เกาต์

โรคเกาต์ ไม่ต้องกินไก่ ก็เป็นได้

โรคเกาต์ อาการปวดตามข้อ ที่ไม่ต้องกินไก่ ไม่ต้องแก่ ก็เป็นได้

“กินไก่เยอะระวัง แก่ไปเป็นเกาต์” เป็นประโยคที่ได้ยินมาตั้งแต่เด็ก แต่ในความจริงแล้วนั้น “เกาต์” ไม่ต้องกินไก่เยอะ ไม่ต้องแก่ก็เป็นได้ แถมกลุ่มเสี่ยงยังเริ่มตั้งแต่วัย 30 ปีเลยทีเดียว 

เกาต์เป็นโรคที่ทำให้ปวดตามต่อต่างๆ ของกระดูก โดยมักเริ่มที่หัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง แล้วอาจลุกลามไปสู่หัวเข่าและนิ้วมือ 

เกาต์เกิดขึ้นจากการที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงและสะสมเป็นเวลานานจนตกตะกอน เกิดเป็นโรคข้ออักเสบได้ ซึ่งผู้ร้ายในเรื่องนี้แอดบอกเลยว่าไม่ใช่ไก่ และไม่ใช่แก่ เพราะพบมากในเพศชายตั้งแต่วัย 30 ปี – 50 ปี เรียกได้ว่าเป็นกันตั้งแต่หนุ่มๆ แถมผู้ชายยังเป็นโรคนี้กันมากกว่าผู้หญิงอีกนะคะ 

 

ผู้ร้ายตัวจริงในการเกิดโรคเกาต์นั้นก็คือ 

  1. ภาวะโรคเรื้อรัง ได้แก่ อ้วน เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด 
  2. แอลกอฮอล์
  3.  เนื้อสัตว์ที่มีไขมักมาก และเครื่องในสัตว์
  4. ยาบางชนิด (ที่กินติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน) เช่น ยาขับปัสสาะ
  5. ผู้ที่มีภาวะไตทำงานบกพร่อง จนทำให้เกิดกรดยูริกคั่งในเลือด 

ปวดเกาต์

อาการของโรคเกาต์นั้นมีด้วยกัน 3 ระยะ คือ 

  • ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน  เป็นระยะที่เกิดข้ออักเสบเฉียบพลันมีลักษณะ ปวด บวมแดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง หายได้เองใน 5-7 วัน 
  • ระยะไม่แสดงอาการ เป็นระยะที่ไม่แสดงอาการใดๆ (ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นเกาต์ จะมีอาการตามระยะที่ 1 และ 2 สลับกันไป โดยหากเป็นซ้ำจะรุนแรงมากขึ้น ยาวนานมากขึ้น บางรายอาจเป็นไข้)
  • ระยะเรื้อรัง หลังจากเป็นระยะที่หนึ่งและสองซ้ำๆ กันประมาณ 3-5 ปี ข้ออักเสบจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น สะสมเป็นก้อน มักพบได้บริเวณ ข้อศอก ปลายนิ้ว หลังใบหู และก้อนที่สะสมนี้อาจแตกออกลักษณะคล้ายผงชอล์ก 

ซึ่งการรักษานัั้นจะมีทั้งส่วนควบคุมการอักเสบ และควบคุมกรดยูริก โดยแพทย์จะพิจารณาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

ข้อปฎิบัติตัวของผู้ป่วย

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมัน และเครื่องในสัตว์ 
  • ลดของหวาน
  • หยุดนวด ประคบร้อนเย็นบริเวณข้ออักเสบ

 

โรคเกาต์ แม้จะฟังดูเป็นโรคเรื้อรังที่สร้างความทรมาน แต่ถ้าทานยาและปฎิบัติตัวตามที่คุณหมอแนะนำก็เป็นโรคที่หายขาดได้นะคะ  

ข้อมูล   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ไม่อยากเป็น กระดูกพรุน ตอนแก่ อย่าเอาแต่หลบแดด

8 วิธีช่วยป้องกัน ทำแล้วดี ลดเสี่ยง กระดูกแตกหัก

เพิ่มแคลเซียม ให้ร่างกายวันนี้ ลดโอกาสกระดูกเปราะ กระดูกพรุน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.