเสี่ยงอื่นอีก เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา เป็
    นต้น ถ้ารู้ว่าร่างกายมีความเสี่ยงประเภทนี้อยู่ ให้ประเมินตนเองว่าควรออกกำลังกายแค่ไหน หนักเบาถี่ห่างอย่างไร
  3. ควรตรวจสุขภาพเพื่อให้รู้ความเสี่ยงของร่างกายว่าเป็นอย่างไร ซึ่งแพทย์ก็จะช่วยแนะนำได้ว่าควรออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกายอย่างไร
  4. ควรอบอุ่นร่างกาย หรือ วอร์มร่างกาย ซึ่งการวอร์มร่างกายจะช่วยให้รู้ตัวเองว่าพร้อมที่จะออกกำลังกายต่อหรือไม่
    ออกกำลังกาย
  5. ควรสังเกตอาการตัวเอง ระหว่างออกกำลังกาย หากมีอาการเหนื่อย ใจสั่น พูดติดขัดขาดเป็นช่วงๆ ควรชะลอการออกกำลังกายหรือพัก รวมถึงต้องไม่ลืมการคลายความอบอุ่น หรือ คูลดาวน์ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวสู่สมดุลเดิมด้วย

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมอีกว่า เรื่องการออกกำลังกายและเสียชีวิต ปกติไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก คาดว่า คงเป็นจังหวะพอดีของร่างกายที่อาจพักผ่อนน้อย หรือมีภาวะเหนื่อยล้า ประกอบกับโรคที่แสดงพอดี

ทั้งนี้ ไม่อยากให้หลายคนกังวล หรือกลัวการออกกำลังกาย โดยสามารถทดสอบร่างกายได้ขณะออกกำลังกายว่าเราเหนื่อยล้ามากเกินไป สมควรหยุดหรือไม่ ดูได้จาก ทอล์ก เทสต์ การพูด หรือเปล่งเสียง หลังผ่านการออกกำลังกายไปแล้ว 5 – 6 นาที หากพูดเป็นประโยคไม่ติดขัด ชัดเจน แสดงว่า ร่างกายสามารถออกกำลังกายต่อไหว แต่หากพูดจาขาดเป็นช่วงๆ แสดงว่า ร่างกายต้องการหยุดพัก

ออกกำลังกาย

สำหรับโรคที่ไม่ควรออกกำลังกาย คือ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ถ้าอยากออกำลังกายจริง ๆ ขอแนะนำเป็นกายบริหารร่างกาย เล็ก ๆ น้อย ๆ และไม่ควรออกำลังกายในช่วงเวลาที่มีแดดร้อนจนเกินไป และหากมีอาการแน่นหน้าอก ปวดร้าวหน้าอก ไหล่ซ้าย เหมือนมีคนเอาผ้ามารัด หรือเหงื่อออกเยอะมากผิดสังเกต ขอให้หยุดออกกำลังกาย และไม่ควรออกกำลังกายต่อ

การออกกำลังกายยังเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง องค์การอนามัยโลก แนะนำให้ออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือวันละ 30 นาที และเลือกเวลาที่สามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม ถูกวิธี ไม่หักโหมเกินไป ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างแน่นอน

ที่มา : สสส.

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.