การจราจรติดขัด, รถไฟฟ้าบีทีเอสเสีย, รถติด, เครียดเพราะการจราจร

คนเมืองกรุงหัวเสีย รถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง

           จากกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอส ขัดข้องเมื่อวานนี้ (24 กุมภาพันธ์ พ.. 2559) สร้างความไม่พอใจให้กับคนเมืองกรุงเป็นอย่างมาก โดยหลายเสียงบ่นว่า เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ยังไม่มีการแก้ไข

            โดยบริษัทรถไฟฟ้าบีทีเอ. ประกาศเหตุขัดข้องบริเวณจุดสับรางในทิศทางจากสถานีชิดลมมุ่งหน้าเข้าสถานีสยาม ตั้งแต่เวลา 05.00 . ทำให้ความถี่ในการบริการลดลง จึงขอให้ผู้โดยสารเผื่อเวลาเดินทาง แต่ในเวลา 07.00 . ทางบริษัทฯ ออกมาแจ้งปิดเส้นทางบริการสายสุขุมวิท จากสถานีหมอชิตสยามหมอชิต สถานีสยามแบริ่งสยาม จนกว่าจะแก้ไขปัญหาได้

            การประกาศยกเลิกบริการชั่วคราวในชั่วโมงเร่งด่วน ทำเอาคนเมืองกรุงบ่นกันให้ขรม ผู้โดยสารบางส่วนถึงกับถอดใจไม่ใช้บริการ และเปลี่ยนไปพึ่งรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่นแทน จากการสอบถามประชาชนคนเมืองผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ผู้สื่อข่าวพบว่า หลายรายต้องไปทำงานสาย โดยหลายเสียงอยากให้ทางบีทีเอส ปรับปรุงแก้ไข หรือจัดการให้ดีกว่านี้ เพราะเหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดเป็นครั้งแรก

            ถึงแม้จะมีปัญหาบ้าง แต่การเดินทางด้วยรถสาธารณะก็ยังดีต่อสุขภาพ โดยงานวิจัยจากญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการนำเสนอในการประชุมวิทยาศาสตร์ของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ปีที่ผ่านมา (.. 2015) ระบุว่า การเดินทางไปทำงานด้วยรถโดยประจำทางหรือรถไฟ ช่วยสร้างเสริมสุขภาพ

จากการสำรวจผู้ใหญ่เกือบ 6,000 ราย คนเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เปรียบเทียบกลุ่มคนเมืองที่เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟ กับกลุ่มคนเมืองที่ขับรถ ปั่นจักรยาน หรือเดินเท้าไปทำงาน นักวิจัยพบว่า คนเมืองผู้เดินทางกลุ่มแรก เสี่ยงโรคอ้วนน้อยลงร้อยละ 44 เสี่ยงความดันเลือดสูงน้อยลงร้อยละ 27 และเสี่ยงโรคเบาหวานน้อยลงร้อยละ 34 เพราะว่าผู้เดินทางหลายรายในกลุ่มนี้ ต้องเดินไปกลับสถานีรถดังกล่าว เป็นระยะทางรวมมากกว่ากลุ่มหลัง

แพทย์หญิงฮิซาโกะ ซึจิ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพเมืองโมริกูชิ ผู้นำทีมวิจัย ชี้ว่า หากคนเมืองต้องเดินหรือปั่นจักรยานไปทำงานเป็นเวลานานกว่า 20 นาที คนเมืองเหล่านั้นมักเลือกรถโดยสารสาธารณะแทน ซึ่งการเดินไปกลับ หรือเชื่อมต่อสถานีรถสาธารณะ นับเป็นการออกกำลังกายประจำวันได้

ต่อให้คนเมืองกรุงไม่พอใจอย่างไร แต่รถไฟฟ้าบีทีเอสก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ประหยัด และดีต่อสุขภาพค่ะ

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, TreeHugger

เครดิตภาพ www.th.wikipedia.org

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.