โควิดในอินเดีย

โควิดในอินเดีย การกลายพันธุ์ครั้งใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

โควิดในอินเดีย การกลายพันธุ์ครั้งใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

การแพร่ะบาดอย่างรวดเร็วของ โควิดในอินเดีย จนระบบสาธารณะสุขประเทศล้มเหลว ขาดแคลนออกซิเจน เป็นภาพที่น่ากลัว ซึ่งการแพร่กระจายที่รวดเร็วนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด และเป็นการกลายพันธุ์ถึง 2 ครั้ง วันนี้เราจึงมาทำความรู้จักไวรัสทั้ง 2 ตัวนี้กันค่ะ  

 

สายพันธุ์แรกคือ สายพันธุ์อินเดีย หรือ B.1.617 เป็นสายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหนาม 2 ตำแหน่ง หรือที่เรียกว่า Double Mutant คือตำแหน่ง E484Q และ L452R   ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติหลุดเข้าเซลล์มนุษย์ได้ง่าย และติดเชื้อได้ง่ายขึ้น พบครั้งแรกที่รัฐมหาราษฏะ

 

สายพันธุ์ถัดมาคือ สายพันธุ์เบงกอล หรือ B.1.618 ซึ่งพัฒนามาจากสายพันธุ์อินเดียอีกทีหนึ่ง และมีการเปลี่ยนหนาม 3 ตำแหน่ง เรียกว่าเป็น Triple Mutant ในตำแหน่ง E484K เป็นการเปลี่ยนแปลงหนามในลักษณะคล้ายกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ และบราซิล นอกจากนี้ยังมีการหายไปของกรดอะมิโนในตำแหน่ง 145-156  ซึ่งสายพันธุ์นี้ไม่เพียงแพร่ง่าย ติดง่าย แต่ยังยังหลบซ่อนหนีจากภูมิคุ้มกันของวัคซีนได้ดีอีกด้วย

 

มีการทดลองในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนำวัคซีน Sputnik V จากรัสเซีย ซึ่งเป็นวัคซีนที่ทดสอบในห้องแลปให้ผลการปกป้องและยับยั้งโควิดได้ถึง 90% ฉีดเข้าสู่เชื้อ 4 สายพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และสายพันธุ์เบงกอล พบว่ายับยั้งเชื้อได้ดีในสายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์อังกฤษ ในขณะที่สายพันธุ์แอฟริกาใต้และสายพันธุ์เบงกอลไม่ตอบสนองต่อวัคซีน 

โควิดสายพันธุ์อินเดีย

ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ได้มีการจัดลำดับความอันตรายของโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่างๆ ไปก่อนหน้านี้ พบว่า สายพันธุ์ที่อันตรายสูงสุดคือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ อันดับสองคือสายพันธุ์บราซิล รองลงมาคือสายพันธุ์นิวยอร์ก สายพันธุ์อินเดีย สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย และสุดท้ายสายพันธุ์อังกฤษ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการจัดลำดับคิดว่า สายพันธุ์เบงกอลน่าจะอยู่ในลำดับเดียวกับสายพันธุ์บราซิล คือในอันดับที่สอง 

 

ในปัจจุบันนี้โควิด – 19 สายพันธุ์อินเดียได้แพร่กระจายไปแล้ว 21 ประเทศทั่วโลก ในขณะที่สายพันธุ์เบงกอล มีแนวโน้มว่าอาจแพร่กระจายสู่ประเทศเนปาล ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศอินเดียแล้ว โดยยอดผู้ติดเชื้อรายวันของเนปาลเพิ่มขึ้นถึงวันละมากกว่า 3,000 นับตั้งแต่เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน 2564 ซึ่งหากยังคงเป็นเช่นนี้เนปาลอาจประสบปัญหาเดียวกับอินเดีย

 

และจากความรุนแรงดังกล่าว ส่งผลให้หลายประเทศห้ามชาวอินเดียบินเข้า รวมถึงประเทศไทย มีคำสั่งห้ามชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม โดยผู้ที่เข้ามาก่อนวันที่ 1 จะต้องกักตัว 21 วัน 

 

ทางด้านนพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวยืนยันว่าจากการเก็บตัวอย่างผู้ติดเชื้อในประเทศไทย โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กว่า 500 ตัวอย่าง พบว่า  98% เป็นสายพันธุ์อังกฤษ และยังไม่พบสายพันธุ์อินเดีย เบงกอล อัฟริกาใต้ และบราซิลในประเทศไทย

 

ข้อมูล เฟสบุ๊กYong Poovorawan, TNN Online, workpointtoday, prachachat, reuters

เรื่องราวๆ อื่นที่น่าสนใจ

ตามดูความคืบหน้า “ฟ้าทะลายโจร” กับผู้ป่วยโควิด

ฉีด วัคซีนโควิด – 19 แล้วติดโรคได้ยังไง? และแอสตร้าเซนเนก้าฉีดแล้วจะเป็นลิ่มเลือดหรือเปล่า?

ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ ภัยเงียบรุนแรงถึงชีวิต!

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.